Lifestyle

วันนี้ในอดีต 24พ.ค.วันจิตเภทสากล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โรคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ในอดีตเชื่อกันว่าเกิดจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเด็กโตขึ้นมาจึงมีอาการป่วยเป็นโรคจิตเภท

 

     แต่ปัจจุบันนี้เชื่อกันว่าสาเหตุหลักเป็นเรื่องของความผิดปกติของระบบในร่างกาย ซึ่งมาจาก กรรมพันธุ์ ระบบสารเคมีในสมอง ความผิดปกติในส่วนอื่นๆของสมอง โรคจิตเภทเป็นภาวะความเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรม ความคิดแตกต่างจากบุคคลทั่วไปอย่างมาก

      โรคจิตเภท มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งทางร่างกายนั้นเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองในการสร้างสารบางอย่างที่มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป

      ส่วนทางด้านจิตใจเกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วยขึ้น หากมีความสงสัยว่าตัวเองหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ขอให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้ให้การบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป

       โรคจิตเภท แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ลักษณะอาการทางบวก และลักษณะอาการทางลบ โดยกลุ่มลักษณะอาการทางบวก คือ อาการที่มีเพิ่มมากว่าคนปกติทั่วไป เช่น ประสาทหลอน คือได้ยินเสียงคนพูดคุย ได้ยินเสียงคนพูดตำหนิ พูดโต้ตอบเสียงนั้นเพียงคนเดียว

     อาการหลง คือ คิดว่ามีเทพวิญญาณอยู่ในร่างกาย คอยบอกให้ทำสิ่งต่างๆ ความคิดผิดปกติ คือ พูดไม่เป็นเรื่องเป็นราว พูดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องพูดโดยไม่มีเหตุผล และพฤติกรรมผิดปกติ คืออยู่ในท่าแปลกๆ หัวเราะหรือร้องไห้ สลับกันเป็นพักๆ

      ลักษณะอาการทางลบ หมายถึง อาการที่ขาดหรือบกพร่องไปจากคนปกติทั่วๆไป ได้แก่ สีหน้าอารมณ์เฉยเมย ชีวิตไม่มีจุดหมาย ไม่มีสัมพันธภาพกับใคร ไม่พูด ไม่มีอาการยินดียินร้าย อาการที่พบได้ในภาวะความเจ็บป่วยของโรคนี้ คือ มองโลกผิดไปจากความจริง ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลิ รู้สึกสับสน อาจจะดูห่างเหิน แยกตัวออกจากสังคม อาการประสาทหลอน ผู้ป่วยอาจคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น

      ทั้งๆที่ความจริงไม่มีสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น อาการการแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม ผู้ป่วยมักแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเรื่องที่กำลังพูด เช่น พูดว่าตัวเองกำลังถูกปองร้ายจะเอาถึงชีวิต

      ซึ่งขณะที่พูดก็หัวเราะอย่างตลกขบขัน หรือจะมีอาการในเรื่องของการฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่อันตรายมากสำหรับผู้ป่วยจิตเภท หากผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายหรือมีการวางแผนที่จะทำอย่างนั้น ควรจะให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพราะผู้ป่วยจิตเภทมีการฆ่าตัวตายสูง

     ในส่วนของการรักษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระยะควบคุมอาการ เป็นการรักษาในช่วงอาการกำเริบ คือการควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว ยามีส่วนสำคัญมากทำให้อาการของผู้ป่วยสงบลงได้ตอนเวลาหลับ เพราะผู้ป่วยอาจจะมีอาการหงุดหงิด อารมณ์ก้าวร้าวลดลง อาการกระสับกระส่ายก็จะดีขึ้น

     แต่มีผลข้างเคียงคือ มือสั่น ทำอะไรช้าลง ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เป็นต้น และระยะให้ยาต่อเนื่อง หลังจากอาการสบงลงแล้ว ผู้ป่วยยังมีความจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องเพราะอาจจะมีอาการกำเริบขึ้นมาอีก เมื่อผ่านไปสักช่วงระยะหนึ่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นก็ขนาดจะลดปริมาณลง

      การดูแลรักษาด้วยจิตใจ อาการของผู้ป่วยมักก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตัวเองและสังคมรอบข้าง การดูแลรักษาผู้ป่วยคือการไม่ทำให้เครียด หรือมีความคับข้องใจ การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว ครอบครัวได้รับความรู้จากแพทย์เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพราะคนในครอบครัวคือคนที่เห็นพฤติกรรมและรู้ว่าอาการของผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร ควรให้กำลังใจอย่าให้เขารู้สึกผิดหรือกล่าวโทษตัวเอง เพราะอาจจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายของผู้ป่วยได้

     นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบำบัด เป็นกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วยขณะอยู่ในโรง พยาบาล โดยให้เกิดความรู้สึกมีเพื่อน มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว มีการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำแก่กันได้ ฝึกทักษะทางสังคม เน้นการสนับสนุนให้กำลังใจแก่กัน

---------------

ที่มาข้อมูล

1. http://www.somdet.go.th/Knowledge_(saranarue)/2.php

2. http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06052015-1521

3.http://www.thaihealth.or.th/

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ