คอลัมนิสต์

สองนครา "มหาชน" คืนชีพ ลุงกำนัน-เอนก!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พรรครวมพลังประชาชาติไทย" เขาบอกว่าไม่ใช่พรรคของคุณสุเทพ ไม่ใช่พรรคของกปปส. แต่ก็ทำให้นึกถึง "พรรคมหาชน" บนสังเวียนเลือกตั้งปี 2547-2548 ขึ้นมา!

          พลันที่มีข่าว “ลุงกำนัน” ตั้งพรรคการเมือง และมีชื่อ “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” นักวิชาการระดับจอมยุทธ์ นั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรค

          มิทันข้ามวัน “เอนก” อธิการบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ชี้แจงข่าวดังกล่าวผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก “เอนก เหล่าธรรมทัศน์ AnekLaothamatas” พอสรุปได้ว่ายังไม่มีใครทาบทามเป็นหัวหน้าพรรค แต่ยืนยันว่าได้เข้าร่วมประชุมกับคณะผู้ก่อการ “พรรครวมพลังประชาชาติไทย” จริง 

สองนครา "มหาชน" คืนชีพ ลุงกำนัน-เอนก!

       “พรรคนี้ยืนยันไม่ใช่พรรคของคุณสุเทพ ไม่ใช่พรรคของกปปส. พรรคนี้จะจดแจ้งชื่อต่อกกต.ในไม่กี่วันข้างหน้า จะมีชื่อผู้ก่อตั้งจำนวนหนึ่ง”

          อาจารย์เอนก ยังอธิบายอีกหลายเรื่องที่ย้ำชัดว่าพรรคที่จะก่อเกิดใหม่ในสองสามวันนี้เป็น “พรรคมวลชน” ไม่ใช่พรรคนายทุน “เราจะไม่บุ่มบ่าม จะไม่สนใจแต่การเตรียมเลือกตั้ง หาโอกาสที่จะชนะ จะเข้าไปมีอำนาจ และเราจะไม่เน้นเพียงการสร้างกระแสที่มีแต่ความวูบวาบ เป็นเพียงประกายไฟแล้วก็ดับวูบ"

สองนครา "มหาชน" คืนชีพ ลุงกำนัน-เอนก!

       อ่านความคิดของเจ้าทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยอันโด่งดัง ทำให้นึกถึง “พรรคมหาชน” บนสังเวียนเลือกตั้งปี 2547-2548 

       เวลานั้น พรรคมหาชน ถูกวางโพสิชันนิ่งตั้งแต่แรกก่อตั้งว่าเป็นพรรคทางเลือกใหม่ของประชาชน หรือพรรคทางเลือกที่สาม ต่อจากพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี พล..สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำในการจัดตั้ง     

          ว่ากันตามจริงกำเนิดพรรคมหาชนก็คงไม่ต่างจาก “พรรคการเมืองสองนครา” เพราะกลุ่มหนึ่งเป็นนักการเมืองอาชีพรุ่นเก่า อีกกลุ่มหนึ่งเป็นนักวิชาการ (ต้านระบอบทักษิณ) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง

สองนครา "มหาชน" คืนชีพ ลุงกำนัน-เอนก!

          จริงๆ แล้ว “เสธ.หนั่น” ได้รับความช่วยเหลือจากวัฒนา อัศวเหม เจ้าของพรรคราษฎร โดยนำเอาพรรคราษฎรมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคมหาชน ไม่ต้องเสียเวลาจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่

           หลายคนจึงรู้สึกประหลาดใจเมื่อเห็นภาพ “เสธ.หนั่น” ชนแก้วไวน์กับ วัฒนา อัศวเหม, พล..สมบุญ ระหงษ์, มั่น พัธโนทัย ฯลฯ ในวันเปิดตัวพรรคมหาชน และสงสัยว่าเหตุไฉนปัญญาชนระดับเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ถึงได้ยอมมาเป็นหัวหน้าพรรค

          เนื่องจากอาจารย์เอนกเคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และแลกเปลี่ยนแนวคิดการเมืองกับ “เสธ.หนั่น” อยู่บ่อยๆ จึงตัดสินใจลาออกจากพรรคมาพร้อมกัน ในระยะแรก พรรคมหาชนให้อาจารย์เอนกร่างนโยบายหลักพอสรุปได้ว่า รัฐสวัสดิการนิยมไม่ประชานิยม, ไม่รวมศูนย์อำนาจ และต้านคอร์รัปชั่น 

          ตลาดการเมือง พ..โน้น จึงมีพรรคการเมืองเสนอ “สินค้า” แตกต่างกัน พรรคประชาธิปัตย์ ขายเสรีนิยม, พรรคไทยรักไทย ขายประชานิยม และพรรคมหาชน ขายรัฐสวัสดิการนิยม

          ระหว่างการหาเสียงพรรคมหาชนดูสับสนในเชิงกลยุทธ์ เพราะนักการเมืองเก่าก็บริหารจัดการแบบเดิมๆ แต่นักเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนซึ่งเป็นมิตรสหายของอาจารย์เอนก ก็เดินแนวทางมวลชนที่ไร้ประสบการณ์ในสนามเลือกตั้ง

สองนครา "มหาชน" คืนชีพ ลุงกำนัน-เอนก!

          สุดท้ายผลการเลือกตั้ง ส..2548 พรรคมหาชนได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่ง และพรรคได้คะแนนเสียงระบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 5% ทำให้ทั้งอาจารย์เอนก และเสธ.หนั่น ไม่ได้เป็น ส..

          บทเรียนจากพรรคมหาชน ไม่รู้ว่าอาจารย์เอนกสรุปไว้อย่างไร? แต่ไม่ว่าบทเรียนของพรรคพลังธรรมยุคแรกๆ หรือพรรคเชิงอุดมการณ์ในประเทศไทยหลายพรรค มักจะไปไม่รอด เพราะจัดการให้ “การเมืองในความเป็นจริง” กับ “การเมืองในความฝัน” ไปด้วยกันไม่ได้

          ถามอาจารย์เอนกกับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น อยู่ในโลกความเป็นจริงหรือโลกความฝัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ