คอลัมนิสต์

สด! สายคิม หลังม่านนิวเคลียร์ อยู่กันอย่างไร?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกาหลีเหนือ ที่เรารู้ว่าเป็นเหมือนดินแดนสนธยา แต่เมื่อมีคนไทยกลุ่มหนึ่ง เดินทางไปยังกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของที่นั่น ก็พบว่าเป็นแบบนี้!!

          สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี ยังเต็มไปข่าวสารจาก “สงครามน้ำลาย” ระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์ กับประธานคิมจองอึน ขณะที่ผู้นำทั่วโลกล้วนอยากเห็นการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีด้วยวิธีทางการทูต

          ข่าวสารจากโลกตะวันตก ทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นดินแดนเผด็จการล้าหลัง ประชาชนไม่มีเสรีภาพ ปัญญาชนถูกล้างสมอง และคนชนบทมีความเป็นอยู่ยากลำบาก

สด! สายคิม  หลังม่านนิวเคลียร์  อยู่กันอย่างไร?

          เกาหลีเหนือ จึงเป็นดินแดนสนธยาของคนทั่วไป แต่เมื่อวันที่ 6-13 ตุลาคม 2560 ได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่ง เดินทางไปยังกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

          สด! สายคิม  หลังม่านนิวเคลียร์  อยู่กันอย่างไร?

       “ปรีดา ข้าวบ่อ” บรรณาธิการนิตยสารทางอีศาน เป็น 1 ใน 8 ชีวิตที่ร่วมขบวนแสวงหาสัจจะที่เปียงยาง ได้เขียนบันทึกสั้นๆ ไว้ในเฟซบุ๊คปรีดา ข้าวบ่อ ว่า “สายแนนราษฎรไทย-ชาวเกาหลีเหนือ เส้นนี้ โยงน้าวถึงกันตั้งแต่ พ.ศ.2524 เมื่อ อ.นิพนธ์ คันธเสรี แห่งคณะสังคมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรฯ และคณะ เดินทางไปยังแผ่นดินที่ผู้นำสหรัฐฯ วางหัวกะโหลกกระดูกไขว้สีแดงไว้บนแผนที่โลก หลังจากนั้นได้เกิดกลุ่มศึกษา “จูเช่ไทย” โดยมี อ.ทรงจิต พูนลาภ เป็นแกนนำสานต่องานเกาหลีเหนือ.."

          ตลอดเวลา 8 วัน 7 คืน คณะกลุ่มศึกษา “จูเช่ไทย” พักที่ PYONGYANG KORYO HOTEL นอกจากเป็นที่กินที่นอนแล้วยังใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงหลักคิดด้านปรัชญา สังคมศาสตร์ การชี้นำ จูเช่ และการเมืองซอนกุน

สด! สายคิม  หลังม่านนิวเคลียร์  อยู่กันอย่างไร?

          มีอยู่วันหนึ่ง คณะกลุ่มศึกษาจูเช่ไทย ได้เดินทางไปชมวังเยาวชน “ปรีดา ข้าวบ่อ” ได้บันทึกไว้ว่า

          "วังเยาวชน

          เด็กทรงคุณค่า

          เด็กคืออนาคต

          เด็กดุจดั่งดอกบัวกำลังเบ่งบาน

          เด็กต้องเรียนรู้โลกและต้องรู้วิทยาศาสตร์

          สำหรับเด็ก ๆ แล้วไม่มีคำว่าประหยัดเด็กสำคัญที่สุด...

สด! สายคิม  หลังม่านนิวเคลียร์  อยู่กันอย่างไร?

 

สด! สายคิม  หลังม่านนิวเคลียร์  อยู่กันอย่างไร?

          บ่ายจรดค่ำวันหนึ่งคณะเราได้เยี่ยมชม “วังเยาวชน” ภายในกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งสถาปัตยกรรมด้านหน้าออกแบบให้เหมือนอ้อมอกที่รอโอบกอดเด็กๆ ให้อบอุ่นตัวตึกแบ่งเป็นสองซีก ซีกวิทยาศาสตร์ กับซีกศิลปะ รวมการกีฬาด้วย และแบ่งซอยออกเป็น 150 ห้องเด็ก ๆ จะมาที่นี่ด้วยความสมัครใจวันละประมาณห้าพันคน และเลือกเรียนตามชอบขอพาชมการตบแต่งอาคาร ชมห้องเรียนบางห้อง และจบด้วยดูการแสดงที่สนุก น่ารัก ของเด็ก ๆ นะครับ"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ