คอลัมนิสต์

เปิด!! ยุทธศาสตร์แก้เกม “เตะตัดขา” พรรคเพื่อไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(ขยายปมร้อน)“พรรคแนวร่วม” ยุทธศาสตร์แก้เกม “เตะตัดขา” พรรคใหญ่ แน่นอน "พรรคใหญ่" ในเป้าหมาย คือพรรคเพื่อไทย

 

               เป็นที่รู้กันว่ากติกาเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่วางไว้เพื่อสกัด “พรรคใหญ่” ไม่ให้สามารถตั้ง                       รัฐบาลพรรคเดียวได้ โดยเหตุผลของฝั่งผู้มีอำนาจ คือ เพื่อไม่ให้เกิดสภาพ “เผด็จการรัฐสภา”

               ซึ่งก็ชัดเจนว่า “พรรคใหญ่” ในเป้าหมายของกติกานี้คือ “พรรคเพื่อไทย”

เปิด!! ยุทธศาสตร์แก้เกม “เตะตัดขา” พรรคเพื่อไทย

               มาดูกันชัดๆ อีกครั้ง “กติกา” ที่ว่าเอื้อพรรคเล็ก เตะตัดขาพรรคใหญ่นี้ เป็นอย่างไร ?

               พรรคใหญ่ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยจะรับมืออย่างไร ?

               รวมไปถึงพรรคขนาดเล็กจะใช้เป็นเครื่องมืออย่างไร ?

               กติกาหลักคือเรื่องระบบการเลือกตั้ง ที่ครั้งนี้ “ปรมาจารย์กฎหมาย” มีชัย ฤชุพันธุ์ ดีไซน์ระบบใหม่ ชนิดที่ไม่เคยมีประเทศไหนในโลกใช้กติกานี้มาก่อน มีชื่อชวนงงว่า “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” คือ การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว แต่นำไปใช้คำนวณเพื่อการได้มาซึ่ง ส.. ทั้ง 2 ระบบ คือ ส..เขต และ ส..บัญชีรายชื่อ

               ด้วยเหตุผลที่ว่า “ไม่ต้องการให้คะแนนตกน้ำ” คะแนนทุกคะแนนที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิจึงมีความหมาย นำมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคำนวณออกมาเป็นจำนวน ส..ที่พรรคนั้นพึงจะมีได้ จากจำนวน ส..ทั้งหมด 500 คน (..เขต 350 คน ส..ปาร์ตี้ลิสต์ 150 คน)

               ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “อดีต ส..แถว 2-3-4...” มีราคาขึ้นมา

               เพราะแม้จะรู้ดีว่า หากลงสมัครรับเลือกตั้งแล้ว พวกเขาไม่มีทางชนะ แต่มันคือการเก็บสะสมคะแนน

               ยิ่งส่งผู้สมัคร ส..เขตลงมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสสะสมคะแนนและแปรไปเป็นจำนวน ส..ปาร์ตี้ลิสต์มากขึ้นเท่านั้น

               ฉะนั้น สิ่งที่จะได้เห็นแน่ๆ ในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ผู้สมัคร ส..เขตจะมีมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

               ย้อนกลับไปทำความเข้าใจประเด็นที่ว่า กติกานี้ “เตะตัดขา” พรรคใหญ่อีกครั้ง

               ประเด็นนี้คือ ด้วยสูตรเลือกตั้งแบบใหม่ของโลกนี้ โอกาสที่พรรคใหญ่จะได้ ส..เกินครึ่ง คือเกิน 250 แทบไม่มี เพราะถ้าจะได้ ส..เกินครึ่ง ก็หมายความว่าพรรคนั้นต้องได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์เกินครึ่งของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด

               ตัวเลขผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งปัจจุบัน อยู่ที่ 50 ล้านเศษ (ในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อสิงหาคม 2559 มีผู้มีสิทธิ์ 50.5 ล้านคน)

               ตอนนี้หลายพรรคการเมืองคำนวณออกมาตรงกันว่า สัดส่วนคะแนนที่จะได้ ส.. 1 คน น่าจะอยู่ที่ 7 หมื่นคะแนน ซึ่งตัวเลขนี้หมายถึงว่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 35 ล้านคน 

               แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทยยอมรับว่า โอกาสที่เพื่อไทยจะได้ ส..ถึง 250 คนนั้นน่าจะยาก อย่างไรก็ตามทางพรรคก็ต้องพยายามทำให้ได้มากที่สุด ซึ่งคิดว่าจำนวน ส..ที่จะเป็นนัยสำคัญ ทำให้พรรคเพื่อไทยสามารถเป็นรัฐบาลได้ คือ ต้องได้อย่างน้อย 230 เสียง

               หากได้ถึงประมาณ 230 เสียง โอกาสที่พรรคตัวแปร เช่น ภูมิใจไทย ชาติไทย ชาติพัฒนา จะมาร่วมกับเราก็มีเยอะ เพราะถ้าเขาไปจับกับอีกฝั่ง แล้วโดดเดี่ยวให้เพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน ก็ต้องบอกว่าเขาจะเป็นรัฐบาลที่อยู่ยาก เพราะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค จะเกิดเรื่องความเป็นเอกภาพ รวมถึงปัญหาเรื่ององค์ประชุมจนไม่เป็นอันทำงาน”

               ถามว่าแล้วพรรคเพื่อไทยจะแก้เกมอย่างไร ?

               ตรงที่บอกว่า ส..แถว 2-3-4... มีค่า นั่นแหละเป็นคำตอบ

               เราต้องมีพรรคแนวร่วม แต่เราคงไม่มีการประกาศออกมาหรอกว่าพรรคไหนเป็นพรรคแนวร่วมบ้าง ซึ่งพรรคแนวร่วมก็อาจจะมีได้มากกว่าหนึ่ง พรรคเหล่านี้จะประกอบด้วยผู้สมัคร ส..แถว 2-3-4...เป็นหลัก เพื่อไปเก็บสะสมคะแนนมาเป็น ส..ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อจะเอามารวมกับ ส..เพื่อไทย”

               จากข้อมูลล่าสุดที่ว่า สัดส่วน ส.. 1 คน น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 หมื่นคะแนน

               ซึ่งต้องบอกว่า ที่ผ่านมา ส..สอบตก (อันดับ 2-3-4...) ได้คะแนนมาเป็นหลักหมื่นหลักแสนก็ไม่น้อย สมมุติ ส..สอบตกคนหนึ่งได้คะแนนมา 1 แสนคะแนน เขาก็มีสิทธิแปลงมาเป็นคะแนน ส..ปาร์ตี้ลิสต์ได้แล้วอย่างน้อย 1 คน มีแบบนี้สัก 10 เขต ก็มีสิทธิได้ ส..ปาร์ตี้ลิสต์แล้วไม่ต่ำกว่า 10 คน

               ตอนนี้มีหลายพรรคที่ไม่ได้หวังว่าจะได้ ส..เขต แต่หวังว่าจะได้ ส..ปาร์ตี้ลิสต์ จากการเก็บเล็กผสมน้อยจากเขตต่างๆ ทั่วประเทศ

               นี่คือจุดที่พรรคเล็กได้เปรียบ

               พรรคเล็กเหล่านี้แหละ ที่จะกลายสภาพมาเป็น “พรรคแนวร่วม” หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "พรรคสาขา" ของพรรคใหญ่ ซึ่งน่าจะหมายถึงทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์

เปิด!! ยุทธศาสตร์แก้เกม “เตะตัดขา” พรรคเพื่อไทย

(อ่านต่อ...มาล้าววว.. “เสี่ยติ่ง” คัมแบ็ค พรรคพลังพลเมือง..สาขา? )

               ฉะนั้นจึงต้องจับตาดูพรรคเล็กๆ โดยเฉพาะพรรคใหม่ที่มาจดแจ้งเพื่อขอตั้งพรรคต่อ กกต.

               ล่าสุด จนถึงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (9 มี..) มีกลุ่มการเมืองมาแจ้งต่อ กกต.ไว้แล้วทั้งหมด 55 พรรค และคงจะมีทยอยมาอีกเรื่อยๆ

               รวมถึง 2 พรรคที่ผู้คนเฝ้าจับตา คือ พรรคของกลุ่ม กปปส. กับพรรคของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ที่มีทั้งภาพลักษณ์จุดยืนที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงกับพรรคของกลุ่ม กปปส

               แม้การออกมาพูดเรื่องนี้ของ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” จะทำให้ผู้คนสับสน บางคนคิดไปว่าจะไม่มีการตั้งพรรคขึ้นมา แต่ผู้เกาะติดการเมืองย่อมรู้ดีว่า นั่นคืออาการ “เล่นลิ้น” ของสุเทพเท่านั้น

เปิด!! ยุทธศาสตร์แก้เกม “เตะตัดขา” พรรคเพื่อไทย

(อ่านต่อ...ฟังชัดๆ!! "สุเทพ" ร่วมตั้งพรรค แต่ไม่รับตำแหน่งการเมือง)

               ความจริงก็คือ จะมีการตั้งพรรคของกลุ่ม(อดีต) กปปส.แน่นอน เพียงแต่รอเวลาเพื่อให้การเปิดตัวเกิดภาพสมกับการเป็นพรรคของมวลมหาประชาชนก่อน ซึ่งก็ยังไม่จำเป็นต้องรีบ เพราะคนปีกนี้ซึ่งถือว่า “ใกล้ชิด” กับผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ก็ยังคง “ไม่มั่นใจ” ว่า จะมีการปลดล็อกเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่เมื่อไรกันแน่

               ในส่วน “พรรคของธนาธร” นั้น แม้ยังไม่เปิดตัวออกมา แต่สิ่งที่ “ธนาธร” แสดงออกมาชัดเจนประหนึ่งประกาศออกมาแล้ว เขาเพียงแค่รอเวลาสำหรับการ “เคลียร์” บางเรื่องให้เรียบร้อยลงตัวเท่านั้น 

               สำหรับพรรค กปปส. สุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการเป็นพรรคแนวร่วมของประชาธิปัตย์ 

               ขณะที่พรรคของ “ธนาธร” แม้วันนี้อาจจะบอกว่าไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแนวร่วมของพรรคใด แต่สุดท้ายจะหลุดจากเกมนี้ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะ “ลุย” และ “ทุ่ม(เท)” ขนาดไหน ??

+++++

เรื่องโดย สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์ คมชัดลึกออนไลน์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ