ข่าว

"ตูน บอดี้สแลม" วิ่งทำสถิติดีที่สุดของตัวเอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มาราธอน ลากูน่า ภูเก็ต 2019

การแข่งขัน วิ่งมาราธอน ลากูน่าภูเก็ต 2019 เมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน ณ ลากูน่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต แบ่งระยะทางเป็น 6 ประเภทคือการแข่งขันวิ่งยุวชน 2 กิโลเมตร(Kids Run), วิ่ง 5 กิโลเมตร, วิ่ง 10.5 กิโลเมตร วิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.0975 กิโลเมตร (Half Marathon), มาราธอน 42.195 กิโลเมตร (Marathon) และ มาราธอนประเภททีม 42.195 กิโลเมตร (Marathon Relay)

"ตูน บอดี้สแลม" วิ่งทำสถิติดีที่สุดของตัวเอง

สำหรับระยะมาราธอนในปีนี้ ทากาชิ มิโนะ จากญี่ปุน คว้าแชมป์ระเภทชายเวลา 2:35:02 ชม. และโทโมมิ นากาจิมะ จากญี่ปุ่น แชมป์มาราธอนหญิง เมื่อปี2017 กลับมาคว้าแชมป์อีกครั้งด้วยเวลา3:03:55 ชม. ส่วนระยะฮาล์ฟมาราธอนชาย ริชาร์ด ซาลาโน (ฟิลิปปินส์) ทำเวลา1:13:25 ชม. และ ระยะฮาล์ฟมาราธอนหญิง คริสติน ฮาลาสโก (ฟิลิปปินส์) ทำเวลา 1:25:28 ชม.  

มิสเตอร์โรมัน ฟลอสเซอร์ ซีอีโอ, จีเอเออีเว้นส์ (GAA Events) ในฐานะผู้จัดการแข่งขัน‘วิ่งมาราธอนลากูน่าภูเก็ต2019’(Laguna Phuket Marathon) เปิดเผยว่าในปีนี้เป็นการจัดงานต่อเนื่องครั้งที่14 และเป็นที่น่ายินดีที่มีนักวิ่งทั้งคนไทยและต่างชาติจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 12,000 คนมากกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ประมาณกว่า 9,000 คนโดยจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า33% จากปีที่ผ่านมาด้วยตัวเลขการเติบโตดังกล่าวสะท้อนถึงการได้รับความนิยมของการแข่งขันนี้ได้เป็นอย่างดี

งานวิ่งมาราธอนลากูน่าภูเก็ต โดดเด่นด้วยเส้นทางแข่งขันที่ได้การรับรองมาตรฐาน โดยสมาคมวิ่งมาราธอนนานาชาติและการแข่งขันทางเรียบหรือเอมส์(AIMS) และเป็นสนามที่ควอลิฟายสำหรับการแข่งขันมาราธอนระดับโลกอย่าง “บอสตันมาราธอน” นอกจากนี้เป็นสปอร์ตอีเว้นต์ที่สนุกและเหมาะสำหรับครอบครัวซึ่งได้พัฒนากลายเป็นหนึ่งในรายการแข่งขันมาราธอนชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

มิสเตอร์ ราวี ชานดราน กรรมการผู้จัดการ กลุ่มลากูน่าภูเก็ต กล่าวว่า“การแข่งขันวิ่งมาราธอนลากูน่าภูเก็ตนั้น มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นงานใหญ่ของภูเก็ตและมีส่วนสำคัญที่ทำให้ลากูน่าภูเก็ตได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทสนามแข่งขันกีฬายอดเยี่ยมในประเทศไทยจากเวทีรางวัลอุตสาหกรรมกีฬาแห่งเอเชียเรายังใช้งานนี้เป็นเวทีเพื่อการสร้างความตระหนักและระดมทุนให้กับกองทุนเพื่อเด็ก ซีเอฟเอฟ ซึ่งบริหารโดยมูลนิธิลากูน่าภูเก็ตเพื่อช่วยเหลือเด็กๆกว่า 400 ชีวิต ณ บ้านเด็กกำพร้าและสถานรับเลี้ยง 7 แห่งในภูเก็ตนักวิ่งผู้ชมและกองเชียร์ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการกุศลเพื่อชุมชนภูเก็ตผ่านการร่วมบริจาคเมื่อลงทะเบียนแข่งขันหรือณศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่(Mobile Learning Centre) บูธCSR ภายในบริเวณงานนอกจากนี้พนักงานและผู้บริหารลากูน่าภูเก็ตหลายร้อยคนยังร่วมวิ่งในงานเพื่อช่วยระดมทุนและฉลองโอกาส กลุ่มบันยันทรี ครบ25 ปีในปีนี้อีกด้วย”

"ตูน บอดี้สแลม" วิ่งทำสถิติดีที่สุดของตัวเอง

ผลการแข่งขันมีดังนี้ 

มาราธอน  42.195กม.เดี่ยวชาย
1) ทากาชิมิโนะ               (ญี่ปุ่น)               เวลา2:35:02 ชั่วโมง
2) ไบรอันเคียมโค            (ฟิลิปปินส์)          เวลา2:40:15 ชั่วโมง
3) อาซลันพาเก               (ฟิลิปปินส์)          เวลา2:45:20 ชั่วโมง
มาราธอน  42.195กม. เดี่ยวหญิง

1) โทโมมินาคาจิมะ          (ญี่ปุ่น)               เวลา3:03:55 ชั่วโมง
2) เอมี่มันฟอร์ด               (อังกฤษ)            เวลา3:10:10 ชั่วโมง
3) เอพริลโรสดิแอส         (ฟิลิปปินส์)          เวลา3:24:57 ชั่วโมง

 

สำหรับ“ตูน บอดี้สแลม” อาทิวราห์ คงมาลัยร็อคสตาร์อันดับ 1 ของไทยได้เข้าร่วมวิ่งในระยะมาราธอนอีกครั้งในปีนี้ทำเวลาได้ 03:41:45 ชั่วโมง สร้างสถิติใหม่เป็นเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง(Personal Best)

ผลแข่งขันประภทอื่น
มาราธอนประเภททีม
1) ทีมTeam 2                 (ไทย)     เวลา3:25:17 ชั่วโมง
2) ทีมT.K.P.R Run          (ไทย)     เวลา3:48:59 ชั่วโมง
3) ทีมCookie Run           (ไทย)     เวลา 3:53:59 ชั่วโมง
ประเภทฮาล์ฟมาราธอน (21.097 กม.) ชาย
1) ริชาร์ด ซาลาโน             (ฟิลิปปินส์)                      เวลา1:13:25 ชั่วโมง
2) พริ้น โจอี้ ลี                  (ฟิลิปปินส์)                      เวลา1:14:00 ชั่วโมง
3) ไดสุเกะ ยามาคุชิ           (ญี่ปุ่น)                           เวลา 1:16:59 ชั่วโมง
ประเภทฮาล์ฟมาราธอน( 21.097 กม.) หญิง

1) คริสติน สาลาสโก          (ฟิลิปปินส์)                      เวลา1:25:28 ชั่วโมง
2) ณัฐธยาน์ ธนรณวัฒน์    (ไทย)                            เวลา1:29:00ชั่วโมง
3) คริสตาเบล มาเตส         (ฟิลิปปินส์)                     เวลา 1:29:50 ชั่วโมง

ประเภท10.5 กม. ชาย
1) ฮิโรกิ นากาจิมะ (ญี่ปุ่น)   เวลา 34:48 นาที
2) ฮิซาชิ คิตามูระ (ญี่ปุ่น)   เวลา 36:41 นาที
3) สุพิศ จันทรัตน์  (ไทย)    เวลา37:06 นาที

ประเภท10.5 กม. หญิง

1) ดิมิทรี ลีดุ๊ก                 (ออสเตรเลีย)       เวลา 41:30 นาที

2) โทโมมินากาจิมะ          (ญี่ปุ่น)               เวลา 41:54 นาที

3) ซาว่า โอกิ                   (ญี่ปุ่น)               เวลา 45:12 นาที

ประเภท5 กม. ชาย
1) โมฮัมหมัด ราซีด           (มัลดีฟล์)            เวลา16:43นาที
2) โอลิเวอร์ ทร็อต             (อังกฤษ)            เวลา16:49 นาที
3) เจย์ ลิลลี่                     (อังกฤษ)            เวลา17:00 นาที

ประเภท 5 กม. หญิง
1) เฮลี่ นิวแมน                 (ออสเตรเลีย)       เวลา19:23นาที
2) ณัฐธยาน์ ธนรณวัฒน์     (ไทย)                เวลา19:40นาที
3) ฟลอเรนซ์ วิลเลี่ยม        (อังกฤษ)            เวลา22:55นาที

ประเภท 2 กม. เด็กชาย
1) คอเนอร์ วอลบี้           (อังกฤษ)              เวลา8:16นาที
2) กรวิน ชัยจำรูญพันธ์       (ไทย)                 เวลา8:22นาที
3) ณฐวรรณ จันทรโชชา     (ไทย)                 เวลา8:53นาที

ประเภท 2 กม. เด็กหญิง
1) พุทธิกาญจน์ กาญจนกำเนิด         (ไทย)    เวลา8:25 นาที

2) ชลิดา ทองเผือก             (ไทย)  เวลา8:40นาที

3) โรมอน ยาพันฤทธิดำ       (ไทย)   เวลา9:14นาที

"ตูน บอดี้สแลม" วิ่งทำสถิติดีที่สุดของตัวเอง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ