คอลัมนิสต์

ฮั่นแน่.."ชวน-มาร์ค" ได้ดีเพราะ "งูเห่า" 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  กระดานความคิด   โดย...  บางนา บางปะกง 


 

          สงกรานต์น้ำลายว่าด้วยรัฐบาลแห่งชาติของ เทพไท เสนพงศ์ ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ เป็นเรื่องตลกขบขันคลายเครียดในภาวะอากาศร้อนตับแตก

 

          ว่ากันตามจริง นักเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ อยากเป็นรัฐบาลจนเนื้อเต้น ไม่มีใครอยากเป็น “ฝ่ายค้านอิสระ” หรอก แต่บางกลุ่มมองว่า การเข้าไปสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ดูไม่เท่สมกับการเป็นนักประชาธิปไตยสุจริต

 

 

          ฝ่าย “ไม่เอาประยุทธ์” ในพรรค ปชป. จึงพยายามหาทางออกด้วยข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติ ที่มี “คนกลาง” เป็นนายกรัฐมนตรี เหมือนยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์


          ข้อเสนอดังกล่าวยากที่จะเป็นจริง ก็แค่เกมโยน “ข่าวปล่อย” ไปให้นักข่าวมะรุมมะตุ้มกันสักวันสองวัน ช่วงวันหยุดยาว

 

 

ฮั่นแน่.."ชวน-มาร์ค" ได้ดีเพราะ "งูเห่า" 

เทพไท เสนพงษ์

 


          ส่วนกลุ่มที่ต้องการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ก็ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว เพราะประเมินกำลังภายในพรรค ดูจะเป็นรองฝ่ายไม่เอาประยุทธ์ 

 

        เหนืออื่นใด พลพรรค ปชป.ที่ออกอาการหนุนประยุทธ์ กำลังเจอพวกเดียวกันเล่นปล่อยข่าว “งูเห่าสีฟ้า” ทำเอาเป๋ไปเหมือนกัน


          ถาวร เสนเนียม หัวแถวปีกหนุนประยุทธ์ถึงกับต้องออกมาชี้แจงว่า ไม่มีงูเห่าแน่นอน และทุกคนเคารพมติพรรค คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่มีมติอย่างไร ก็เอาตามนั้น 

 

          อันที่จริง นิทานอีสปเรื่อง “ปชป.กับงูเห่า” นั้นเล่ากันไม่รู้จบ เพราะประวัติศาสตร์การเมืองระยะใกล้ บอกเล่าถึงการปรับตัว เพื่อความอยู่รอด อย่างน้อย 2 ครั้ง

 

          ครั้งแรก วิกฤติการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่แตก หรือ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ทำให้รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไปไม่รอด พ่อใหญ่จิ๋วประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540


ฮั่นแน่.."ชวน-มาร์ค" ได้ดีเพราะ "งูเห่า" 

ถาวร เสนเนียม

 


          จากนั้น ก็เป็นเกมชิงการจัดตั้งรัฐบาล การเดินเกมการเมืองของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์สมัยนั้น ได้ชักชวน ส.ส.พรรคประชากรไทย กลุ่มของวัฒนา อัศวเหม จำนวน 13 คนเข้ามาสนับสนุน ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่สอง 

 

          นั่นคือ “ตำนานงูเห่า” ภาคแรกอันลือลั่น และต้องบันทึกไว้ว่า พรรคการเมืองพรรคเดียวเป็นทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล


          เมื่อสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ที่เดิมเป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พล.อ.ชวลิต กลับต้องเป็นฝ่ายค้าน โดยเหลือ ส.ส.ในสังกัดเพียง 4 คนไม่นับตัวเองคือ สุมิตร สุนทรเวช, ลลิตา ฤกษ์สำราญ, ห้างทอง ธรรมวัฒนะ และสนิท กุลเจริญ


          ปลายปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง ทำให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ต้องย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่มี ส.ส.จำนวน 23 คน ในนาม “กลุ่มเพื่อนเนวิน” ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย

 

 

 

ฮั่นแน่.."ชวน-มาร์ค" ได้ดีเพราะ "งูเห่า" 

 


          โดยกลุ่มเพื่อนเนวิน ได้ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคที่สมศักดิ์ เทพสุทิน เตรียมการไว้รองรับสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย หากเกิดอุบัติเหตุ และพรรคมัชฌิมาธิปไตยก็ถูกยุบจริงๆ 


          ต่อมา กลุ่มสมศักดิ์ เทพสุทิน และกลุ่มสุชาติ ตันเจริญ (กลุ่มที่มาจากพรรคเพื่อแผ่นดิน) ก็ได้เข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย ส่วน ส.ส.พลังประชาชนอีก 2-3 คน ย้ายไปสังกัดพรรคกิจสังคม


          สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เวลานั้น เดินเกมพูดจากับแกนนำกลุ่มต่างๆ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ “งูเห่า” หรืออนาคอนด้าการเมือง สนับสนุน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี 

 


          ปฏิบัติการของ เนวิน ชิดชอบ และพลพรรคเพื่อนเนวิน ได้ชื่อว่าเป็น “ตำนานงูเห่า” ภาคที่สอง 


          การที่อดีต ส.ส. หรือว่าที่ ส.ส.พรรคเก่าแก่ ออกอาการรังเกียจ “งูเห่า” ในเวลานี้ มองว่าพวกผู้แทนฯ ที่ทำตัวเป็นงูเห่า มีพฤติกรรมเยี่ยงนักการเมืองขายตัว ก็เหมือนสุภาษิตที่ว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง


          นักการเมืองพวกนี้ความจำสั้น ลืมไปว่า เคยก็มี ขบวนการ “งูเห่า” ออกมาช่วยปั้นนายกรัฐมนตรี จากค่ายสีฟ้าถึงสองหน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ