คอลัมนิสต์

รื้อ-ไม่รื้อ "บ้านพักตุลาการ" เชิงดอยสุเทพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(ขยายปมร้อน) รื้อ-ไม่รื้อ "บ้านพักตุลาการ" เชิงดอยสุเทพ

 

              ถึงอย่างไรก็ไม่จบง่ายๆ..กับปัญหากรณีโครงการก่อสร้างบ้านพักผู้พิพากษา อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ และข้าราชการศาลยุติธรรม บนเนื้อที่ 89 ไร่ เชิงดอยสุเทพ ใกล้กับอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย

 

              ล่าสุด..ช่วงเทศกาลสงกรานต์ สภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ และเรียกร้องให้รื้อถอนบ้านพักตุลาการและอาคารชุดออกจากพื้นที่ป่าโดยเร็ว โดยให้เหตุผลว่า โครงการดังกล่าวทำลายคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

              เช่นเดียวกับ “เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ” ที่ยังคงเรียกร้องให้ทุบทิ้ง รื้อถอนโครงการนี้ โดยมองว่าเป็น “บาดแผล” ของชาวเชียงใหม่ ซึ่งไม่สามารถอดทนได้ และให้เหตุผลว่าโครงการอยู่ในพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์มาก

              “จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ชาวเชียงใหม่เรียกร้อง ส่วนมากเห็นพ้องตรงกัน คือให้ทุบทิ้ง รื้อถอนโครงการนี้ออกไป โดยมองว่า ปัญหาอยู่ตรงที่สิ่งปลูกสร้างไปอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งคือ พื้นที่ป่า ดังนั้นไม่ว่าจะปรับสภาพเป็นอะไรก็ตาม หากยังมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น ต้องคืนสภาพป่ากลับมาเท่านั้น”

              ก่อนหน้านี้ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้เป็นคนกลาง จัดเวทีสาธารณะ รับฟังข้อคิดเห็น และหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมด้วย แต่ทางศาลไม่มีการส่งตัวแทนมาร่วมด้วย

       จะเห็นได้ว่าหากเป็นไปตามข้อสรุปนี้ ก็ต้องมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด เป็นเพียงบางส่วน โดยแม่ทัพภาคที่ 3 บอกในทำนองที่ว่า “จะรื้อแค่ไหนจึงจะเหมาะสม”

              แต่หากดูจากท่าทีของรัฐบาล กลับไม่ต้องการให้รื้อถอน ทุบทิ้งสิ่งปลูกสร้าง เพียงแต่ต้องการให้ยุติโครงการ จากนั้นหาทางปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรต่อไป

              เห็นได้จากคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ที่ว่า “บางคนบอกว่าให้ทุบทิ้งอย่างเดียว อย่างอื่นไม่สนใจ มันก็ไม่ได้ ทุบทิ้งมันง่าย แต่ต้องมีคนรับผิดชอบงบประมาณตรงนี้” (อ่านต่อ...นายกฯ"ชี้ทุบบ้านพักตุลาการไม่ง่าย)

 

รื้อ-ไม่รื้อ "บ้านพักตุลาการ" เชิงดอยสุเทพ

              เช่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ที่บอกว่า โครงการบ้านพักตุลาการมีแนวโน้มว่าจะไม่ก่อสร้างต่อ แต่จะให้ประชาชนได้ร่วมใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว (อ่านต่อ..."บิ๊กป้อม" บอกอย่ารีบสรุปบ้านพักขรก.ศาล)

              ดังนั้น ตอนนี้มี 3 ทางออก

              1.ไม่รื้อ-เดินหน้าสร้างโครงการบ้านพักตุลาการ โดยอ้างว่าทำถูกต้องตามกฎหมาย, ขออนุญาตถูกต้อง, สร้างใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

               แต่แนวทางนี้เป็นไปได้น้อยมาก เพราะหากยังขืนเดินหน้าโครงการสร้างบ้านพักตุลาการต่อ แนวโน้มน่าจะเกิดความวุ่นวาย ชาวบ้านคงไม่ยอม อีกทั้งกระแสคัดค้านโครงการนี้ของชาวบ้านแรงมาก ถึงแม้ว่าจะก่อสร้างจนเสร็จ ก็คงไม่มีใครกล้าเข้าไปพัก ดังนั้นเดินหน้าต่อไป ก็คงเปล่าประโยชน์

              อีกทั้งดูท่าทีจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (กบศ.) ที่มีมติออกมาว่าให้มีหนังสือเรียนนายกฯ ถึงข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยหากรัฐบาลเห็นสมควรประการใด สำนักงานศาลยุติธรรมก็ไม่ขัดข้อง ก็ถือว่าทางศาลยอมถอยในระดับหนึ่งไม่ได้ดึงดันเดินหน้าสร้างบ้านพักตุลาการต่อ และเปิดช่องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหานี้

              2.ไม่รื้อ แต่หยุดสร้างต่อและเลิกใช้บ้านพัก แล้วปรับสภาพพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่น

              รัฐบาลต้องการให้เป็นไปตามแนวทางนี้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะปรับสภาพพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อย่างไร ในเมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีการออกแบบมาสำหรับสร้างบ้านพักและได้มีีการสร้างบ้านพัก อาคารชุด ขึ้นมาเกือบเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการแล้ว อีกทั้งต้องเสียงบประมาณในการปรับพื้นที่และงบในการหาพื้นที่และสร้างที่พักให้แก่ข้าราชการตุลาการใหม่

              แต่ปัญหาใหญ่สุดคือ ชาวบ้านไม่ต้องการให้มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นการทำลายผืนป่าที่สมบูรณ์ ไม่ได้ต่อต้านเพราะว่า เป็น “บ้านพักตุลาการ” การปรับสภาพพื้นที่โดยไม่รื้อถอนบ้านพัก ต้นไม้ก็ขึ้นไม่ได้เพราะติดพื้นปูน สภาพผืนป่าก็ไม่สามารถกลับคืนมาได้ตามที่ชาวบ้านต้องการ

 

รื้อ-ไม่รื้อ "บ้านพักตุลาการ" เชิงดอยสุเทพ

 

              3.รื้อบ้านพัก แล้วคืนพื้นที่ให้กรมธนารักษ์ เพื่อจะได้ฟื้นฟูสภาพป่ากลับมาเหมือนเดิม โดยชาวบ้านมองว่าแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณในการรื้อ และงบหาที่พักใหม่ให้กับข้าราชการตุลาการและข้าราชการศาล แต่ก็คุ้มกับสภาพป่าที่กลับคืนมา ส่วนงบที่ใช้ไปแล้ว ซึ่งต้องสูญเปล่า ก็ต้องยอม และมองที่ว่าที่ผ่านมาก็เคยมีหลายโครงการที่รัฐต้องสูญเสียงบไปเปล่าๆ หรือเรียกว่า “ค่าโง่”

              ปัญหาโครงการบ้านพักตุลาการ รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจเพราะปล่อยไว้อาจกระทบต่อความเชื่อถือต่อ “สถาบันศาล” ที่มีต้นทุนสูงในสังคมมาอย่างยาวนาน เพราะที่ผ่านมา ไม่มีเคยมีที่ “สถาบันศาล” เป็นคู่พิพาทกับประชาชนเสียเองการ “กัน” ศาลออกจากความขัดแย้งในเรื่องนี้โดยเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่ง

บ้านพักตุลาการ ดอยสุเทพ "มิติกฎหมาย"เผชิญ"มิติสิ่งแวดล้อม"

 

รื้อ-ไม่รื้อ "บ้านพักตุลาการ" เชิงดอยสุเทพ


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ