คอลัมนิสต์

อนค.โต้ "ไกลก้อง"ไม่ใช่หัวเรือใหญ่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รายงาน...

 

 

          จากการสอบถามข้อมูลไปยังแกนนำพรรคอนาคตใหม่ ได้รับการยืนยันว่า จริงๆ แล้ว ไกลก้อง ไวทยากร ไม่ใช่ผู้ที่ดูแลภาพรวมยุทธศาสตร์ด้านไซเบอร์ เพราะเขารับผิดชอบสนับสนุนด้านอุปกรณ์ไอที ส่วนทีมที่ดูแลความเคลื่อนไหวบนหน้าเพจ และการสร้างกิจกรรมต่างๆ มีทีมงานของพรรคคอยดำเนินการ เป็นทีมงานคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผสานกับทีมสื่อของพรรค

 


          ขณะที่ พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร อธิบายปรากฏการณ์ของโซเชียลมีเดียที่เชื่อมโยงกับการเมืองไทยว่า ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างเลือกตั้ง หรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เช่น การจัดตั้งรัฐบาล การถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.บางคน มักเกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอยู่ 3 อย่างคือ


          1.มีการเผยแพร่ข่าวการเมืองมากกว่าปกติ ทั้งจากพรรคการเมืองที่นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการติดต่อสื่อสาร และจากบุคคลที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองใดกลุ่มการเมืองหนึ่ง


          2.ความรู้สึกและอารมณ์บนสื่อสังคมออนไลน์ มักเกิดปฏิกิริยาห้องเสียงสะท้อน หรือ Echo chamber effect ซึ่งเกิดจากการนำข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ไปเผยแพร่ซ้ำขยายความต่อในกลุ่มของตนเอง ปิดประตูการรับฟังความเห็นต่าง จนกระทั่งกลายเป็นความเชื่อฝังใจในกลุ่มจนยากที่จะหาเหตุผลใดๆ มาลบล้างความเชื่อนั้นได้ ปฏิกิริยาห้องเสียงสะท้อนบนสื่อสังคมออนไลน์สามารถนำไปสู่ความพึงพอใจต่อพรรคการเมืองในแบบแบ่งขั้วทางการเมืองและความเชื่ออย่างสุดโต่งทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ไม่ยาก


          3.การใช้อุปกรณ์ Gadget สำหรับต่อเชื่อมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทำให้ผู้เสพสื่อเกิดพฤติกรรมการเสพติดและนำไปสู่ปฏิกิริยาตอบสนองเชิงก้าวร้าวรุนแรง


          ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองที่นิยมชมชอบการใช้สื่อโซเชียลในการเผยแพร่ข่าวนั้น มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ
          1.ข้อความที่ใช้สื่อสารเป็นข้อความสั้นๆ ที่หยิบมาไม่ครบถ้วน ทำให้ความจริงส่วนหนึ่งหายไป อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้เสพสื่อ 2.มีการออกแบบวิธีเลือกข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ใช้สื่อได้ทราบเฉพาะบางสถานการณ์ เพื่อให้มีการโต้ตอบจากฝ่ายกองเชียร์ของตน หรือหวังผลในทางมวลชน ซึ่งอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด และ 3.มีการนำสถานการณ์บางช่วงบางตอนที่เรียกร้องความสนใจได้ ไปเผยแพร่ต่อ ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อภายในกลุ่มซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเชื่ออยู่ จนอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาห้องสะท้อน จนกลายเป็นความเชื่อที่ฝังใจ หากผู้เสพสื่อไม่ได้กลั่นกรองข้อมูลด้วยวิจารณญาณที่มากพอ


          นี่คืออันตรายที่ดูเหมือนจะยังไม่ค่อยมีใครตระหนักหรือรู้เท่าทัน !

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ