คอลัมนิสต์

แก้ปัญหาทรัพย์สินพระสงฆ์ด้วยการเลิกก.ม.ให้พระมีทรัพย์สินได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แก้ปัญหาทรัพย์สินพระสงฆ์ด้วยการเลิกกฎหมาย่ให้พระมีทรัพย์สินได้ และการให้มี "บัญชีธรรม" :  บทความพิเศษ โดย... ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต 

 

          ผู้เขียนและพี่น้องลูกหลานหลายคนได้เคยอุปสมบทได้บวชเรียนพระธรรมวินัยที่วัดสามพระยา เพราะมีความศรัทธาท่านอดีตเจ้าอาวาสคือท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร) ในตอนที่บวชนั้นท่านมีสมณศักดิ์ “พระธรรมปัญญาบดี” เมื่อมีเรื่องเงินทอนวัดเกิดขึ้นที่วัดสามพระยา และวัดอื่นบางวัด ทำให้ผู้เขียนมีความเศร้าใจมาก เพราะถ้าได้ยึด “ธรรมานุธรรมปฏิบัติ” ของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในเรื่องทรัพย์สินที่มีผู้นำมาถวายให้ท่านและให้วัด ท่านจะมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ท่านรองเจ้าอาวาส ที่เรียกกันว่า “ท่านเจ้าคุณเล็ก” (พระราชวิริยาลังการ) เข้าบัญชีเก็บรักษาไว้เป็นของวัดทั้งหมด ถ้าทุกวัดได้ปฏิบัติดังกล่าวนี้อย่างเคร่งครัด ปัญหาทรัพย์สินเรื่องเงินทอนก็คงจะไม่เกิดมัวหมองและเศร้าหมองแก่พุทธศาสนิกชนดังที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ 

          แต่เมื่อผู้เขียนได้มาอ่านคำเทศนาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่ได้แสดงธรรมแนะนำการทำใจในเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการคณะสงฆ์ในปัจจุบัน และการแก้ปัญหาด้วยปัญญา ก็คือว่า 
          1.ดูสภาพตัวเองอย่างที่ว่านี้

          2.สืบสาวเหตุปัจจัยการแก้ด้วยปัญญา (โปรดดูรายละเอียดพระธรรมเทศนา ณ วัดญาณเวศกวัณ 31 พ.ค. 2561 ในเวทีทัศน์ของ สำนักข่าวอิศรา วันที่ 31 พ.ค.)  

          จากพระธรรมเทศนาดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงการที่ได้เคยไปถวายความรู้ “กฎหมายทั่วไปที่พระสงฆ์ควรทราบ” ที่สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานบัญชีและกฎหมาย จัดขึ้นมานานแล้วในการไปถวายผ้าพระกฐินทุกปีที่วัดต่างจังหวัด และหลักสูตรนี้ที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสำหรับผู้เขียนจะไปถวายความรู้หลักสูตรเดียวกันที่วัดคลองวาฬ หัวหิน ทุกปี 
แม้ที่วัดสามพระยา ที่อดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสที่ถูกสึกและถอดถอนสมณศักดิ์จากกรณีเงินทอนวัด ก็ได้เคยให้ผู้เขียนไปถวายความรู้อยู่หลายครั้ง เพราะผู้เขียนมีความผูกพันกับวัดสามพระยามานานมากแล้ว

          ภายหลังวัดสามพระยาไม่เชิญให้ไปถวายความรู้ อาจจะเป็นเพราะผู้เขียนเคยไปบรรยายไม่เห็นด้วยที่จะให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ” และเหตุ “ปาราชิก” ของธัมมชโย และการแก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ยอมให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้และทำพินัยกรรมหรือจำหน่ายจ่ายโอนให้ผู้อื่นในระหว่างมีชีวิตได้ โดยเสนอให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศต้องตกเป็นทรัพย์สมบัติของวัดทันที แทนมาตรา 1623 ที่บัญญัติความนี้ไว้นานแล้วว่า

          “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” 

          ผู้เขียนเห็นว่าการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 รับรองการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของภิกษุไว้ดังกล่าวนี้ ขัดต่อพระธรรมวินัยในสิกขาบทที่ 8, 9 “โกสิยวรรค” ในนิสสัคคิยกัณฑ์ (ห้ามรับทองเงิน, ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ) กล่าวคือ “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุรับเอง ใช้ให้รับทอง เงิน หรือยินดี ทอง เงิน ที่เขาเก็บไว้เพื่อตน” 

          ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด 

          แต่ภายหลังทรงอนุญาตให้ยินดีปัจจัย 4 ได้ คือทายกมอบเงินไว้แก่ไวยาวัจกร เพื่อให้จัดหาปัจจัย 4 คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่ง ยารักษาโรค ภิกษุต้องการอะไร ก็บอกให้เขาจัดหามาให้ จึงมีประเพณีถวายใบปวารณาปัจจัย 4 (ดูพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน พิมพ์รวมเล่มเดียวจบ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า 159) 

          พระธรรมวินัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเป็นอกาลิโก จึงมีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการบัญญัติของปุถุชนที่ยังมีกิเลส จึงไม่อาจจะขัดหรือแย้งต่อพระธรรมวินัยได้ ฉะนั้น มาตรา 1623 นี้ควรจะต้องถูกยกเลิกไปหรือบัญญัติความใหม่ไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์หรือกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน รวมทั้งการทำบัญชีธรรม โดยมีความใหม่ในสาระสำคัญ ดังนี้ 
“ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น และนำเข้า “บัญชีธรรม” ทั้งหมด ถ้าพระภิกษุมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่าย ให้ไวยาวัจกรเป็นผู้จัดถวายให้ตามความจำเป็น"     

          “บัญชีธรรม” ให้เป็นไปตามรูปแบบที่มหาเถรสมาคมกำหนด 

          ส่วนการทำและมีบัญชีที่ขอเรียกชื่อตามคำบรรยายและข้อเสนอแนะของสมาคมสำนักงานบัญชีและกฎหมายว่า “บัญชีธรรม” ดังมีตัวอย่างรายการบัญชีของวัด ดังรูปแบบ ดังนี้ 

          อนึ่ง ผู้ที่จะมีหน้าที่ทำบัญชีและจัดการดูแลรักษาผลประโยชน์ของวัดได้แก่ “ไวยาวัจกร” ที่ตามกฎหมายคณะสงฆ์ให้มีฐานะเป็น “เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา” ที่จะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่สำคัญนี้ตามคณะกรรมการมหาเถรสมาคมกำหนดไว้ เช่นมีความรู้ทางพระธรรมวินัย กฎหมายและการบัญชีระดับหนึ่ง 
                                             
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ