คอลัมนิสต์

ครั้งแรก ! เปิดแฟ้มสถิติ 9 ปี “คดีล่าสัตว์ป่า”พื้นที่มรดกโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แหล่งโปรดปรานของแก๊งนักล่าสัตว์ป่ามากสุดคือ “ห้วยขาแข้ง”    รองลงมาคือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า....

 

             คดี “เสี่ยฆ่าเสือดำ” สัตว์ป่าสงวนในพื้นที่มรดกโลก กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมไทย เกิดกระแสต่อต้าน “คนทำผิดลอยนวล”  โดยที่ผ่านมาแทบไม่มีใครรู้ว่าคดีเหล่านี้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงไร ? มีคนผิดลอยนวลไปแล้วกี่คน ?

                 ทีมข่าว คมชัดลึก ติดต่อขอข้อมูลจากสำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ  เพื่อตรวจสอบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศไทยจำนวนเท่าไร ปรากฎว่าสืบค้นย้อนไปได้ 8 ปี ตั้งแต่ปี 2552 -2559 มีคดีทั้งหมด 4 หมื่นกว่าคดี ตัวเลขเต็ม ๆ คือ  “42,492 คดี” ผู้กระทำผิด 21,444 คน

ครั้งแรก ! เปิดแฟ้มสถิติ 9 ปี “คดีล่าสัตว์ป่า”พื้นที่มรดกโลก

 

              หากแยกเฉพาะคดีเกี่ยวกับสัตว์ป่า พบทำผิด 4,665 คดี ผู้กระทำผิด 5,428 คน ยึดสัตว์ป่าของกลางได้ทั้งหมด 106,988 ตัว  

         หมายความว่าภายใน 8 ปีที่ผ่านมา เขตอุทยานแห่งชาติทั่วไทย

        มีสัตว์ป่าถูกลักลอบไล่ล่าไปแล้ว 1 แสนกว่าตัว

....ทั้งที่เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าโดยเฉพาะ  !?!..   

 

                       ครั้งแรก ! เปิดแฟ้มสถิติ 9 ปี “คดีล่าสัตว์ป่า”พื้นที่มรดกโลก    

             เมื่อเจาะลึกสถิติ “กลุ่มป่าตะวันตก” ที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนจาก “คดีเสี่ยเปรมชัย”พื้นที่นี้ครอบคลุมเนื้อที่ 12 ล้านไร่ ได้รับการยกย่องว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพ  ทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์มีความอุดมสมบูรณ์สมกับเป็นแหล่งธรรมชาติสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่มรดกโลก 2 แห่งที่รวมอยู่ในกลุ่มป่าแหล่งนี้ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

                   จากสรุปรายงาน “สถิติคดีเกี่ยวกับสัตว์ป่าของกลุ่มป่าตะวันตก” ข้อมูลปี 2553 – เดือนมกราคม 2561 หากแยกมาเฉพาะ พบการทำผิดคดีสัตว์ป่าทั้งหมดมีจำนวน 469 คดี โดยแหล่งโปรดปรานของแก๊งนักล่าสัตว์ป่ามากสุดคือบริเวณ “ห้วยขาแข้ง”   พบสัตว์ป่าหวงห้ามและไม่หวงห้ามกว่า 1.2 พันต้องสังเวยชีวิตไปแล้ว  รองลงมาคือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง”  มีจำนวน  370 ตัว

            หมายความว่า พื้นที่มรดกโลกสำคัญ 2 แห่งข้างต้น มีสัตว์ป่ากว่า 2 พันตัวถูกไล่ฆ่าไปแล้วในเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา ตัวเลขข้างต้นมีเฉพาะที่เจ้าหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีได้เท่านั้น แต่ยังมีผู้ลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ป่าและสัตว์สงวนหายากอีกจำนวนมาก ที่สามารถเล็ดลอดการจับกุมของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปได้

            ตัวเลขนี้ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเป็นกี่เท่าของตัวเลขที่โชว์ในสถิติ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ