คอลัมนิสต์

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง : คอลัมน์... เจาะประเด็นร้อน โดย...  สำนักข่าวเนชั่น

          เมื่อกลุ่มการเมืองหลายๆ กลุ่มเริ่มเข้ามาทำงานร่วมกับรัฐบาล คสช. และท่าทีที่เชื่อกันว่าพร้อมจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งหลังการเลือกตั้ง ผ่านการเดินงานของ “ว่าที่ผู้จัดการรัฐบาล” อย่าง “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” แต่การ “ดูดเพื่อชาติ” ครั้งนี้เป็นการปฏิรูปการเมืองตามเป้าหมายจริงหรือไม่ หรือกำลังจะนำพาเรากลับไปสู่สภาพสังคมการเมืองในอดีต

          “ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์” กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง และอดีตประธานสภาพัฒนาการเมือง ให้คำนิยมว่า “การเมืองไทยขณะนี้ต้องถือว่าแย่ลง”

          ประการแรก ระบบการเมืองไม่ได้พัฒนาไปข้างหน้า แต่กลับย้อนยุคไปมาก โดยดูได้จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่จะเห็นได้ว่าการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ประการที่สองก็คือเรื่องของตัวนักการเมือง หรือพรรคการเมืองต่างๆ หรือผู้เล่นการเมือง ก็ยังมีทัศนคติเหมือนเดิมๆ คิดว่าจะเอาใครมาร่วมงานก็ได้ จะดีไม่ดีอย่างไร แต่ขอให้มีโอกาสที่จะได้รับเลือกตั้ง ซึ่งผู้นำการเมืองยังมีทัศนคติเหมือนเดิม

          การเล่นการเมือง หรือรับใช้บ้านเมืองไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ควรจะดำเนินการทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ว่าง่ายๆ คือสนับสุนนนักการเมืองที่ดี ประวัติใสสะอาด ไม่ใช่ไปเอาใครก็ได้ นี่ก็เป็นความคิดแบบเดิมๆ ไม่ช่วยให้การเมืองไทยพัฒนาขึ้น การที่ได้อำนาจในโอกาส หรือวิธีการใดก็ได้ที่ไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้อง ก็เป็นการเข้าสู่อำนาจด้วยความฉ้อฉล ซึ่งจะสืบต่ออำนาจในทางเดียวกัน

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 


          “เคยมีนักปราชญ์ลอร์ดแอคตัน นักประวัติศาสตร์ ชาวอังกฤษ เคยพูดไว้ว่า ประวัติศาสตร์เรามักจะมีผู้นำทางการเมืองที่ฉ้อฉล และถ้าพวกต้องการอำนาจสูงสุด ก็จะยิ่งมีการคอร์รัปชั่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผมเห็นว่าคำพูดของเขายังคงเป็นจริง เพราะเรายังไม่พ้นวงจรการเมืองเดิม แล้วจะไปพูดเรื่องปฏิรูปการเมืองได้อย่างไร ไม่มีประโยชน์ การปฏิรูปได้ผลจะต้องเริ่มจากตัวเองก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลัง จะเลือกใครมาร่วมงานด้วยก็ต้องเลือกคนที่ดี ประวัติใสสะอาด”

          “ผมมองว่าผู้นำในขณะนี้ มีพฤติกรรมที่แย่กว่าเดิม กล่าวคือ ถ้าเป็นสมัยเลือกตั้ง ก็จะมีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบ หากถูกวิจารณ์หนักๆ ก็จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คอลัมนิสต์ก็เขียนวิจารณ์ แต่มายุคนี้ คนวิจารณ์แง่ลบ แต่ก็ยังอยู่ต่อไป เพราะพวกเขามีอำนาจ ยิ่งองค์กรอิสระที่ไม่เอาจริงเอาจัง กลายเป็นเครื่องมือรับใช้นักการเมืองที่มีพฤติกรรมดังกล่าว บ้านเมืองก็ไปไม่รอด”

          ขณะที่  “สติธร ธนานิธิโชติ” นักวิิชาการสถาบันพระปกเกล้า กลับมองว่า ต้องบอกว่าเป็นสัญญาณที่ดี ที่หมายความว่าการเลือกตั้งใกล้เข้ามามา และชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์ กำลังเดินหน้าสู่สนามเลือกตั้งซึ่งคนกลุ่มนี้ที่ตกลงกับรัฐบาล ก็จะช่วยในเรื่องการเลือกตั้ง เพราะรัฐบาล คสช.ต้องการคะแนนเสียง แต่ทหารไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในสนามเลือกตั้ง จึงต้องพึ่งพากลุ่มนักการเมืองที่มีฐานมวลชนชัดเจนเข้ามาช่วย ส่วนคนกลุ่มนี้จะได้ตำแหน่งอะไรหลังการเลือกตั้งนั้น ก็คือเป็นอีกเรื่องหนึ่งอีกที แต่ว่าก็ผสมๆ กับคนที่รัฐบาลไว้วางใจด้วย

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          ส่วนการดึงนักการเมืองมาร่วมงานด้วยนั้น จะทำให้การเมืองไทยย้อนกลับไปสมัยยุคก่อนๆ หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าผสมกัน คือคล้ายๆ กับแบบเดิมที่เคยทำมา แต่คงไม่ถึงขั้นที่จะให้ย้อนยุคขนาดนั้น เพราะปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง นักการเมือง และประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ การที่นักการเมืองจะใช้ระบบอุปถัมภ์ส่วนตัวคงไม่ได้แล้ว อย่างเรื่องนโยบาย หรือแนวทางการบริหาร จะต้องตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนที่มีมากกว่าในอดีตซึ่งแนวทางการรวมตัวแบบนี้ จะสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน หากพวกเขาสามารถชนะใจประชาชนและกลับมาเป็นรัฐบาลอีก ก็ต้องดูที่แนวทางการบริหารว่าเป็นอย่างไร ซึ่งทางรัฐบาลทหารจะทำเองฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว หากต้องมีการประนีประนอมกับฝ่ายการเมือง หรือต้องมีการต่อรองกันครั้งใหญ่ ในการออกเสียงต่างๆ เหมือนการเมืองเมื่อก่อนแต่ไม่หมดทีเดียว 

          “เพราะสิ่งที่เปลี่ยนไปจริงๆ ก็คือ คนที่เข้าสู่อำนาจในสภา เขาจะไม่สามารถตัดสินใจเองแบบเบ็ดเสร็จ เหมือนในอดีตได้ เพราะเขาจะต้องฟังฐานเสียงตัวเองด้วย ไม่เช่นนั้นการเลือกตั้งครั้งต่อไปเขาอาจจะสอบตกได้”

          ด้าน “ยุทธพร อิสรชัย” รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระบุว่าที่มีการชวนนักการเมืองเก่ามาร่วมด้วย น่าจะมีปัจจัยอยู่สองกรณี อย่างแรกก็คือเรื่องของนโยบาย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการใช้เป็นกลไกในการเชื่อมกับสังคม ผ่านทางนักการเมือง ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประชารัฐต่างๆ ไม่ได้มีผลต่อการขับเคลื่อน หรือทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ หรือถ่ายทอดตัวเลขเศรษฐกิจระดับมหภาคได้ ส่วนสาเหตุอีกประการคือปัจจัยยุทธศาสตร์ทางการเมือง หากดูเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ หรือว่าเงื่อนไขในกฎหมายลูกต่างๆ จะเห็นได้ว่าเอื้ออำนวยต่อพรรคขนาดกลางได้เยอะมาก พรรคเหล่านี้จึงมีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนนี้เอง คสช.จึงต้องอาศัยกลุ่มคนเหล่านี้

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          แต่สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องไม่ลืมว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้ว คสช.เข้ามาในฐานะคนกลาง และมีความชัดเจนว่ามาเพื่อการปฏิรูป เปิดโอกาสให้นักการเมืองหน้าใหม่ หรือมีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ทางการเมือง แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับกลายเป็นว่า ก็เป็นกลุ่มอำนาจเดิมๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาลชุดนี้ แม้ว่าจะไม่ได้รับตำแหน่งบริหารหลัก หรือเป็นรัฐมนตรีอะไร แต่ในแง่การเป็นที่ปรึกษา ก็ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลนี้แล้ว ดังนั้นผมเชื่อว่าข้อวิจารณ์กรณีดังกล่าวจะเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ

          นอกจากนี้ยังทำให้การมีเมืองไทยในอนาคต ย้อนกลับไปมีลักษณะเหมือนเมื่อก่อน กล่าวคือมีการต่อรอง การเจรจา มากกว่าเป็นเรื่องของประชาชน โดยสิ่งเหล่านี้สวนทางกับสิ่งที่ คสช.เคยได้พูดเอาไว้ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเมืองไทยย้อนยุคไปจริงๆ ก็คือตัวรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มากกว่าการที่รัฐบาลชวนนักการเมืองมาร่วมงานด้วย เพราะระบบเลือกตั้ง การเมืองต่างๆ ในรัฐธรรมนูญนั้นจะนำไปสู่การเกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพทางการเมือง หรือการให้ ส.ว. 250 คนมีส่วนในการเลือกนายกฯ ตามบทเฉพาะกาลแล้ว จะเห็นได้ว่า นี่คือการเมืองของชนชั้นนำ ที่ไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชน ส่วนนี้เองจะทำให้การเมืองย้อนไปสู่ยุคเก่า มากกว่าปรากฏการณ์ที่นายกฯ ชวนนักการเมืองมาร่วมงานอีก

          สำหรับ “ไชยันต์ ไชยพร” อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า “สิ่งที่ผมเห็นจากกรณีนี้ก็คือ คนที่ได้ตำแหน่งไปจะไม่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็ต้องรอดูนักการเมืองพรรคอื่นๆ ถ้าไม่ทำให้นักการเมืองหงุดหงิด และสามารถเข้ามาอยู่ในรัฐบาลนี้ได้ ดูให้ดีๆ ก็จะเห็นคำอธิบายต่อปรากฏการณ์นี้ ซึ่งละเลยไม่ได้เลยก็คือ ภาพลางๆ ของรัฐบาลแห่งชาติ ที่นักการเมืองทุกพรรคต่างมาร่วมทำงานเพื่อชาติ เรื่องนี้ส่งผลให้แรงกดดัน เรียกร้องให้การเลือกตั้งจากพรรคการเมืองขนาดกลางน้อยลงไป ก็อาจจะมีเพียงกลุ่มนักศึกษา และสองพรรคการเมืองใหญ่ ที่อาจมีการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง”

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          เขาบอกอีกว่า จริงๆ มองว่าการเลือกตั้งอย่างไรก็ต้องเลื่อนออกไป ซึ่งทางฝั่งรัฐบาลคงจะมีการคิดกันว่า ถ้าการทำงานของรัฐบาลที่มีนักการเมืองจากภาคส่วนต่างๆ ทำงานได้ดี มีความลงตัว และสงบเรียบร้อย ทำให้คนส่วนใหญ่มีความพอใจ ก็อาจทำให้รัฐบาลอยู่ต่อได้

          กลุ่มการเมืองที่คาดว่าจะเข้าร่วมพรรคการเมือง  “คสช.” 
          1.พรรคพลังชล
          พรรคพลังชลถูกคาดหมายมานานแล้วว่าไม่น่าที่จะไปไหน และท้ายที่สุดคงเข้าร่วมกับพรรคที่คาดหมายว่าจะได้เป็นรัฐบาล พรรคพลังชล แท้จริงแล้วก็คือพรรคการเมืองของคนในตระกูล “คุณปลื้ม” ผู้กว้างขวางแห่ง จ.ชลบุรี การแยกออกจากพรรคภูมิใจไทยมาตั้งพรคคการเมืองของตัวเองในนาม “พรรคพลังชล” เป็นโมเดลของพรรคระดับจังหวัดอย่างแท้จริง โดยการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 พรรคพลังชลได้รับ ส.ส.มา 7 ที่นั่ง โดย 6  ที่นั่งนั้นล้วนอยู่ในพื้นที่ จ.ชลบุรี ที่ชนะเลือกตั้งมาแบบยกจังหวัด ส่วนอีกหนึ่งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งก็คาดว่าเป็นคะแนนเสียงที่ได้มาจาก จ.ชลบุรี เช่นกัน โดยขณะนี้มี สนธยา คุณปลื้ม เป็นหัวหน้าพรรค

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          ตระกูล “คุณปลื้ม” นั้นเติบใหญ่มาจาก “ผู้กว้างขวางเมืองชลฯ” อย่าง “กำนันเป๊าะ” สมชาย คุณปลื้ม แต่ต่อมาเขาถูกศาลสั่งจำคุก 30 ปี 4 เดือน จากกรณีทุจริตจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเขาไม้แก้ว และคดีจ้างวานฆ่า “กำนันยูร” ประยูร สิทธิโชติ ต่อมาเมื่อธันวาคม 2560 ก็มีคำสั่งให้พักโทษ “กำนันเป๊าะ” โดยให้เหตุผลว่าอายุครบ 70 ปี และป่วยหนักเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ขณะเดียวกันก็มีเสียงเล่าลือว่าการพักโทษครั้งนี้เป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อให้พรรคพลังชลมาเข้าร่วมกลุ่มและทำงานกับพรรคการเมืองที่กำลังจะตั้งขึ้นใหม่โดย คสช. หรือไม่

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          และล่าสุดก็มีคำสั่งแต่งตั้ง “สนธยา คุณปลื้ม” เป็นที่ปรึกษาด้านการเมืองของนายกรัฐมนตรี และตั้ง “อิทธิพล คุณปลื้ม” เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

          2.กลุ่ม “สะสมทรัพย์” 
          บ้านใหญ่แห่งนครปฐมหลังนี้หอมหวนเสมอสำหรับนักเลือกตั้ง เพราะแม้ว่าชื่อเสียงของพวกเขาจะไม่ค่อยสวยงามนัก แต่คะแนนนั้นสวนทางกับชื่อเสียงโดยสิ้นเชิง “สี่พี่น้อง” เผดิมชัย-ไชยยศ-ไชยา-อนุชา การันตีได้ใน จ.นครปฐม รวมถึงคนใกล้ชิด โดยการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 จาก 5 ที่นั่งในนครปฐม กลุ่มของพวกเขากวาดไปถึง 4 ที่นั่ง

          ภายหลังการรัฐประหาร พวกเขาก็ผจญกับมรสุมมาโดยตลอด ถูกตรวจค้นบ้านสองครั้งด้วยข้อสงสัยเป็นผู้มีอิทธิพล นอกจากนี้ “ไชยา” ยังถูกดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์ของหลวง มีอาวุธสงครามในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง

          แต่สถานการณ์ทุกอย่างดูเปลี่ยนไปเมื่อใกล้เลือกตั้ง “สะสมทรัพย์” กลับดูเนื้อหอม และปรากฏภาพถ่ายรูปร่วมกันกับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเหล่า คสช. ท่ามกลางข้อสงสัยว่าจะเข้ามาเป็นหนึ่งในองคาพยพการเมืองของ คสช.ในอนาคตหรือไม่ ประกอบกับที่ผ่านมาพวกเขาก็ยังไม่ยอมกลับไปยืนยันความเป็นสมาชิกพรรคกับต้นสังกัดเดิมอย่าง “เพื่อไทย” ยิ่งทำให้ดูเข้าเค้ามากขึ้น จนเหล่าแกนนำพรรคต้องนัดไปตีกอล์ฟที่สนาม “นิกันติ” ของตระกูลสะสมทรัพย์ ตามรอย “บิ๊กตู่” แต่ก็ไม่มีคำมั่นว่าพวกเขาจะกลับพรรคแต่อย่างใด 

          3.กลุ่มบ้านริมน้ำ
          “สุชาติ ตันเจริญ” นักการเมืองเก๋าประสบการณ์ หัวหน้ากลุ่ม “บ้านริมน้ำ” อดีตสมาชิกกลุ่ม 16 ที่ชื่อเสียงคล้ายจะเลือนหายไปช่วงหนึ่ง แต่เมื่อกติกาเอื้อให้กลับมาพวกเขาก็ไม่พลาดโอกาส พวกเขามีสมาชิกในกลุ่มไม่น้อย กลุ่ม “สะสมทรัพย์” ก็เคยเป็นสมาชิกกลุ่มนี้ และพวกเขาก็มี ส.ส.ในหลายพื้นที่ ทั้งภาคกลางและภาคอีสาน

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          เมื่อการเมืองขยับ พวกเขาก็มีข่าวว่าจะเข้ามาร่วม โดยมีการระบุว่าเป็นการประสานงานของ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” และทีมงาน ซึ่งถึงนาทีนี้ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง กลุ่มของเขาที่มีร่วมๆ 20 คน น่าที่จะมาทำงานกับขั้วการเมืองสีเขียว

          4.กลุ่ม กปปส.
          กลุ่ม กปปส. ถือเป็นผู้สนับสนุนหลักของ คสช. ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้ามามีอำนาจ กลุ่มนี้นำโดย “ลุงกำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ และนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อภารกิจดึงอำนาจเดิมลงมา และสถาปนาอำนาจใหม่เสร็จสิ้น พวกเขาก็หันมาอยู่เบื้องหลัง แต่คอยสนับสนุนอยู่เนืองๆ จนเมื่อถึงคราวการเมืองขยับ นักการเมืองส่วนหนึ่งกลับพรรคประชาธิปัตย์ แต่อีกบางคนยังต้องการสนับสนุน “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ให้อยู่ในอำนาจต่อไป จึงมีแนวคิดจะตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง  

 

"หมื่นตู่" พาย้อนยุค ?  เกี้ยวนักการเมืองเข้าร่วมมุ้ง

 

          แต่ล่าสุด “ว่าที่ผู้จัดการรัฐบาล” ที่เห็นว่าไหนๆ ก็เดินทางเดียวกันแล้ว ก็น่าที่จะมาร่วมกันเสียในคราวเดียว และเราก็ได้เห็น “สกลธี ภัททิยกุล” ได้เข้าไปนั่งเก้าอี้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ