คอลัมนิสต์

"คำขอ" ศาลปกครองบังคับไม่ได้ ฟ้องไม่ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“คำขอ” ที่ศาลปกครองออกคำบังคับไม่ได้ ... ฟ้อง ?! ไม่ได้

          การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีจะต้องอธิบายหรือแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในเรื่องใด ?

          และประสงค์จะขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งให้กับตนอย่างไร ?

         ดังนั้น เงื่อนไขความเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔๒

         และ คำขอ” ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หากเป็น “คำขอ” ที่ศาลปกครองไม่สามารถออกคำบังคับได้

        คือ เป็นคำขอที่ไม่สามารถแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายได้ ศาลปกครองจะไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

         ดังเช่นกรณีที่ประชาชนคนใดคนหนึ่งไม่พึงพอใจพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการและเห็นว่าการกระทำนั้นน่าจะเป็นความผิดทางวินัยของข้าราชการ จะมีสิทธิฟ้องศาลปกครองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้หรือไม่ ?

           มีตัวอย่าง คือ ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ได้รับการข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) จึงมีหนังสือร้องเรียนอธิบดีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น โดยขอให้ดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งอธิบดีก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีความเห็นว่า พยานหลักฐายังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ตามข้อร้องเรียนและมีคำสั่งยุติเรื่องร้องเรียนดังกล่าว

       หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งยุติเรื่องและให้อธิบดีดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่

        ประเด็นปัญหา คือ คำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งยุติเรื่องและให้ดำเนินการทางวินัย เป็นคำขอที่ศาลออกคำบังคับได้หรือไม่ ?

           ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการเป็นเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งกระทำผิดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐ โดยหลักแล้วถือว่าทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสียหาย
        ในกรณีที่มีการกระทำความผิดทางวินัยเกิดขึ้น และการที่ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยต่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดวินัยหรือไม่นั้น กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาโดยเฉพาะที่จะพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี

         ดังนั้นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ จึงเป็นกรณีที่ศาลปกครองไม่อาจกำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔๒ ประกอบกับการที่ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ หรือไม่ ไม่มีผลเป็นการเยียวยาทุกข์หรือแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้โดยตรง

ู้      ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔๒ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๓๐/๒๕๕๙)

        คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเงื่อนไขการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดีต้องพิจารณาในเบื้องต้นก่อนที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งหากไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขการฟ้องคดี เช่น ความเป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหายซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคำขอ การดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในฝ่ายปกครอง ระยะเวลาการฟ้องคดี หรือเงื่อนไขอื่นๆ ศาลปกครองจะไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีจากสารบบความ

          และคดีนี้ยังเป็นการวางหลักกฎหมายในทางปกครองอีกว่า การดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาโดยเฉพาะ เอกชนที่เห็นว่าตนได้รับความเสียหายจากพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่ผู้เสียหาย
ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองโดยมีคำขอให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ