ข่าว

ช่องโหว่ควบคุม 'ไซยาไนด์' จนตกอยู่ในมือฆาตกรใช้ก่อเหตุฆาตกรรมต่อเนื่อง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการชี้ช่องโหว่ควบคุม 'ไซยาไนด์' ไทยยังไม่รัดกลุ่มมากพอ คนทั่วไปสั่งซื้อได้ จนสุดท้ายสารพิษอันตรายตกอยู่ในมือฆาตกรใช้ฆาตกรรมต่อเนื่อง

คดีสะเทือนวงการอย่างคดี แอม ไซยาไนด์ ที่ใช้สารพิษอันตรายให้คนอื่นกินจนเสียชีวิตจำนวหลายราย นอกจากสังคมจะผวากับเหตุการที่เกิดขึ้นแล้ว ยังสร้างความสงสัยไม่น้อยว่า การได้มาซึ่งสาร "ไซยาไนด์" นั้นมีเส้นทางอย่างไร เพราะหากว่ากันตามกฎหมายการควบคุมสารเคมีอันตรายแล้วสารไซยาไดน์จัดอยู่ประเภทสารเคมีตั้งแต่การนำเข้า ผลิต และครอบครอง ดังนั้นหากมีการควบคุมอย่างเข้มงวด คนทั่วไปแถบจะไม่มีสิทธิเข้าถึงสารเคมีอันตรายได้แน่นอน 

 

 

 

แต่ขณะนี้กลับพบว่า การซื้อ-ขาย "ไซยาไนด์" มีเกลื่อนออนไลน์ คนทั่วไปสามารถหยิบลงตระกร้า จ่ายเงินเหมือนกับการช้อปปิ้งทั่วๆไป  หลังจากนั้นจะนำไปใช้อะไรก็ไม่มีใครรู้ได้ และที่น่ากลัวไปกว่านั้น ไม่มีการกวดขันการซื้อขาย "ไซยาไนด์" ในลักษณะดังกล่าว จนเกิดเรื่องของ แอม ไซยาไนด์ ขึ้นมา 

  • "ไซยาไนด์" สารเร่งปฏิกิริยาเคมีในอุตสาหกรรม 

 

ผศ.ดร.วิภู ศรีสืบสาย คณบดี วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้สัมภาษณ์ให้กับ คมชัดลึก ถึงการควบคุม เคลื่อนย้าย การนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม และสั่งซื้อ "ไซยาไนด์" ว่า ไซยาไนด์ เป็นสารเคมีไออน ซึ่งเป็นองค์ประกอบคาร์บอนไนโตรเจน ที่ยังมีสถานะเป็นลบหรือเป็นสารเคมีที่มีพิษอย่  นอกจากนี้ยังเจอในรูปแบบแคลเซียมไซยาไนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช  

 

 

ผศ.ดร.วิภู ศรีสืบสาย

 

อย่างไรก็ตามในกลุ่มอุตสาหกรรมมีการนำ "ไซยาไนด์" มาใช้งานค่อยข้างมากไม่ว่าจะเป็น ไฮโดเจนไซยาไนด์  ไซยาไนด์โพแทสเซียม มาใช้ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์   อุตสาหกรรมโลหะ แผงวงจรเนื่องจาก "ไซยาไนด์" ถือว่าเป็นสารเคมีที่ทำตัวเร่งปฏิกิริยา หรือในบางอุตสาหกรรมการมีการนำมาให้เป็นสารตั้งตั้น แต่การใช้ ไซยาไนด์ในภาคอุตสาหกรรมนั้นจะมีการควบคุมอย่างรัดกุม ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย 

 

นอกจากภาคอุตสาหกรรมแล้วตามมหาวิทยาลัยก็มีการนำ "ไซยาไนด์" มาใช้ในการทดลอง การเรียนการสอนเช่นกัน แต่มีการดูแลอย่างรัดกุม โดยการเฉพาะการดูแลในเรื่องของความชื้น เพราะหากมีความชื้นมากเกินไปจะทำให้ละเหยและกลายเป็นสารพิษได้เช่นกัน

 

 

  • ช่องโหว่ "ไซยาไนด์" เล็ดลอดจนกลายเป็นอาวุธใช้ทำร้ายคนอื่น 

 

ผศ.ดร.วิภู ให้ความเห็นถึงการควบคุม และจัดการ "ไซยาไนด์" เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ในประเทศไทยมีการกฎหมายควบคุมและเคลื่อนย้ายสารเคมีกำกับอยู่ โดยเฉพาะการนำเข้า สั่งซื้อ และเคลื่อนย้าย เข้ามาใช้ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการนำเอา "ไซยาไนด์"  ไปใช้ในทางที่ผิด เหมือนอย่างที่เป็นข่าวใหญ่ขณะนี้ เนื่องจาก "ไซยาไนด์" จัดว่าเป็นวัตถุอันตรายต้องมีการควบคุม และผู้ที่มีครอบครองจะต้องมีการจดทะเบียนให้ถูกต้องโดยเฉพาะบริษัท หรืออุตสาหกรรมที่ใช้เป็นส่วนผสม รวมไปถึงผู้ที่จะนำเข้า "ไซยาไนด์"  มาขายให้แก่ภาคอุตสาหกรรมด้วย แต่ช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมการซื้อขาย"ไซยาไนด์" คือประเทศไทศไทยยังไม่ได้มีการจำกัดการสั่งซื้อสารเคมีดังกล่าว  เพราะยังสามารถสั่งซื้อโดยคนทั่วไปได้อยู่ ทั้งที่ในความเป็นจริงการสั่งซื้อสารเคมีอันตรายจะต้องเป็นการสั่งซื้อในรูปแบบบริษัทที่จดทะเบียนชัดเจน และสถาบันการศึกษาที่นำ "ไซยาไนด์" มาให้งานวิจัยเท่านั้น 

 

 

เมื่อไม่มีการควบคุมการซื้อ-ขาย จึงทำให้คนทั่วไปสามารถสั่งซื้อ "ไซยาไนด์" และไม่มีการตรวจสอบว่าจะนำไปใช้งานในลักษณะใดซึ่งค่อนข้างมีความอันตราย ดังนั้นหน่วยงานที่ดูแลจะต้องมีมาตรการที่ครอบคลุมสำหรับจัดการและซื้อขายสารเคมีที่เข็มงวดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การขายผลิตภัณฑ์ที่ส่วนประกอบของ "ไซยาไนด์" จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแสดงฉลากและข้อควรระวังอย่างชัดเจน รวมทั้งในกระบวนการผลิตจะต้องแต่งสีแต่งกลิ่น เพื่อให้ผู้ใช้งาน หรือประชาชนทราบว่ามีส่วนประกอบของสารพิษอันตรายผสมอยู่ เพราะตัวไซยาไนด์เองไม่มีสีไม่มีกลิ่นทำให้ยากต่อการสังเกต

 

 

สำหรับการจัดการดูแล หรือกวาดขันการขาย "ไซยาไนด์" ในโลกออนไลน์นั้น เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หน่วยงานที่กำกับดูแล อย่างกรมโรงงานอุตตสาหกรรม จะต้องดำเนินการให้รัดกลุ่มมากที่สุด เพราะขายซื้อขาย "ไซยาไนด์" ได้อย่างง่ายๆ การควบคุมกฎหมายอาจจะยังไม่รัดกุมมากพอ และไม่ใช่แค่ไซยาไนด์ เท่านั้น ยังมีสารเคมีชนิดอื่นๆ  ที่จะต้องควบคุมอย่างรัดกุมด้วย  

 

 

ประเทศไทยมีกฎหมายการควบคุมสารพิษอันตราย ซึ่งสารไซยาไนด์ เป็นวัตถุอันตราย ในพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยไซยาไนด์จะอยู่ในการควบคุมอุตสาหกรรมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่3 เวลานำเข้าหรือ ผลิต ครอบครอง ต้องขออนุญาติกรมโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก พลาสติก และเหมืองทอง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขดูแลผลินภัณฑ์ อาหาร ยาและเครื่องสำอาง และได้จัดสารไซยาไนด์ เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 ห้ามนำเข้า ห้ามครอบครอง และห้ามนำมาผสมใส่อาหาร ยา และเครื่องสำอาง หากพบผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ