คอลัมนิสต์

ตั้งใจหรือ(แกล้ง)ไม่รู้..ร้านโอเกะละเมิด ลิขสิทธิ์เพลง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  สายตรวจระวังภัย   โดย...  ทีมข่าวอาชญากรรม

 

 


          คนทั่วไปได้ยินเสียงเพลงฟรีๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าในวิทยุ โทรทัศน์ ช่องยูทูบ หรือเว็บไซต์ดาวน์โหลดฟรี ฯลฯ จึงทำให้ไม่เข้าใจถึงมูลค่าที่ต้องลงทุนในการทำเพลงขึ้นมา หรือมูลค่าทางการเงินที่ได้กลับมาจากเสียงเพลง ซึ่งการซื้อซีดี ดาวน์โหลด หรือฟังผ่านยูทูบ ราคาเพลงนั้นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการฟังเพียงคนเดียว ไม่ใช่ฟังพร้อมกันหลายๆ คน แม้จะอุดหนุนซื้อแผ่นเพลงแท้มา แต่หากไปเปิดเพลงให้คนจำนวนเยอะๆ ฟัง เช่น ในร้านอาหาร ผับบาร์ ร้านคาราโอเกะ ฯลฯ ก็เสมือนหนึ่งกับการซีร็อกซ์หนังสือแจกให้คนอื่น แต่เสียงเพลงนั้นมองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ คนทั่วไปจึงไม่รู้สึกว่ามันคือสิ่งที่ผิด

 

 

 

ตั้งใจหรือ(แกล้ง)ไม่รู้..ร้านโอเกะละเมิด ลิขสิทธิ์เพลง

 

 

          ทว่าเพลงหรืองานดนตรีกรรม เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์จากงานอันมีสิทธิ์แก่บุคคลอื่น และอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิ์ได้ตามกฎหมาย หากบุคคลอื่นใช้สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งสำหรับในธุรกิจเพลง โดยปกติค่ายเพลงมักจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานเพลงในสังกัดค่ายของตนเอง ซึ่งค่ายเพลงอาจเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้โดยการรับโอนลิขสิทธิ์จากผู้ประพันธ์ หรือศิลปินผู้สร้างสรรค์ หรือการเป็นเจ้าของโดยอาศัยสัญญาจ้างระหว่างค่ายเพลงกับศิลปิน ที่มีข้อสัญญาระบุให้ค่ายเพลงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานเพลงที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นในระหว่างการเป็นศิลปินในสังกัด ดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวของนักร้องดังหลายคนที่แม้แต่ร้องเพลงตัวเองยังละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะหมดสัญญากับต้นสังกัดไปแล้ว

 

 

 

ตั้งใจหรือ(แกล้ง)ไม่รู้..ร้านโอเกะละเมิด ลิขสิทธิ์เพลง

 


          เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ ศูนย์ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปลป.ตร) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม รอง ผบ.ตร. ผอ.ศปลป.ตร. โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจาก บริษัท ดี มิวสิค เซ็นเตอร์ จำกัด มอบหมายให้ นายผดุงค์ สีเลี้ยง แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.ปากคลองรังสิต ให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอาศัยอำนาจตามหมายค้นออกโดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เลขที่ 936/2562 ได้แสดงหมายเข้าตรวจค้น ร้านคาราโอเกะในพื้นที่ ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยพบทางร้านมีห้องคาราโอเกะจำนวน 10 กว่าห้อง โทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ จากการตรวจสอบพบผลงานเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบการทำซ้ำ ดัดแปลงอยู่ในรูปแบบโปรแกรมคาราโอเกะ รวมมูลค่าความเสียหายทรัพย์สินกว่า 1 แสนบาท




          นายคคนะ รามสมภพ กล่าวว่า บริษัทได้รับความเสียหายในเรื่องการใช้ผลงานเพลง ซึ่งบริษัทได้ซื้อสิทธิ์มา คือความเสียหายของบริษัทชัดเจนอยู่แล้ว เท่าที่ตรวจเจอที่ร้านมีประมาณ 4-5 เพลง โดยเราได้ตรวจเจอการให้บริการของทางร้านโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งในส่วนผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะหากต้องการใช้บริการเพลง ถ้าเป็นเพลงที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้ติดต่อขอซื้อหรือขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

 

 

ตั้งใจหรือ(แกล้ง)ไม่รู้..ร้านโอเกะละเมิด ลิขสิทธิ์เพลง

 


          ด้าน นายสายัน ดำรงคดีราษฎร์ อธิบายว่า ในฐานะสำนักกฎหมายดำรงคดีราษฎร์ ร่วมกับบริษัท ดี มิวสิค เซ็นเตอร์ ในการปกป้อง ดูแล และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกรูปแบบ เพื่อรักษาผลประโยชน์จากเจ้าของสิทธิ์โดยตรง ซึ่งหากบริษัทตรวจพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามจะดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ดูแลร้าน เจ้าของร้านและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับโทษทางกฎหมายจนถึงที่สุด


          การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี และเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย สำหรับโทษทางอาญาปรับตั้งแต่สอง 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท หากทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1 แสนบาท ถึง 8 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ