คอลัมนิสต์

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ก่อนถึงวันพิพากษา "คดีจำนำข้าว" เราพาสำรวจโดยรอบศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่ง ณ วันนั้นทุกสายตาจะจับจ้องไปที่จุดจุดเดียว

อีกไม่กี่ ชม. ก็จะถึงวันที่ 25 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้กำรงตำแหน่งทางการเมือง จะอ่านคำพิพากษา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจำนำข้าว ซึ่งถือได้ว่าเป็น บทสรุปของคดีใหญ่ที่มีความยืดเยื้ออย่างยาวนาน และเป็นวันชี้ชะตาทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงด้วย สำหรับประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดถึงมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือการรักษาความปลอดภัย และการรับมือมวลชนที่จะมาเป็นจำนวนมากในวันดังกล่าว ซึ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ใช้แผน “กรกฎ 52” จัดกำลังรับมือกับฝูงชนในวันดังกล่าว วันนี้เราจึงขอพาผู้อ่านสำรวจพื้นที่ศาลฎีกา ก่อนที่จะถึงวันนั้นกัน

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

สำหรับ “ศาลฎีกา” นั้น จะตั้งอยู่ในศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ อาคาร A โดยทางเข้าจะอยู่ทางด้านขวาของอาคาร หากเข้าไปใกล้ๆจะเห็นประตูกระจกเด่นชัด และประตูนั้นเองเป็นทางเข้าออกของคู่ความของคดีเท่านั้น โดยปกติที่มีคดีสำคัญๆ และมวลชนให้ความสนใจ ทางเจ้าหน้าที่จำนำแผงมากั้นบริเวณหน้าประตู และนำเจ้าหน้าที่มาตรึงกำลังเอาไว้ เพื่อรักษาความปลอดภัย อย่างที่เราเห็นได้จากเหตุการณ์ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มารับฟังการไต่สวนพยานคดีจำนำข้าวอย่างที่ผ่านๆมา โดยมวลชนจะยืนอยู่หลังแผงกั้น สามารถเห็นและมอบดอกไม้ให้อดีตนายกฯ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

    ถัดจากประตูทางเข้าศาลฎีกา ไม่กี่เมตรจะเป็นประตูส่งของขนาดใหญ่ ที่ถูกปิดมิดชิด โดยพื้นที่นั้นเองจะเป็นที่จอดรถของกรมราชทัณฑ์ ในวันที่ศาลมีการอ่านคำพิพากษา เพื่อควบคุมผู้ต้องหาหากมีคำพิพากษาออกมาว่าจำเลยต้องโทษจำคุกทันที โดยรถจะมีอยู่สองประเภทคือรถตู้ กับรถลูกกรงที่ควบคุมผู้ต้องหา ส่วนของประตูที่บริเวณลานจอดรถชั้น 1 และ 2 นั้นเป็นทางเข้า - ออก ของเจ้าหน้าที่และผู้พิพากษาศาลฎีกา และทางเข้าในอาคาร A 

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

    เบื้องต้นคือมาตรการที่ใช้ในช่วงที่ผ่านมา แต่สำหรับในวันที่ 25 ส.ค. อย่างที่กล่าวข้างต้นไปว่ามีการใช้แผน “กรกฎ 52” นั่นหมายความว่าการรักษาความปลอดภัยจะต้องเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งทางศาลฎีกาได้กำหนดพื้นที่อำนาจของศาล 15,995 ตร.ม. โดยไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือไม่มีบัตรเข้าในพื้นที่เด็ดขาด แม้แต่สื่อมวลชนเองก็ต้องมีใบอนุญาตจากทางศาลถึงจะได้เข้าในพื้นที่เช่นกัน ทั้งนี้จะมีการวางแผงกั้นบริเวณโดยรอบ พร้อมติดไวนิลกว่า 400 แผ่น เพื่อระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ศาล และระบุโทษด้วยว่าจะผิดกฎหมาย และรับโทษอะไรบ้างหากละเมิดอำนาจของศาล พร้อมกันนี้ยังได้ตั้งจุดคัดกรองตรวจอย่างเข้มงวดเพื่อตรวจคนเข้าออกอีกด้วย นอกจานี้ยังมีการติดกล้องวงจรปิดเพิ่มอีก 40 ตัว จากที่ของเดิมนั้น ถ้าสังเกตด้วยตาเปล่าก็จะเห็นชัดว่ามีอยู่รอบบริเวณอาคาร A รวมถึงทางเดินเท้าด้วย (สังเกตได้ที่ กรอบสีเหลืองในแผนที่)

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

    นอกจากนี้บริเวณที่จอดรถ ยังมีการขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ทั่วไป จอดรถในบริเวณศาลปกครองแทน โดยที่จอดรถที่ศาลฎีกาจะจอดได้เฉพาะรถโอบีของสถานีข่าว รถเจ้าหน้าที่ตำรวจ รถของผู้พิพากษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนรถที่ขนส่งมวลชนมาให้กำลังใจต้องไปจอดที่เมืองทองธานีแทน ส่วนถนนที่ใช้สัญจรไปมาหน้าศาลฎีกานั้น ก็ถูกปิดเช่นกัน โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปยังศูนย์ราชการอาคาร B จะต้องใช้ทางเข้า ซอยแจ้งวัฒนะ 7 และ 9 แทน ซึ่งอยู่ข้างศาลปกครอง และกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
 
    จะเห็นได้ว่าพื้นที่ถูกวางไว้อย่างเข้มงวด ประชาชนทั่วๆไป ไม่สามารถเข้าไปใกล้ชิดอดีตนายกฯ หรือมอบดอกไม้แบบเมื่อก่อนได้ แต่ทางศาลฎีกาได้จัดพื้นที่ให้มวลชนอยู่ โดยจะอยู่ที่สวนข้างหน้า ในพื้นที่ประมาณ 1,600 ตร.ม. ซึ่งทางเจ้าหน้าที่คาดว่าน่าจะจุคนได้ประมาณ 4,800 คน เมื่อเทียบกับอัตราส่วน 1 ตร.ม. ยืนได้ 3 คน แต่ในความเป็นจริง อาจมีการปูเสื่อนั่งรอ ทำให้มีการกินพื้นที่ไปอีก จำนวนคนที่มาได้ก็จะลดน้อยลง โดยพื้นที่ของมวลชนนั้นจะหยุดอยู่แค่เยื้องๆกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เท่านั้น ซึ่งรถรับส่ง สามารถส่งมวลชนได้ที่จุดนี้เท่านั้น ซึ่งการรักษาความปลอดภัยนั้น (ดูได้ที่กรอบสีแดง) ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าพื้นที่ ที่ทางศาลตีกรอบให้ทำให้พื้นที่รองรับวลชนได้น้อยลง จากแต่เดิมสามารถยืนที่สวนด้านหน้า รวมถึงเข้าไปยังบริเวณหน้าศาลฎีกาได้ อาจทำให้พื้นที่ไม่เพียวพอต่อการรองรับประชาชนที่จะเดินทางมาก็ได้

สำรวจพื้นที่รอบศาลฎีกา ก่อนวันพิพากษา “ยิ่งลักษณ์”

    ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยบริเวณที่รวมตัวของมวลชนนั้น นอกจากมีกองร้อยตำรวจควบคุมฝูงชน คอยดูแลแล้ว ยังมีตำรวจฝ่ายสือบสวนนอกเครื่องแบบคอยแฝงตัวกับมวลชน เพื่อป้องกันเหตุร้ายจากผู้ที่ต้องการสร้างสถานการณ์อีกด้วย

    แม้ว่าทาง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะพยายามพูดเสมอว่า การรักษาความปลอดภัยจะทำแบบเดิม ไม่เพิ่มระดับ อีกทั้งยังกล่าวด้วยว่ายังไม่พบกลุ่มมือที่สามจ้องสร้างสถานการณ์แต่จากแผนคร่าวๆที่ออกมาตามหน้าสื่อก็เห็นแล้วว่า มีการจัดเต็มป้องกันเหตุที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิดได้ อย่างไรก็ตาม ใครที่ติดตามคดีจำนำข้าว ไม่ควรพลาดการอ่านคำพิพากษาในวันที่ 25 ส.ค. ซึ่งหลายๆฝ่ายต่างมองว่า อาจจะเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ทางการเมืองอีกวันอย่างแน่นอน

-----------

จักรวาล ส่าเหล่ทู

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ