ข่าว

เปิดใจ “สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง” ปีที่สองในวงการลูกหนัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ธนรัชต์ คูสมบัติ

ย้อนกลับไปวันแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการลูกหนังไทย “17 กุมภาพันธ์ 2559” เมื่อฟุตบอลไทยได้นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลคนใหม่ พร้อมกับทีมงานชุดใหม่ ท่ามกลางความคาดหวังและความฝันครั้งใหม่ของแฟนฟุตบอลทั้งสยามประเทศ ที่อยากจะเห็นทั้งผลงานในสนาม และการจัดการนอกสนาม มีทิศทางที่พัฒนาขึ้นกว่ายุคที่ผ่านมา

จนถึงตอนนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่สองแล้ว สำหรับการอยู่ในตำแหน่งประมุขลูกหนังของ “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เชื่อว่าทั้งแฟนบอลและประชาชนทั่วไปได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งกระแสทั้งที่พอใจและข้อวิพากษ์เป็นปกติวิสัย

 

ยืนยันสภาพการเงินไม่มีปัญหา

ช่วงเริ่มต้นการทำงานของ “บิ๊กอ๊อด” ในสมาคมฟุตบลไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแต่อย่างใด เพราะยังมีงานที่ยังคาราคาซังจากทีมบริหารชุดเก่าให้สะสาง ที่สำคัญคือภาระหนี้สินที่คงค้างจากการเสียภาษีสูงถึง “200 ล้านบาท”  จนต้องใช้เงินนอกระบบมาชำระไปก่อนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มิฉะนั้นอาจจะถูกกรมสรรพากรดำเนินคดี

เรื่องดังกล่าวทำให้แฟนฟุตบอลส่วนใหญ่วิตกกังวลว่าทางสมาคมฟุตบอลจะไม่มีทุนเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการสมาคม ที่จำเป็นต้อง “เริ่มต้น” (Set Up) ใหม่ทั้งหมด

“เรื่องเงินจากการชำระภาษีที่มีการใช้เงินนอกระบบมาชำระไปก่อนจำนวน 200 ล้านบาทนั้น ที่ผ่านมาเราได้มีการผ่อนชำระตามงวดทุกอย่าง ในส่วนนี้คงยังบอกได้ยากว่าจะครบกำหนดเมื่อไหร่ แต่หนี้ส่วนนี้ไม่ได้เป็นกลายเป็นภาระด้านการเงินแก่สมาคมแต่อย่างใด”

สำหรับเรื่องการเงินของสมาคมฟุตบอลนั้น ในปี 2560 ล่าสุดได้ผู้สนับสนุนเรื่องเงินเข้ามาหลายเจ้าตั้งแต่ “บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย” ที่ต่อสัญญาในการเป็นผู้สนับสนุนทีมชาติไทยทุกระดับ ทุกประเภท รวมถึงฟุตบอลลีก 4 ปี มูลค่า 700 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังเครื่องดื่ม “ช้าง” ให้การสนับสนุนสมาคมฯอีก 1,000 ล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี ยังไม่รวมไปถึงปี 2559 ที่ผ่านมา บริษัท “แพลน บี มีเดีย จํากัด” ที่ คว้าสิทธิ์การดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาคมฟุตบอล 4 ปี ด้วยมูลค่ามหาศาล 3,240 ล้านบาท

“แม้ว่าเงินสนับสนุนจะได้มาเป็นงวดไมได้มาเป็นก้อนใหญ่ก็ตาม แต่ก็ทำให้เรามีทุนมากพอเพื่อไปบริหารจัดการต่างๆได้ ซึ่งเงินตรงนี้อาจได้ไม่ครบในยุคของผมก็เป็นไปได้ แต่ผมยืนยันว่าต่อไปไม่ว่าจะเป็นทีมบริหารชุดไหนมาทำต่อจากผมนอกจากจะไม่มีปัญหาหนี้สินแล้ว สมาคมฯยังจะมีทุนเพียงพอเพื่อต่อยอดการทำงานอีกด้วย” พล.ต.อ.สมยศ กล่าว

 

เปิดตัวที่ทำการสมาคมฯใหม่

การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การเปิดตัวที่ทำการสมาคมแห่งใหม่ ที่อาคาร 40 ปี การกีฬาแห่งประเทศไทย บริเวณ หน้าสนามราชมังคลากีฬาสถาน

โดยความมุ่งหวังที่เปลี่ยนภาพในอดีตของสมาคมฟุตบอลที่เป็น “แดนสนธยา”  กลายเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงสมาคมฯ สื่อมวลชน ผู้สนับสนุน หรือแม้กระทั่งแฟนบอล เข้าด้วยกัน ตรงกับคอนเซปต์ที่ “Come Together”  ที่สมาคมฯ วางเอาไว้นั่นเอง

นอกจากนี้ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนมาถึงปี 2560 งานที่ได้เริ่มเป็นรูปธรรมแล้วคือการพัฒนาบุคลากรให้คุณภาพและปริมาณมากขึ้น โดยมีการเปิดอบรมโค้ชตั้งแต่ระดับเอไลเซน - ซีไลเซน รวมไปถึงมีการอบรมโค้ชโปรไลเซนครั้งแรกในประเทศไทย ยังมีการอบรมผู้ตัดสิน และนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยให้มีประสิทธิภาพตัดสิน ซึ่ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการพัฒนาฟุตบอลไทยระยะเวลา 20 ปี

 

เตรียมสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอล

สิ่งที่แฟนฟุตบอลไทยจับตามอง สำหรับการทำงานปีที่สองของสมาคมฯ ยังเป็นสองส่วนสำคัญเช่นเดิม คือ”การแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ” และ ผลงานของ “ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย”สำหรับฟุตบอลภายในประเทศความคืบหน้าที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่อง “คลับไลเซนซิ่ง” หรือ ใบอนุญาตการเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของสหพันธ์ฟุตบอลเชีย ซึ่งขณะนี้ ทีมในไทยลีก (T1) ซึ่งเป็นลีกสูงสุดเหลือเพียงแค่สามทีมเท่านั้นที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์นี้ ถือเป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนด้านการพัฒนาทีมฟุตบอลทีมชาติไทย อย่างที่ทราบกันดีว่า ได้วางเป้าหมายไปเล่นฟุตบอลโลกในปี 2026 ซึ่งในปีดังกล่าวจะมีการเพิ่มจำนวนทีมเป็น 48 ทีม ทำให้ไทยมีโอกาสมากขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องเตรียมวางแผนระดับเยาวชนให้ความพร้อม ซึ่งตอนนี้ได้เซ็นสัญญาให้ “เอคโคโน” บริษัทบริหารจัดการ และพัฒนาฟุตบอลจากสเปน เข้ามาดูแลจัดการวางระบบให้ ที่สำคัญคือนำไปสื่อเป้าหมายการสร้างรูปแบบ“เฉพาะทางของไทย เพื่อให้ทีมชาติทุกชุดมีรูปแบบการเล่นทิศทางเดียวกันทั้งหมด

แนวทางดังกล่าวทำให้สมาคมฟุตบอลจำเป็นต้องมีสถานที่สำหรับการสร้างนักเตะเยาวชนของตัวเอง ซึ่งขณะนี้ได้อยู่ระหวางการขออนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ใช้พื้นที่บริเวณ ตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ในพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ เพื่อก่อสร้างเป็น “ศูนย์ฝึกกีฬาฟุตบอลแห่งชาติ”

“ไม่เฉพาะศูนย์ฝึก ตอนนี้รากำลังวางแผนที่จะสร้างฟุตบอลโดยเฉพาะ ประเทศไทยของเรามีสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานตามที่ฟีฟ รับรองน้อยมาก ผมเสนอแนวความคิดนี้ด้วยการขอที่จากรัฐบาล และระดมทุนจากทั้งประชาชน เอกชน มาถือหุ้น ซึ่งผมเชื่อว่ามันเป็นไปได้”

นี่แนวทางการทำงานปีที่สองของ “บิ๊กอ๊อด” เผยต่อ “คมชัดลึก” หลายอย่างความขัดเจนขึ้นจากปีแรกี่ยังอยู่ในช่วงลองผิดลองถูก 

ก็อย่างไรทั้งแฟนบอล และสื่อมวลชนก็มองว่ายังไงก็ “ไม่ง่าย” และอาจ “สาหัส” กว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น “ฟุตบอลในประเทศ” หรือ “ทีมชาติไทย”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ