คอลัมนิสต์

ขั้นตอนการป้องกันปัญหา“แป๊ะเจิ๊ยะ”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขั้นตอนการป้องกันปัญหา“แป๊ะเจิ๊ยะ”และการคัดสรรเด็กเข้าเรียน โดย "พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี "ประธานเครือข่ายพ่อแม่ลูกเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

          ถ้ายึดตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษา เด็กไทยทุกคนจะต้องได้รับสิทธิเรียนฟรี มีคุณภาพ จากหน่วยงานของรัฐถึงตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นม.6

           เพราะฉะนั้น "โรงเรียนรัฐ" ทุกโรงเรียนจะต้องรับเด็กเข้าชั้นเรียนโดย"ไม่ต้องสอบผ่าน" เพราะเป็นตามรัฐธรรมนูญ 2560 และ พระราชบัญญัติการศึกษา 2542  ได้ตราไว้ โดยไม่ต้องมีเกณฑ์การคัดสรรเด็กในแต่ละโรงเรียนของรัฐ

          ซึ่งเด็กจะต้องมีพื้นที่อยู่แถวนั้น(ใกล้โรงเรียนรัฐ)  ในรัศมีเท่าไหร่ และ อยู่กี่ปี ถึงจะเขามีสิทธิ์เข้าสมัครเรียนได้ หากมีจำนวนเด็กเกินการรับของโรงเรียน ควรจะมีการ "จับฉลาก ไม่ต้องสอบ" เพราะหากใช้วิธีสอบทั้งหมดก็จะเป็นการส่งเสริมการกวดวิชาให้เฟื่องฟูทุกชั้นเรียน

          ถ้ามีการสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียน(ซึ่งจริงๆแล้วทางโรงเรียนรัฐก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะคัดเลือก เด็กเก่า ออก แต่มีหน้าที่ที่จะต้องรับเด็กเก่าเข้าโรงเรียนเดิมทุกคน

          หากจะรับเด็กใหม่แบบสอบเข้า ขั้นตอนการป้องกันปัญหาคือ

          1.ทุกโรงเรียนก็ต้องมีการประกาศรายชื่อของนักเรียนทุกคน ก่อนสอบ

          2.หลังสอบเสร็จและมีรายละเอียดคะแนนสอบตามมาด้วย ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้ทั้หมด และที่สำรอง รวมทั้งคะแนนที่ได้ ของแต่ละคน

         3.ระดับขั้นสุดท้าย คือการประกาศรายชื่อเด็กที่เข้าเรียนจริงในแต่ละชั้นปีของแต่ละโรงเรียน

          ส่วนเรื่อง"สัดส่วน" ของผู้รับอุปการะคุณนั้น จะต้องมีการจัดตั้ง"ทีมงาน"เพื่อมาทำงานขึ้นมา เพื่อที่จะกำหนด "หลักเกณฑ์" และ "แนวทางในการรับเด็กโควต้า" หรือ "ผู้อุปการะคุณ" ซึ่ง "โควต้า" นั้นก็จัดสรร ตามพื้นที่ หรือ ความสามารถของเด็กเฉพาะทางที่ทาง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำหนด ไม่ให้โรงเรียนกำหนดเอง

          ทั้งหมดนี้ก็"จบ"เรื่องของการเรียกรับ "แป๊ะเจี๊ยะ"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ