คอลัมนิสต์

'ถึงเวลา..ปิดตำนาน !!'รถหรูเลี่ยงภาษี'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขบวนการนำเข้ารถยนต์เลี่ยงภาษี.ทำกันอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า20ปีสร้างความร่ำรวยให้บุคคลแต่ทำให้รัฐเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี ถึงเวลา'ปิดตำนาน'ได้แล้ว

 

           หลังจากซุ่มเงียบประสานความร่วมมือการสอบสวนระหว่างประเทศผ่าน พ.ร.บ.ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ Mutual legal Assistance Treaty หรือช่องทาง MLAT ซึ่งพ.ต.ท.กรวัชร์. ปานประภากร. รองอธิบดีดีเอสไอ พร้อมพนักงานอัยการ เพียรเดินทางเข้าออกประเทศอังกฤษและอิตาลีอยู่หลายรอบ เพื่ออธิบายถึงความจำเป็นที่ทางการไทยต้องการทราบราคารถยนต์ที่แท้จริงที่ส่งออกไปขายในไทย เพื่อตัดวงจรอาชญากรรมจากการทุจริตหลบเลี่ยงภาษี

         พ.ต.ท.กรวัชร์หรือรองดำ ได้เปิดเผยว่า จากการเจาะเข้าไปตรวจสอบในสารบบ ทำให้พบตัวเลขการนำเข้ารถยนต์หรูยอดฮิตของตลาดเมืองไทยและ‘รถซุปเปอร์คาร์’ ที่น่าเชื่อว่าผ่านขบวนการนำเข้าแบบสำแดงเท็จ เพื่อชำระภาษีต่ำกว่าจริง อยู่ที่ 10,000 คัน เป็นการนำเข้าจากกลุ่มผู้นำเข้าอิสระนับ 100 แห่ง. ซึ่งเกือบทุกแห่งสำแดงราคาเท็จเพื่อเลี่ยงภาษี ซึ่งดีเอสไอจะเริ่มดำเนินการจากผู้นำเข้ารายใหญ่ มูลค่าความเสียหายสูง จากนั้นจะไล่เรียงไปจนครบ เริ่มต้นจากบริษัทนิชคาร์ กรุ๊ป ซึ่งปฎิบัติการจู่โจมตรวจค้น 9 จุด อายัดรถยนต์หรูและซุปเปอร์คาร์122คันที่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน ทำรัฐเสียหาย2,400ล้านบาทเฉลี่ยชำระภาษีขาด 10 – 18ล้านบาทต่อคัน โดยแต่ละคันจะสำแดงราคาเท็จไม่เกิน40เปอร์เซ็นต์จากราคาจริง

          'ถึงเวลา..ปิดตำนาน !!'รถหรูเลี่ยงภาษี'

        พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ  รองปลัดกระทรวงยุติธรรม  บอกว่าตนเองได้สอบสวนขบวนการ‘เกรย์มาร์เก็ต’ นำเข้ารถยนต์เลี่ยงภาษีมาตั้งแต่ปี54สมัยที่เป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.)จนกระทั่งล่าสุดดีเอสไอประสบความสำเร็จในการประสานกับประเทศต้นทางผู้จำหน่ายรถยนต์ให้ส่งหลักฐานราคาขายที่แท้จริงย้อนหลัง5ปีให้ทางการไทยสอบสวนทำให้ได้มาซึ่งหลักฐานในการตรวจสอบการนำเข้ารถยนต์ทุกคัน.ผ่านการนำเข้าของทุกกลุ่มไม่จำกัดเฉพาะ‘เกรย์มาเก็ต’

          โดยหลักฐานที่ได้รับผ่านช่องทางMLATนอกจากจะได้ในการดำเนินคดีกับ‘เกรย์มาร์เก็ต’ที่สำแดงเท็จยังสามารถใช้ตรวจสอบการนำเข้ารถแบบจดประกอบด้วยเพราะนอกจากได้ข้อมูลราคาแล้วยังทำให้รู้ด้วยว่ารถถูกขายและส่งมาทั้งคันหรือขายแบบแยกชิ้นส่วนอะไหล่ซึ่งข้อมูลจากประเทศอิตาลีจะเป็นการส่งออกรถซุปเปอร์คาร์เช่นลัมโบกินี มาเซราติและเฟอร์รารี ส่วนอังกฤษจะเป็นรถหรูในท้องตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยพวงมาลัยฝั่งขวาเหมือนไทย.เช่น เบนซ์บีเอ็มดับเบิ้ลยูและมินิ

       “ขบวนการนำเข้ารถยนต์หลบเลี่ยงภาษี.ทำกันอย่างต่อเนื่องยาวนานไม่ต่ำกว่า20ปีสร้างความร่ำรวยให้บุคคลแต่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีปีละหมื่นล้านบาท.ถึงเวลาอันสมควรที่ตำนานจะปิดตัวลงได้แล้วหลังการจู่โจมตรวจค้น‘บริษัทนิชคาร์’ข้อมูลในการสืบสวนพบว่าในช่วงกลางดึกของวันที่18 พ.ค.‘ซุปเปอร์คาร์’ ออกวิ่งว่อนกรุงเทพฯ.คราวนี้ไม่ใช่การขับขี่เพื่อโชว์รถแต่เป็นการขับหนีขับไปหาที่ซุกซ่อนรถไม่ให้ถูกยึด”รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ระบุ

            'ถึงเวลา..ปิดตำนาน !!'รถหรูเลี่ยงภาษี'

 

         สำหรับ'แผนประทุษกรรม'ในการนำเข้ารถยนต์หลบเลี่ยงภาษีพบว่ามีลักษณะเดียวกันทั้งหมด คือ ทำใบอินวอยซ์ปลอม.เพื่อสำแดงราคาเท็จ เช่น รถยี่ห้อลัมโบกีนี ที่ยึดจากบริษัทนิชคาร์ กรุ๊ป1คัน ซึ่งนำเข้ามาตั้งแต่วันที่12เม.ย. 2553ราคาจากประเทศอิตาลี286,000ยูโร เมื่อมาถึงประเทศไทยมีขบวนการจัดทำเอกสารสำแดงราคาเป็น105,000เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ3.4ล้านบาทต้องเสียภาษี328เปอร์เซ็นต์หรือ11ล้านบาทซึ่งหากคำนวณภาษีตามราคาที่แท้จริงรถคันนี้จะมีราคาตั้งต้นอยู่ที่12ล้านบาทเศษไม่ใช่3.4ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในราคา41ล้านบาท เท่ากับว่ารถคันนี้ชำระภาษีขาดไปจำนวน30ล้านบาท

        คนทั่วไปที่ได้ฟังการอธิบายถึงแผนประทุษกรรม คงมีคำถามไม่ต่างกัน ว่า การสำแดงเท็จในราคาต่ำกว่าจริง สร้างภาพ‘ซุปเปอร์คาร์’เป็นมหกรรมลดกระหน่ำ เซล 60%เช่นนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับราคาไม่สะกิดใจ หรือมองเป็นพิรุธบ้างหรืออย่างไร แล้วรถที่ขนมาจากยุโรปใช้สกุลเงินยูโรกับเงินปอนด์. เหตุใดอินวอยซ์ที่นำมาสำแดงจึงขายกันเป็นดอลลาร์สหรัฐ. คำถามคาใจเหล่านี้เองทำให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับราคา มีภาระต้องรับผิดในทางแพ่ง หาเงินมาจ่ายคืนภาษีที่รัฐต้องสูญเสียไป

         ได้เวลาที่รัฐเก็บภาษีคนรวย ถ้าทำได้จริงก็ได้เงินหมื่นล้านโดยไม่ต้องรีดเอาจากชาวบ้าน ร้าน ตลาด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ