คอลัมนิสต์

ปฏิรูปการศึกษา ทำไม? ต้องฆ่าคน ?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อ“บูรณาการ”เป็นเพียงวาทกรรมทางการศึกษาหลังการปฏิรูปการศึกษาภูมิภาคเกิดความแตกแยกในวังจันทร์ฯ..ติดตามเรื่องนี้กับ“กมลทิพย์ ใบเงิน”เวบไซด์คมชัดลึก

          ใคร?เป็นผู้สร้างความแตกแยกในวังจันทร์ฯเมื่อ"สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ" หรือ สป.ศธ.หน่วยงานที่ทำคลอด“ศึกษาธิการภาค” หรือศธภ.เป็นซี10 และ“ศึกษาธิการจังหวัด” หรือศธจ.เป็นซี 9 โดย"ไม่ต้องทำผลงานทางวิชาการ"

          แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ “ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา” หรือผอ.สพป. และ “ผู้อำนวยการสำนักงานเขตมัธยมศึกษา” หรือ ผอ.สพม.ในสังกัด"สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" หรือ สพฐ.ที่มีกรอบงานตามมาตรฐานตำแหน่งครบ สะสมประสบการณ์ระดับผู้บริหารเกือบ 14 ปี แถมยังต้อง"ทำผลงานทางวิชาการ”อีกด้วย

         ปฏิการศึกษาในอดีต ต่อเนื่องจนถึงยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ส่งผลกระทบต่อฝ่ายปฏิบัติการในระดับภูมิภาค อย่างไรบ้าง

ปฏิรูปการศึกษา ทำไม? ต้องฆ่าคน ?

นายพีระพงษ์  สุรเสน ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 7 แชร์เพลทคัดค้านปฏิรูปการศึกษาระดับภูมิภาค

      "นายธนชน มุทาพร"ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ชับภูมิ เขต 1(ผอ.สพป.ชย.1) พร้อมเปิดประสบการณ์ ชนิดหมดเปลือกในฐานะฝ่ายปฏิบัติการในระดับภูมิภาค ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิการศึกษาในอดีตต่อเนื่องจนถึงยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)

       “ผมรับราชการมาตั้งแต่ปี 2519 ผ่านการปฏิรูปการศึกษามา 3 ครั้ง ครั้งแยกเป็นการย้ายสังกัดจาก“องค์การบริหารส่วนจังหวัด” มาสังกัด “สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ หรือ สปช.” ครั้งนี้เหมือน“ยกระดับวิชาชีพครูประชาบาล”ที่ต่ำต้อยในความรู้สึกและชีวิตจริงให้เท่าเทียมกับข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ”

 

ปฏิรูปการศึกษา ทำไม? ต้องฆ่าคน ?

    คุณครูจากชมรมครูฯมุกดาหารสวมเสื้อเชิงสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านปฏิรูปการศึกษาระดับภูมิภาค...ข้อความว่า"หากคิดดีทำดีนี้ศรัทธา หากทำร้ายการศึกษาข้าไม่ยอม"

        องค์กรครูเข้มแข็งมาก กฎหมายที่ออกมาต้องยกเว้น ไม่ให้ข้าราชการฝ่ายปกครองสามารถกดขี่ข่มเหงครูได้อีก การบริหารงานเป็นอำนาจคู่ มีคณะกรรมการระดับอำเภอ จังหวัด และระดับชาติ 

         ปัญหามีไหม มีเหมือนกัน แต่ผู้บริหารสมัยนั้นรู้จักแยกแยะว่าเป็น“เรื่องของคน”หรือ“ระบบ” คนผิดก็ถูกลงโทษ ถึงไล่ออก ปลดออก ก็มาก การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่มีการเสียเลือดเนื้อมากนัก 

         ครั้งที่สอง ผมดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) มีนักปฏิรูปการศึกษาต้องการนำรูปแบบกระจายอำนาจแบบเขตพื้นที่การศึกษามาใช้ มีความขัดแย้งเหมือนกัน คนราชการที่ถูกฆ่าจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นผู้บริหารระดับอำเภอ และ จังหวัดบางส่วน หลายคนกลับไปเป็นผู้บริหารโรงเรียน แต่ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลให้เป็น “รอง ผอ.สพท.” พอมีงานทำและพอมีเกียรติในสังคม  

         ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษา ครั้งที่สอง มีการเตรียมตัวล่วงหน้าค่อนข้างนาน ไม่มี“ลับลวงพลาง” การเข้าสู่ตำแหน่งมีการคัดเลือกใน“ระบบคุณธรรม” ขวัญกำลังใจฟื้นฟูขึ้นตามลำดับ 

         ปัญหามีไหม มีเหมือนกัน แต่เป็นเพียงส่วนน้อย บางปัญหาเกิดจากหน่วยเหนือสร้างให้ แต่คราวนี้โชคร้าย!! เพราะผู้มีอำนาจกลับไปพบแต่เรื่องเลว ๆ และเก็บเอาคนเลวอันน้อยนิด มาเหมารวมคนทั้งระบบ ที่เขา"ดีมีคุณธรรม มาปฏิรูปการศึกษาครั้งที่สาม"

         การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่สาม เป็นครั้งที่ “ใช้อำนาจมากกว่าปัญญา” ไปเอาระบบที่เลิกใช้เมื่อ 60 ปีที่แล้วมาใช้ใหม่ ทำลายระบบ“เขตพื้นที่การศึกษา”อย่างสิ้นเชิง 

         วิธีการคือให้“ผู้อำนวยการสำนักงานเขคพื้นที่การศึกษา”(ผอ.สพท.) ส่วนหนึ่ง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น“ศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)” ออกคำสั่งยึดอำนาจ “ผอ.สพท.เดิม”ไปเป็นของ“ศธจ.”โดยขัดต่อหลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมทั้งโยกย้ายกำลังพลจาก“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา”หรือ“สพท.”ไปอยู่ในหน่วยงานใหม่ โดยให้สัญญาว่า“จะมีชีวิตที่ดีขึ้น”

ปฏิรูปการศึกษา ทำไม? ต้องฆ่าคน ?

          รวมทั้ง“ครุภัณฑ์สำนักงาน”ก็หยิบลืมไปใช้ แบบ“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา”หมดหนทางต่อสู้ วิญญูชนลองคิดไตร่ตรองดู สภาพจิตใจคนเป็น “ผอ.สพท.”ที่ไม่เหลืออำนาจใดๆที่จะบริหารงานให้สำเร็จได้ จะมีใจร่วมมือกับศึกษาธิการจังหวัดกี่มากน้อย กลับต้องระมัดระวัง และ ระแวงว่าศึกษาธิการจังหวัดจะมาตีท้ายครัววันไหนอีก

         ไม่เพียงเท่านั้น“ศึกษาธิการจังหวัด”ที่ถูกสถาปนาไปจาก“ผอ.สพท.เดิม”เป็นส่วนใหญ่ จะเก่งกล้าสามารถกว่าตอนเป็น “ผอ.สพท.”อย่างมีนัยสำคัญระดับไหน มีความน่านับถือแค่ไหน

         อีกหนึ่งปม เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่เพราะผู้ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามแบแผนของทางราชการ และอาจเป็นการกระทำการข้ามขั้นสายบังคับบัญชา ที่สำคัญอาจขัดพ.ร.บ.ระเบียยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา69

 

ปฏิรูปการศึกษา ทำไม? ต้องฆ่าคน ?

         นี่คือตัวอย่างของการใช้อำนาจ ศธจ. ที่ไม่ถูกต้อง เพราะอำนาจให้ช่วยราชการ เป็นอำนาจของ“ผอ.เขตพื้นที่” ตามมาตรา 69 แต่ ศธจ.ก็คิดว่าเป็นอำนาจของตนเอง

         ร้ายแรงไปกว่านั้น ผู้อำนวยการโรงเรียน รายงานไปที่ ศธจ.โดยตรง ซึ่งเขาเข้าใจว่า ศธจ, คือผู้บังคับบัญชาของเขา ความจริงแล้ว “ไม่ใช่”    นี่คือ"กับดัก"แห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ด้วยเหตุให้ ศธจ.ใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา ตามมาตรา 53(3)(4)และจะมีมาอีกเรื่อยๆ สุดท้ายจะก่อให้เกิดความ“ชัดแย้ง” ร้าวฉาน!! นำไปสู่ "ขาดความร่วมมือ" ความเสียหายก็จะเกิดกับ “คุณภาพการศึกษา” โดยไม่ได้ตั้งใจ

         นี่คือคำถามจาก“ซากศพ”ที่เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่สาม และเชื่อว่าเวลาผ่านไปสักระยะ คงแยกไม่ออกระหว่าง“ศึกษาธิการจังหวัด”และ “ผอ.สพท.”ว่าใคร“เป็นผี”ใคร“เป็นคน”

          อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

       วอน“บิ๊กตู่”ยกเลิกคำสั่ง คสช. ข้อ13

         ทนไม่ไหว! ย้าย "ผอ.ร.ร.จิ๋ว" คุม "ร.ร.ขนาดใหญ่"

   

                    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ