คอลัมนิสต์

เปิดร่างกฎเหล็ก 4 ชั่วโคตร : ใครบ้าง -ห้ามทำอะไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดร่าง พ.รบ.การกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ. 4 ชั่วโคตร มาดูกันว่า ร่างทีเข้า สนช. เขียนอะไร ห้ามใคร และ ห้ามทำอะไรบ้าง

         ตามที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ร่าง “พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำผิดเกี่ยวกับการขัดระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ....” ล่าสุด มีการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 17 ส.ค. ที่จะถึงนี้

 

       ทั้งนี้ร่างกฎหมายที่เข้าสู่ สนช. มีการระบุหลักการและเหตุผลว่า การบริหารงานของรัฐต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส เปิดเผยและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน จึงสมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ เพื่อเป็นการขจัดการทุจริจและประพฤติมิชอบ

 

        โดยเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ ที่คนจับตาดู คือ นิยามของคำว่า “ญาติ”  ของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งต้องถูกบังคับใช้ หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้  จนแรกเริ่มเป็น ที่มาของคำว่า  “7 ชั่วโคตร” แต่ต่อมาก็ได้ปรับลดระดับลง  ซึ่งร่างฉบับปัจจุบันเหลือเพียง 4 ชั้น ประกอบด้วย  1บุพการี  2.เจ้าตัว -คู่สมรส  3.พี่น้อง ทั้ง ร่วม และ ต่างมารดา   4.บุตรและบุตรบุญธรรม 

 

         ทั้งนี้ในมาตรา 3  ได้นิยาม ต่างๆดังนี้  ในชั้นคู่สมรส ได้กำหนดว่าให้หมายความถึงคู่สมรสอันจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายและ ผู้ที่อยู่กินฉันสามีภริยาด้วย

        ส่วน “ญาติ” หมายถึง  1.บุพการี 2.ผู้สืบสันดาน 3.คู่สมรสของบุตร 4.พี่น้องร่วมบิดามารดา 5.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา 6.บุตรบุญธรรม หรือผู้รับบุตรบุญธรรม ของเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ยังมีการระบุด้วยว่า “ไม่ว่าจะมีความเกี่ยวพันโดยทางพฤตินัย หรือ นิตินัย”

 

        นอกจากนี้ที่เป็นมิติใหม่ของกฎหมายฉบับนี้คือมีการกำหนดนิยามของคำว่า “ประโยชน์อื่นใดอันคำนวนเป็นเงิน”  ทำให้มีความชัดเจนว่า แบบไหน ซึ่งเป็นผลประโยชน์อันมิควรได้  โดยกำหนดดังนี้ ง 1.การปลดหนี้หรือลดหนี้ให้เปล่า 2.การให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย 3. การเข้าค้ำประกัน โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม 4.การให้ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทน 5.การขายหรือการให้เช่าซื้อทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริงตามที่ปรากฏในท้องตลาด 6.การซื้อหรือการเช่าซื้อทรัพย์สินสูงกว่ามูลค่าที่เป็นจริงตามที่ปรากฏในท้องตลาด 7.การให้ใช้สถานที่ ยานพาหนะ หรือทรัพย์สิน โดยไม่คิดค่าเช่า หรือค่าบริการ หรือคิดค่าเช่าหรือค่าบริการน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า 8.การให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ หรือคิดค่าบริการน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า 9.การให้ส่วนลดในสินค้าหรือทรัพย์สินที่จำหน่าย โดยให้ส่วนลดมากกว่าที่ให้แก่บุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า 10.การให้เดินทาง หรือขนส่งบุคคลหรือสิ่งของโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า 11.การจัดเลี้ยงหรือจัดมหรสพหรือการบันเทิงอื่นให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า 12.การให้บริการวิชาชีพอิสระ เช่นทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิกวิศวกร กฎหมาย หรือบัญชี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดแก่บุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า 13.การให้รางวัล 14.การชำระเงินล่วงหน้าหรือการคืนเงินให้ในภายหลัง 15.การอื่นใดซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้นั้นได้รับประโยชน์อันอาจคำนวนเป็นเงินได้ หรือไม่ต้องออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่ ป.ป.ช. ออกประกาศกำหนด

 

        ทั้งนี้ ใน มาตรา 5 กำหนด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนได้่ส่วนเสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้มีการะบุถึงการกระทำต่างๆอันนับเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนี้ 

 

         1.การกำหนดนโยบายหรือเสนอให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย หรือร่างกฎหมายซึ่งเอื้อประโยชน์เป็นการเฉพาะต่อกิจการที่ตน คู่สมรส บุตร หรือบิดามารดา มีส่วนได้เสียเกินกว่าส่วนได้เสียตามปกติที่บุคคลทั่วไปมีอยู่ ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล การถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ถือเป็นการมีส่วนได้ส่วนเสียเกินกว่าปกติ 

 

         2.การใช้ขอ้มูลภายในของรัฐที่เป็นความลับอยู่ซึ่งเจ้าตัวได้รับรู้จากการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติหน้าที หรือการใช้ตำแหน่งอำนาจหน้าที่โดยทุจริต 

        3.การริเริ่ม เสนอจัดทำหรืออนุมัติโครงกรของรัฐโดยทุจริต หรือเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม 

         4.การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานที่ตนสังกัดหรือตนปฏิบัติหน้าที่อยู่ ไปเพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้ัอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎ หรือทรัพย์สินนั้นมีราคาเล็กน้อย    ซึ่งข้อนี้นี่เองนำมาซึ่งข้อสงสัยว่าการใช้สิ่งของในสำนักงานจะกลายเป็นความผิดหรือไม่เช่น การชาร์จโทรศัพท์ หรือ ใช้ซองจดหมาย

 

         ทำให้มีการกำหนด เพิ่มเติมในวรรคท้ายว่า    หลังจากกฎหมายประกาศใช้ให้  ครม. กรรมการข้ราชการรัฐสภา คณะกรรมกาบริหารศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ จัดให้มีระเบียบ ว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สิน โดยมีมาตรฐานไม่ตำกว่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดในเรื่องทรัพย์สินเหล่านี้ ยานพาหนะ,เครื่องมือสื่อสาร ,อาคารสถานที่,วัสดุอัปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน สิ่งสาธารณูปโภค

  

         5.การใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยอิสระในการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งดำรงตำแหน่งอื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐนั้นกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป 

         (1)อนุมัติ อนุญาต รับจดทะเบียน หรือออกคำสั่งทางปกครอง อื่นที่ให้สิทธิประโยชน์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้

          (2)ให้สัมปทาน ทำสัญญา หรือนิติกรรมอันเป็นการให้ประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด 

         (3)บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน เลื่อนขั้นเงินเดือน โอน ย้าย ดำเนินการทางวินัย หรือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใยบังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของเจ้าหนย้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งอื่นดังกล่าวพ้่นจากตำแหน่ง หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ 

         (4)ไม่แจ้งความหรือไม่ร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีอาญา 

         (5)ไม่ฟ้องคดี ไม่อุทธรณ์ ฎีกา ไม่ดำเนินคดี หรือไม่ดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับคดีหรือให้ถอนคำร้องทุกข์ ให้ถอนฟ้อง ให้ถอนอุทธรณ์ หรือให้ถอนฎีกา ไม่ว่าจะเป็นคดีประเภทใด 

         (6)ดำเนินกระบวนการพิจารณา ทำคำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำชี้ขาด (7)ไม่บังคับทางปกครอง ไม่บังคับคดี หรือไม่บังคับตามคำชี้ขาด โดยข้อห้ามนี้ให้บังคับใช้แก่คู่สมรสหรือบุตรของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย และหากเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำของคู่สมรสหรือบุตร หรือรู้แล้วแต่เพิกเฉยไม่แก้ไข ให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นรับโทษเช่นเดียวกับคู่สมรสหรือบุตรด้วย

   

         ส่วน มาตรา 7  ได้กำหนดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ขอรัฐรับของขวัญของที่ระลึก เงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อั่นอันคำนวณเป็นเงินได้  เว้นแต่จะเป็นสิ่งที่อาจรับได้ตามกฎหมาย  หรือตามประเพณีนิยม  แต่หากรับในสิ่งที่ไม่ไม่มีสิทธิได้รับ  ต้องรายงานและส่งมอบให้หน่วยงานที่ตนเองสังกัด ในโอกาสแรกที่กระทำได้ แต่ไม่เกิน 30 วัน และให้สิ่งนั้นตกเป็นองหน่วยงานรัฐ

 

         สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ยังมีข้อห้าม คือ มาตรา 9 ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ้นตำแหน่งไม่ถึง 2 ปี เป็นกรรมการที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงาน ลูกจ้าง ผู้รับจ้างหรือดำรงตำแหน่งอื่น ในธุรกิจของเอกชนที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของตนในการกำกับดูแล

 

 

         ทั้งนี้โทษสูงสุดตามกฎหมายฉบับนี้อยู่ที่จำคุกไม่เกิน 5  ปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำต้องระวางโทษสองเท่า

-------

อรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ