คอลัมนิสต์

“ปริญญา”  ประเมิน ศาล รธน. รับตีความ ม.44

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“ปริญญา เทวนฤมิตรกุล”  ประเมิน ศาล รธน. รับตีความ ม.44 มองอนาคตการเมือง เกิดขัดแย้งรอบใหม่

 

               หลังจากที่พรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยในปมอำนาจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาคิ (คสช.) และสิทธิของสมาชิกพรรคการเมือง ที่ถูกลบล้าง ตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่53/2560ที่แก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (...) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ..2560ในทัศนะของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์อย่าง“.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองคณบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”ซึ่งให้สัมภาษณ์พิเศษกับคมชัดลึกออนไลน์ มองว่า นี่เป็นทางเดียวที่พรรคการเมืองสามารถใช้สิทธิ์ดำเนินการ ต่อคำสั่ง หัวหน้า คสช. ที่สร้างผลกระทบและภาระเกินจำเป็นให้กับพรรคการเมือง อย่างไม่สร้างปัญหาให้สภาพการเมืองไทย

                “ประเด็นคำสั่งหัวหน้า คสช. อ่านเหตุผล2หน้าแรก เหมือนบอกว่าให้พรรคใหม่ไม่เสียเปรียบพรรคเก่า แต่ผลในทางปฏิบัติ คือ ทำให้พรรคใหม่มีความได้เปรียบ ขณะเดียวกันได้สร้างภาระให้กับพรรคการเมืองเก่า ต่อเรื่องสมาชิกพรรค ยิ่งพรรคไหนมีสมาชิกมากยิ่งมีภาระมาก และเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองต้องขวนขวายหากไม่อยากเสียสมาชิกของตนเอง หรือ ถูกรีเซตสมาชิกของพรรค”

               สำหรับทิศทางที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้วินิจฉัยนั้น “อ.ปริญญา” บอกว่าอยู่ที่ดุลยพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนตัวเห็นควรให้รับไว้พิจารณา เพื่อให้เกิดผลในเชิงประจักษ์ว่าขอบเขตของการใช้อำนาจหัวหน้าคสช. ตามมาตรา44ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ..2557ที่สิ้นผลไปแล้ว แต่ยังถูกยกมารับรองไว้ในมาตรา265ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นมีได้แค่ไหน

               หากไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน การใช้มาตรา44ไม่มีทางที่ศาลจะรับฟ้องได้ เพราะถูกรับรองด้วยความชอบและความถูกต้องตามกฎหมายและเป็นที่สุด แต่อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวสิ้นสภาพไปแล้ว แต่สถานะของมาตรา44ยังถูกยกมารับรองไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญควรรับเรื่องไว้ เพื่ออย่างน้อยจะเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญว่า มาตรา44ที่ถูกดึงมาใช้นั้นจะบังคับใช้ได้แค่ไหน”

               ขณะที่แนวทางของคำวินิจฉัย ทั้ง2ประเด็นสำคัญ ตามที่พรรคเพื่อไทย ยื่นเสนอนั้น ต่อประเด็นแรก ว่าด้วยความชอบของการใช้อำนาจมาตรา44ที่เป็นผลบังคับได้ตามรัฐธรรมนูญ2560หรือไม่“.ปริญญา”ให้ความเห็นว่า ผลที่จะเกิดขึ้น ไม่มีทางทำให้ คำสั่งคสช. ที่53กลายเป็นโมฆะหรือถูกลบล้างไป เพราะการใช้อำนาจถูกรับรองไว้ตามมาตรา265ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือการชี้ว่ามีปัญหาต่อหลักการของมาตราหนึ่งมาตราใดในรัฐธรรมนูญเท่านั้น

               ส่วนประเด็นสอง ว่าด้วยสิทธิของสมาชิกพรรคการเมืองที่ได้รับผลกระทบ สิ่งที่อาจถูกพิจารณา คือ ปัญหาที่อาจเกิดในขั้นตอนปฏิบัติ ระหว่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน คงไม่สามารถให้สมาชิกเก่าทุกคนทำเอกสารยืนยันว่าตัวเองมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างครบถ้วน เช่น กรณีคนเคยติดคุกแล้วพ้นโทษมากว่า10ปี จะนำหลักฐานที่ไหน หรือกรณีที่บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์จะใช้หลักฐานไหนยืนยันคุณสมบัติดังกล่าว

               การปฏิบัติที่ผ่านมา จะมีเอกสารฉบับหนึ่งเพื่อให้กรอกและยืนยันว่าตนเองมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วลงลายมือชื่อ ดังนั้นเรื่องนี้เป็นลำดับการปฏิบัติ หากศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเพื่ออุดช่องว่าง ย่อมทำได้ โดยคำนึงถึงการไม่สร้างภาระเกินจำเป็นกับสมาชิกพรรคเก่า จนเป็นความเหลื่อมล้ำหรือขัดกับความเสมอภาคระหว่างสมาชิกใหม่ ที่จะสังกัดกับพรรคการเมืองเกิดใหม่ กับสมาชิกพรรคที่สังกัดกับพรรคที่จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้ว ดังนั้นแนวทางของศาลอาจใช้ดุลยพินิจเพื่อวินิจฉัยที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ2560”

               ขณะที่ทางที่ ศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่รับคำร้องนั้น..... ความเห็นของ “นักวิชาการด้านนิติศาสตร์” ประเมินว่าไม่มีทางเป็นไปได้ แต่หากศาลไม่กล้าเตะเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็มีทางเลือกว่าจะวินิจฉัยในประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็ได้

               อีกประเด็นสำคัญ“.ปริญญา”ว่าด้วยผลพวงของคำสั่ง คสช.ที่53ต่อผลกระทบทางการเมือง เขาชี้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมองให้ออก เพราะคำสั่งนี้มีผลโดยตรงต่อการรีเซตสมาชิกพรรคการเมือง

               เพราะ บุคคลที่จะได้รับผลกระทบ อดีต ส.. ที่ปัจจุบันมีพรรคสังกัด หากไม่เปิดช่องให้ลาออกจากรพรรคเก่า จะไม่สามารถไปสังกัดพรรคใหม่ ย้ายค่าย หรือ ย้ายพรรคได้ และนั่นเป็นผลที่เชื่อมโยงกับปรากฎการณ์ของการกวาด ส.. เข้าสภา ของ พรรคที่สนับสนุน ทหาร หรือ สนับสนุน ให้พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง

               หากมองระบบเลือกตั้งที่ออกแบบในรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้ความสำคัญกับ “ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบเขต” เพื่อนำคะแนนที่ได้ ไปคำนวณให้ได้ ส..บัญชีรายชื่ออีกทอดหนึ่ง เท่ากับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ ถูกเน้นไปที่ตัวบุคคล จึงกังวลว่า การแย่งชิง ส.. เก่าจะรุนแรง

               ขณะนี้ พล..ประยุทธ์ บอกว่าตนเองคือนักการเมืองที่เป็นอดีตทหาร และไม่ปิดกั้นการลงสู่เวทีการเมืองหรือสนับสนุนให้เป็นนายกฯ ดังนั้นสิ่งที่พอประเมินได้ คือ ปรากฎการณ์เสียง ส..ที่จะสนับสนุนให้ทำงานในสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างราบรื่น ไม่เฉพาะเสียงหนุนให้เป็นนายกฯ เท่านั้น แต่นี่คือการประเมินเท่านั้น เพราะยังไม่รู้ว่า พล..ประยุทธ์ จะลงสู่เวทีการเมือง หรือมีพรรคของทหาร หรือพรรคที่เชียร์พล..ประยุทธ์ จริงหรือไม่ แต่หากเป็นจริง นี่คือสิ่งที่จะปูทางเพื่อไปสู่จุดนั้น”

               กับผลที่จะเกิดขึ้นต่อ หากสิ่งที่วิเคราะห์ในมุมการเมืองที่พ่วงกับการออกกฎหมาย “นักวิชาการมธ.” ส่งเสียงติงเบาๆ ไปยัง คสช. ว่า ภาพการเมืองที่อาจเกิดขึ้น คือ การแบ่งข้างครั้งใหม่ ระหว่าง ฝ่ายที่สนับสนุนทหาร และ ฝ่ายที่ไม่สนับสนุนทหาร และอาจทำให้เกิดความแตกแยกครั้งใหม่ โดย คสช. เป็นคู่ขัดแย้ง แทนการมีบทบาทเพื่อสร้างความปรองดอง

               อย่าทำในสิ่งที่จะกลายเป็นแรงกดดันและแรงขับที่กระทบต่อ รัฐบาล คสช. เพราะในช่วงที่เป็นขาลงของรัฐบาล สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเขาไม่อยากเห็นการลุกฮือ การชุมนุมของประชาชนเหมือนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อปี2535ดังนั้นสิ่งที่ คสช. ควรตระหนัก คือ การกลับสู่ประชาธิปไตยอีกครั้งแบบไม่ล้มเหลวซ้ำ และทำให้การยึดอำนาจ เมื่อเดือนพฤษภาคม2557เป็นการยึดอำนาจครั้งสุดท้าย”

 

โดย ขนิษฐา เทพจร  คมชัดลึกออนไลน์

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ