ข่าว

ประธานกสม.รับสังคมไทยมีปัญหา"เหลื่อมล้ำ" "เลือกปฏิบัติ" จี้แก้5ปม 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กสม. จัดเวทีสมัชชาสิทธิมนุษยชนระดับชาติครั้งแรก เสนอแก้ปัญหาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอาญา สิทธิชุมชน สถานะบุคคล กลุ่มเปราะบางในสถานการณ์โควิด 19 และความหลากหลายทางเพศ

นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวในการจัดงาน “สมัชชาสิทธิมนุษยชน : เหลียวหลังแลหน้า 2 ทศวรรษ กสม.” ขึ้น ในโอกาสครบรอบการดำเนินงานกว่า 20 ปี ของ กสม. ว่า ในช่วง  2 ทศวรรษเศษที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการแต่งตั้ง กสม. ชุดแรกเมื่อปี 2544 จนถึงปัจจุบัน สังคมมีพัฒนาการและมุมมองที่ดีขึ้นมากในเรื่อง สิทธิมนุษยชน หลากหลายประเด็นที่ผู้คนเคยหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงหรือมองข้ามไป เช่น เรื่องความหลากหลายทางเพศ และเสียงของคนชายขอบ ได้ถูกยกระดับความสำคัญขึ้นมาก

 

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ด้าน สิทธิมนุษยชน ในปัจจุบันยังมีความท้าทายในมิติของความ เหลื่อมล้ำ การเลือกปฏิบัติ หรือความไม่เข้าใจในอีกหลายประการ การจัดกระบวนการสมัชชาสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้ จึงเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ ได้มาแลกเปลี่ยนและหารือกันด้วยความมุ่งหวังผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน อันหมายถึงการเคารพ ทั้งสิทธิของตัวเองและผู้อื่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นธรรมและยั่งยืน

 

 

2ทศวรรษ กสม.


 

ในเวทีดังกล่าว ภาคีเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งภาคประชาชน องค์กรเอกชน ภาควิชาการ และหน่วยงานของรัฐ ได้นำเสนอข้อมติซึ่งเป็นข้อเสนอและแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาใน 5 ประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญของประเทศ สรุปได้ดังนี้

 

1.สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การป้องกันและปราบปรามการทรมาน การบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร ลบประวัติกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง ศาลพิพากษายกฟ้อง  ศาลไม่รับฟ้อง รวมถึงการลบประวัติของบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับและรอการลงโทษด้วย

 

  2ทศวรรษกสม.

 

 

2. สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอแนะในภาพรวมให้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับอย่างแท้จริง และปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เร่งผลักดันให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ซึ่งมีสภาพบังคับในการใช้ออกแบบและจัดทำนโยบายและแผนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติโดยคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  

 

3. สถานะบุคคล มีข้อเสนอแนะการประสานพลังภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาและขจัดความไร้รัฐให้หมดไป (zero statelessness) ภายในปี 2567 ตามที่รัฐบาลได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ การสร้างเสริมศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลในประเทศไทย โดยควรเร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะทางทะเบียน เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นคำขอมีสถานะหรือสัญชาติ

4. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กับกลุ่มเปราะบาง การพัฒนาระบบและกลไกในการบริหารจัดการภาวะวิกฤต การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภาวะวิกฤต และการพัฒนาการคุ้มครองทางสังคม หลักประกันทางสังคม และสวัสดิการของรัฐให้เป็นระบบถ้วนหน้า พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบ คือ ราชการ ประกันสังคม และบัตรทองให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นต้น

 

และ 5. ความหลากหลายทางเพศ มีข้อเสนอแนะ การเปิดพื้นที่ให้ทุกคนสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานสิทธิความหลากหลายทางเพศ  การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศที่รวมถึงผู้หญิงและผู้ชาย และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนรับฟังชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างไม่ตัดสินและเคารพในความแตกต่างหลากหลายและการผลักดันการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย/นโยบายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และ (4) การสื่อสารสาธารณะ ต้องจัดให้มีการสื่อสารสาธารณะและการรณรงค์เพื่อขจัดอคติและสร้างการยอมรับในความหลากหลาย 

 

2ทศวรรษกสม.

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote  

https://www.komchadluek.net/entertainment/524524
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ