คอลัมนิสต์

ละเลยหน้าที่ ปล่อยร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ ส่งกลิ่นเหม็นสารเคมี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศาลปกครอง ชี้ เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยให้ร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซด์ ส่งกลิ่นเหม็นสารเคมีและซ่อมยามค่ำคืน เป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน

      โดย นายปกครอง

             คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นความเดือดร้อนรำคาญจาก “กลิ่นเหม็นของสารเคมีและเสียงดังรบกวน” ของร้านประกอบกิจการซ่อม ดัดแปลง และปรับแต่งรถจักรยานยนต์ ซึ่งประกอบกิจการทั้งกลางวันและล่วงเลยจนถึงเวลากลางคืน ทำให้ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงทนไม่ไหว จึงได้ร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอให้เข้ามาแก้ไขและระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญดังกล่าว

            หลังจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่แล้ว ผู้ประกอบการได้แก้ไขเหตุเดือดร้อนตามคำสั่ง โดย () ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและได้รับอนุญาตแล้ว () ลดกลิ่นเหม็นจากน้ำยาล้างชิ้นส่วนรถยนต์ และ () หยุดประกอบกิจการในเวลากลางวันเป็นบางครั้งและบางช่วงเวลา

          แต่ทว่า...ยังได้กลิ่นเหม็นของสารเคมีอยู่เหมือนเดิม และบางวันกลับพบว่ามีการประกอบกิจการในช่วงกลางคืนต่อเนื่องจากกลางวัน

           ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงดังกล่าว (ผู้ฟ้องคดี) จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการประกอบกิจการไม่ให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ รวมทั้งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการและห้ามประกอบกิจการดังกล่าว

           กรณีดังกล่าวยังคงถือว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ?

           ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบและติดตามให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เฉพาะแต่ในเรื่องที่ไม่ให้ประกอบกิจการซึ่งก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญเกี่ยวกับกลิ่นเหม็และเสียงดัง

            แต่เมื่อการตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการยังคงประกอบกิจการในเวลากลางคืนและไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญในเวลาดังกล่าว

           กรณีถือได้ว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่น (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการในเวลากลางคืนตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.. ๒๕๓๕

         นอกจากนี้ จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ศาลพบว่า อาคารที่ผู้ฟ้องคดีอาศัยอยู่มีบิดาที่ป่วยและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอาศัยอยู่ด้วย

          และจากการตรวจวัดกลิ่นของเจ้าหน้าที่สำนักอนามัยพบว่บ้านของผู้ฟ้องคดีมีค่าปริมาณความเข้มข้นของสารเอทิลเบนซินใกล้เคียงกับระดับความเข้มข้นต่ำสุดที่มนุษย์สามารถได้กลิ่น ประกอบกับกลิ่นของน้ำมันเบนซินเป็นสารก่อมะเร็ง หากสูดดมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

          จึงสมควรที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้กำกับดูแลการประกอบกิจการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อไม่ให้การประกอบกิจการดังกล่าวก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ฟ้องคดีและผู้อยู่อาศัยอื่น

           ดังนั้น จึงถือว่าผู้ประกอบการ ยังคงปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี สร้างความเดือดร้อนให้แกู่้ฟ้องคดี และถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.. ๒๕๓ กำหนดไว้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๘๘๙/๒๕๖๐)

           คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐว่า เมื่อกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจนั้นอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยการตรวจสอบแสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเพื่อประกอบการใช้อำนาจ และหากสั่งการใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่ก็ต้องติดตามตรวจสอบว่า ได้มีการปฏิบัติตามข้อสั่งการนั้นหรือไม่

             ดังเช่นคดีนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นสมควรที่จะติดตามและตรวจสอบสภาพแวดล้อม รวมทั้งสั่งการให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว และกำกับดูแลการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่ได้เคยอนุญาตไว้ว่า ได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขอย่างครบถ้วนหรือไม่

             และเมื่อพบว่ามีเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของใบอนุญาตหรือดำเนินกิจการที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ยิ่งสมควรที่จะต้องเฝ้าระวังและติดตามให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด รวมทั้งกำหนดมาตรการและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ความเดือดร้อนรำคาญนั้นหมดสิ้นไป

              ส่วนประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า ในเวลาที่นำคดีมาฟ้องต่อศาล ผู้นั้นจะต้องได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อำนาจในทางปกครองนั้นแล้ว หากยังไม่มีการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่ายังไม่มีข้อพิพาทที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีให้ศาลต้องพิพากษาหรือมีคำบังคับแต่อย่างใด

              ดังเช่นคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีคำขอให้ศาลเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว แม้ว่าการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ ถือเป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่งทางปกครอง แต่เมื่อในเวลาที่นำคดีมาฟ้องต่อศาลนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ได้ออกใบอนุญาตแต่อย่างใด

               คำขอเช่นนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีให้ศาลต้องพิพากษาเพิกถอนได้ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง () ประกอบมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง () แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง .. ๒๕๔๒

             เมื่อไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีตามคำขอดังกล่าว แม้ต่อมา เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการออกใบอนุญาตหลังจากผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลแล้ว คำขอลักษณะเช่นนี้ ศาลปกครองไม่มีอำนาจเพิกถอนหรือกำหนดให้หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาตดังกล่าวได้

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ