คอลัมนิสต์

“ซาอุฯ” ตัดสัมพันธ์ “กาตาร์”ก่อการร้ายแค่ข้ออ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปฏิบัติการจับมือตัดความสัมพันธ์กับการตาร์ ภายใต้การนำทีมของซาอุดิอาระเบีย มีเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร "ดร.ศราวุฒิ อารีย์" นักวิชาการมุสลิม ถอดรหัสให้ทราบ

"การไปเยือนซาอุฯล่าสุดของ “ทรัมป์”นำไปสู่การหารือกันและมีมาตรากรอย่างนี้ออกมา เพื่อลงโทษกาตาร์ให้สำนึกว่าอย่าเอาตัวไปเกี่ยงข้องกับขบวนการภราดรภาพมุสลิม"

 

ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ให้สัมภาษณ์รายการกรองข่าวเช้านี้ ทางสถานีวิทยุ FM 102 ถึงกรณีที่ ชาติมุสลิมหลายชาตินำโดย ซาอุดิอาระเบียประกาศสัมพันธ์กับประเทศกาตาร์ หากใครไม่ตามอาจคิดว่าเกิดขึ้นเร็วมากและไม่คาดฝันมาก่อนและรุนแรง เพราะเป็นการตัดความสัมพันธ์กันอย่างสิ้นเชิง แต่สำหรับคนที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจะทราบว่า  "ซาอุดิอาระเบีย"   ที่เป็นพี่ใหญ่ของโลกอาหรับและประเทศพันธมิตร ค่อนข้างมีปัญหากับ "กาตาร์" มาระยะหนึ่ง 

 

“ปัญหาที่สำคัญคือมุมมองและวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงทีเกิดขึ้นกับตะวันออกกลาง ซาอุฯเป็นประเทศที่ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลาง โดยยึดสถานะเดิมเป็นที่ตั้ง แต่กาตาร์เป็นประเทศค่อนข้างทันสมัย มีสำนักข่าวอย่าง ”อัลจาซีราห์“  ผู้นำก็เป็นผู้นำรุ่นใหม่ มีหัวทันสมัย อยากเห็นตะวันออกกลางเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีการปฏิรูปทางการเมือง และเปิดมากขึ้น ไม่ใช่เหมือนเดิม เหมือนเมื่อ 30-40 อย่างที่เราเห็นในตะวันออกกลาง เมื่อมุมมองต่างกัน เราจึงเห็นว่า เหตุการณ์ที่สองฝ่ายปะทะกันคือ อาหรับสปริง หรือการลุกฮือของคนอาหรับที่ต่อต้านผู้นำเผด็จการในปลายปี 2010ตอนนั้นซาอุฯไม่ต้องการให้กระแสนี้คืบคลานเข้ามาสู่อาหรับที่ปกครองในระบบกษัตริย์ แต่กาตาร์ใช้สื่อตัวเองเข้าไปทำข่าว ใทุกประเทศที่ลุกฮือ นอกจากนี้ยังเป็นปากเสียงให้ประชาชนที่ลุกฮือขึ้นต่อต้าน ตรงนี้ทำให้ซาอุฯไม่พอใจบทบาทการ์ตา”

 

กาตาร์แม้เป็นประเทศเล็กๆ แต่ตอนหลังมีบทบาทมาก และมีความปราถนาจะเข้ามาเป็นตัวแสดงสำคัญในตะวันออกกลางและสังคมโลกมากขึ้น ทำให้ซาอุฯไม่พอใจ เพราะเขาถือว่าตัวเองเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาค แต่สิ่งสำคัญคือท่าทีของสองประเทศในทางการเมือง มีความต่างกัน โดยเฉพาะท่าทีต่อขบวนการ ภราดรภาพมุสลิม" ที่มีฐานที่มั่นในอียิปต์ กาตาร์สนับสนุน ขบวนการนี้ ทังก่อนและหลังจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลหลังอาหรับสปีริง ในอียิปต์ แต่ซาอุฯ หวาดระแวงต่อขบวนการนี้ เพราะเป็นขบวนการที่เรียกว่าได้รับความนิยม เนื่องจากเคลื่อนไหวทางสังคมและได้รับการยอมรับจากประชาชนชาวอาหรับ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเลือกตั้งกลุ่มนี้จะได้รับการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ ตูนิเซีย โมร็อกโค 

 

“เป็นวิสัยทัศน์ของกาตาร์ ว่า ขบวนการเช่นนี้มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำหรือเป็นรัฐบาล กาตาร์มองเห็นอนาคต แต่ซาอุฯไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง และมองว่าขบวนการภราดรภาพมุสลิม ท้าทายอำนาจของตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นว่าการรัฐประหารในอียิปต์ จึงถูกซาอุฯว่าเป็นขบวนการก่อการร้าย เแะข้ออ้างในการตัดสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องขบวนการก่อการร้ายที่กาตาร์ให้สนับสนุน ซึ่งนั้นก็คือกลุ่ม ภราดรภาพมุสลิม แต่อาหรับส่วนใหญ่ไม่มองกลุ่มนี้เป็นขบวนการก่อการร้าย แต่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เพราะฉะนั้นเมื่อยกเป็นขบวนการก่อการร้ายไม่หนักแน่นพอจึงพ่วงด้วย ไอเอส และ อัลกออิดะห์ เข้าไป”

 

เมิื่อถามว่า จริงๆแล้วกาตาร์ได้สนับสนุน ไอเอและ อัลกออิดะห์หรือไม่   “ศราวุฒิ” วิเคราะห์ว่า  สองกลุ่มนี้ใช้ควมรุนแรงและไม่ได้รับการสนับสนุนจากอาหรับ และสองกลุ่มนี้ก็มีเป้าหมายในการตั้งรัฐอิสลามขึ้นมา ที่ต้องการการสวามิภักดิ์ จากผู้นำ การเกิดขึ้นของไอเอส เป็นการท้าทายรัฐ ไม่มีใครต้องการสับสนุนทั้งกาตาร์และซาอุฯ ทั้งคู่มีการงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องในสงครามซีเรีย ทั้วสองประเทศ เป็นการเข้าไปสนับสนุนฝ่ายต่อต้านการโค่นล่มระบอบอัสซาด ซึ่งรู้กันและกันว่าไม่เข้าไปเกี่ยวกระบวนการก่อการร้าย แต่การสร้างความชอบธรรมในการตัดความสัมพันธ์ ประเด็นสนับสนุนการก่อการร้ายมันเหมาะสมที่สุดและมีน้ำหนักให้โลกเคลือบแคลงสงสัยในกาตาร์ได้ แต่จริงๆเป็นประเด็นการเมือง

 

ส่วนอะไรที่เป็นฟางเส้นสุดท้าย  เขามองว่า  ช่วงเปลี่ยนผ่านผู้นำของสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงสำคัญ ในยุคของ “บารัค โอบามา” เขามีนโยบายที่ไม่ต้องการให้เกิดความแตกแยกและสร้างปัญหาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในอ่าวเปอร์เซียที่มีความสำคัญเพราะร่ำรวยน้ำมันและ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ฐานทัพของอเมริกามีเต็มไปหมด   โอบามาไม่ต้องการเห็นความแตกแบยกซ้ำเติมปัญหา แต่ในยุคของ "โดนัลด์ ทรัมป์" เขาต้องการเห้นภราดรภาพมุสลิมเป็นขบวนการก่อการร้าย  เขามีแผนประกาศให้กลุ่มนี้เป็นก่อการร้าย เพราะกลุ่มนี้เป็นเครือข่ายแม่ของขบวนการฮามาส  ผลประโยชน์ของสหรัฐฯมีในเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้อิสราเอลเมื่อฮามาสเป็นภัยต่ออิสราเอล “ทรัมป์” จึงต้อการจัดการขบวนการเหล่านี้   

 

การไปเยือนซาอุฯล่าสุดของ “ทรัมป์” นำไปสู่การหารือกันและมีมาตรากรอย่างนี้ออกมา เพื่อลงโทษกาตาร์ให้สำนึกว่าอย่าเอาตัวไปเกี่ยงข้องกับขบวนการภราดรภาพมุสลิม ซาอุฯก็ถือโอกาสเตือนว่าให้ระวังบทบาทและท่าทีของกาตาร์ที่มีลักษณะท้าทายและแข่งขันกับซาอุฯที่เป็นพี่ใหญ่"

อย่างไรก็ตามเขามองว่าปัญหานี้คลี่คลายได้ทางการทูต เพราะปัญหาลักษณะนี้เคยเกิดในปี 2014  ตอนนั้่นเกิดรัฐประหารในอียิปติ ต่างฝ่ายก็มีแนวนโยบายที่ต่างกัน ในปี 2014 ซาอุฯก็เรียกนักการทูตทั้งหมดกลับ แต่คูเวตก็เป็นกาวใจประสานความสัมพันธ์อีกครั้ง  ดินแดนส่วนทีเป็นอ่าวเปอร์เซียมีลักษณะจของผู้คนประวัติศาสตร์ภาษาวัฒนธรรมเป็นเนื้อเดียวกัน การตัดความสัมพันธ์ จะคลี่คลายได้ ช่องทางการเจรจายังมีอยู่ กาตาร์อาจถูกตัดตความสัมพันธ์ แต่ไม่ได้ถูกตัดออกจากการเป็นสมาชิก  “กลุ่มประเทศคณะมนตรีความมั่นคงรัฐอ่าวอาหรับ (GCC)” นั่นเป็นเวลาทีที่อาจเจรจาต่อรองหรือฟื้นสัมพันธ์ นออกจากนี้ยังมี  องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) ที่มีสมาชิก 50 ประเทศ ก็เป็นอีกเวทีที่มีหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง  กาตาร์กับซาอุฯอาจตัดความสัมพันธ์อาจไม่นานมากนัก แต่หากปล่อยไประยะยาวมีปัญหาเหมือนกัน 

 

ทั้งนี้เขายอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้กระเทือนทั่วโลกมุสลิม  ทั้ง ซาอุฯ อียิปต์ บาห์เรน  และยังลุกลามไปยังลิเบียหรือมัลดีฟส์ ก็ประกาศร่วมด้วย เพราะประเทศเหล่านี้มีประโยชน์ร่วมกับซาอุอยู่ แต่ก็มีอีกหลายประเทศ เช่นปากีสถานไม่ยอมประกาศตัดความสัมพันธ์ ตุรกีก็เช่นกัน  เหตัุการณ์นี้แบ่งแยกโลกมุสลิมออกเป็นเสี่ยงๆ

 

“อาหรับเป็นพี่น้องกัน เหตุการณ์เกิดได้ แต่เป็นลักษณะการลงโทษจากพี่เบิ้มมากกว่า แต่หากปล่อยให้เป็นไประยะยาวอาจทำให้ขั้วอำนาจหรือขัวพันธมิตรในโลกอาหรับ เพิ่มมากขึ้น แต่ก่อนเราเห็นขั้วซาอุ กับขั้วอิหร่าน วันนี้อาจเห็นขั้วกาตาร์ผูกมิตรกับตุรกี”

 

ส่วนผลกระทบกับไทยนั้น  “ดร.ศราวุฒิ”  มองว่าระยะสั้นคงไม่ได้ผล ส่วนระยะยาวหากทอดตัวไป คนไทยที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า รมถึงแรงงานที่อยู่ในกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซียจำนวนหนึ่งกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบ หากกาตาร์ได้รับผลกระทบเขาคงประเมินสถานการณ์ว่าจะปรับเปลี่ยนแผนเศรษฐกิจอย่างไร   ทั้งนี้ถ้าจะกระทบกับไทยต้องเป็นการประกาศตัดสัมพันธ์ที่ยาวนานเป็นปี   ขณะนี้กาตาร์เป็นประเทศที่วางแผนปรับตัวดี กาตาร์วางแผนล่วงหน้าไว้พอสมควร แต่หากเป็นปัญหาคารคาซังเกินข้ามปี ก็จะรู้สึกว่ากระทบกับตัวเองเพราะแผนที่ยวางไว้คงไม่ยาวมากนัก

“แต่เรื่องสงคราม  คงไม่มีเพราะซาอุก็มีปัญหาติดพันกับเยเมน ซีเรีย และอีกหลายประเทศ ขณะที่กาตาร์ก็เป็นประเทศเล็กและไม่สามารถต่อกรกับซาอุฯได้   เหตุการณ์คงไม่ลุกลามไปสู่ปฏิบัติการทหาร  และซาอุฯจะไม่ได้รับความชอบธรรมด้่วย” 

 

คลิกฟังที่นี่ http://www.nationradio.co.th/program/details/69285

--------

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ