คอลัมนิสต์

หนังสือยืมเรียน“หมอธี”ทำผิด กม. 3 ฉบับ???

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หนังสือยืมเรียน“ นโยบายเด็ด!! จากปาก”หมอธี" ชี้ชัดขัดกฏหมายถึง 3 ฉบับ ??? เป็นไปได้งัย???.. เชิญผู้อ่านติดตามรายละเอียด กับ  0 กมลทิพย์ ใบเงิน 0

           "หนังสือยืมเรียน“นโยบายเด็ด! จากปาก”หมอธี  นพ.ธีระเกียรติ  เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าารกระทรวงศึกษาธิการ  ประกาศทันที่ ที่เขาเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน ยิ่งตอกย้ำนโยบายหนังสือยืมเรียนมาก เมื่อ“หมอธี”ได้เดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชา ในฐานะประธานสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ได้เยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน(ร.ร.)Preah Sisowath High School ซึ่งเป็นร.ร.ระดับมัธยมศึกษาต้นแบบ และหารือร่วมกับนายฮอง จูน นารน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและกีฬา พบว่ารัฐบาลกัมพูชาประสพความสำเร็จในการนำนโยบายหนังสือยืมเรียนมาใช้ 

หนังสือยืมเรียน“หมอธี”ทำผิด กม. 3 ฉบับ???

                               นพ.ธีระเกียรติ  เจริญเศรษฐศิลป์ เยี่ยมชมการการจัดการศึกษาที่กัมพูชา

            ทันที ที่“หมอธี” ประกาศนโยบาย“หนังสือยืมเรียน” ปรากฏว่าหน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องการับผิดชอบในการจัดการศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย หรือ ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นมัธญมศึกษาปีที(ม.6) ต่างเตรียมขยับปรับตัวกันทันที

หนังสือยืมเรียน“หมอธี”ทำผิด กม. 3 ฉบับ???

           เรียนฟรี 15 ปี ครอบคลุมหลายหน่วยงาน เฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ มี 3  หน่าวยงานหลัก ได้แก่ 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับอนุบาล-ม.6 ส่วน 2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) รับผิดชอบจัดการศึกษา ระดับประกาศนยบัตรวิชาชีพ ( ปวช.1-ปวช.3) และ3.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  หรือ กศน. 

           ดูเหมือนว่า  นายการุณ  สกุลประดิษฐ์   เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.) ได้ออกหนังสือเวียนถึง 225 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้ปฏิบัติตามนโยบาย“หมอธี” เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 หรือ 16 พ.ค.2560 เพื่อให้นักเรียนทุกคน“ยืมหนังสือเรียน” แต่นำติดตัวกลับบ้านได้ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาก็ต้องนำกลับมาคืนโรงเรียน จากเดิมนักเรียนได้รับ “แจก”หนังสือเรียนกันทุกๆ คน อย่างเสมอภาค

      “หนังสือยืมเรียน”ในยุคสำนักการประถมศึกษาแห่งชาติ(สปช.) เคยนำมาใช้ให้เด็กประถมศึกษายืมเรียน แต่เมื่อมีกปารปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ใหม่ สปช. ถูกยกฐานะเป็น"สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน"สพฐ." แต่คงภารกิจเหมือนเดิม 

       ่เหนืออื่นใดในรอบ 10 ปี กระทรวงศึกษาฯไม่เคยบรรลุเป้าหมายในนโยบาย“หนังสือยืมเรียน”ในระดับประถมศึกษา และในรอบ 20 ปี ไม่สามารถใช้นโยบายนี้เช่นกันในระดับมัธยมศึกษา ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้น หนังสือเรียนเสี่ยงที่จะเกิดเชื้อราจนเสียหายได้ และจำนวนนักเรียนที่มีมากกว่า 15 ล้านคนที่ต้องได้รับการจัดการศึกษาฟรีจากรัฐ

        ว่ากันว่า "ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์"เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)มีกุ๋นซื้อข้างกาย คอยให้คำปรึกษาเตือนให้พึงระวังนโยบายหนังสือยืมเรียน เพราะอาจจะเข้าข่ายประพฤติผิดกฏหมาย ในที่สุด“เลขาฯกอศ.”จึงออกมาปฏิเสธผ่านสื่อว่า นักเรียน นักศึกษาอาชีวะยอมขัดใจ“หมอธี” ไม่สนองตอบนโยบาย"หนังสือยืมเรียน ขณะที่ นายกฤติชัย  อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ 

       “แต่ละปีเราใช้งบประมาณซื้อหนังสือเรียนกว่า 5,000 ล้านบาท สมมติถ้าปีต่อไป เราซื้อทดแทน 20% ก็จะประหยัดได้ 4,000 ล้านบาท 30% ประหยัดได้ 3,000 ล้านบาท สมมติว่าถ้าเราสามารถประหยัดเงินซื้อหนังสือเรียนได้เกิน 50% ขึ้นไป ก็จะสามารถนำส่วนต่าง ไปซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดและซื้อสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ดีขึ้นตรงนี้เป็นการให้เด็กได้เรียนฟรีด้วย” นพ.ธีระเกียรติ แจกแจง

        นโยบายหนังสือยืมเรียน “หมอธี” ทำผิดกฏหมายถึง 3 ฉบับ เพราะการศึกษาไม่เป็น“สิทธิ” รัฐต้องจัดเรียนฟรี 12 ปี จากอนุบาล 1 ถึงม.3 ในประเด็นการศึกษาภาคบังคับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 และ 2550 กำหนดไว้เหมือนกันให้เป็น “สิทธิ” ของทุกคน คือ ให้มีสิทธิเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ที่รัฐจัดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

        รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 43 เขียนไว้ชัดเจนว่า บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับ “การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี” ที่รัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ดังนั้นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ทุกคนจึงมีสิทธิเรียนฟรีตั้งแต่ ป.1-ม.6 และหากรัฐบาลใดจะจัดการศึกษาฟรีให้มากกว่านั้นก็ได้

         รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 49 กำหนดว่า บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับ “การศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี” ที่รัฐจะต้องจัดโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ตัดคำว่า “ขั้นพื้นฐาน” ออก เปิดช่องให้ตีความเพิ่มได้ว่า การศึกษาสิบสองปีนั้นเริ่มจากเมื่อใดถึงเมื่อใดบ้าง

         ส่วนร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่กำหนดให้การศึกษาเป็น “สิทธิ” ของประชาชน ย้ายไปไว้ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ให้รัฐมี “หน้าที่” จัดการศึกษาให้ประชาชน ตามมาตรา 54

          "มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย"

          จากมาตรา 54 นี้ จะเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาฟรียังเป็น 12 ปีเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นให้เริ่มตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 17 กำหนดว่า ให้มีการศึกษาภาคบังคับจํานวนเก้าปีให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก จึงพอเข้าใจได้ว่า การศึกษาภาคบังคับหมายถึง การศึกษาชั้น ป.1-ม.3 

          ดังนั้น ร่างรัฐรรมนูญฉบับนี้ จึงกำหนดหน้าที่ให้รัฐจัดการศึกษาฟรี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน คือ ในชั้นอนุบาลจนถึงม.3 อีกทั้ง มี คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ยิ่งชัดเจนมากขึ้น เรื่องการศึกษาฟรี เริ่มตั้งแต่ อนุบาล 1 ถึง ม.6 และ ปวช1-3 ซึ่งทุกอย่างต้องฟรี (ไม่ใช่ยืม)

         " นโยบายหนังสือยืมเรียน ชี้ชัดขัด 3 กฏหมาย รัฐธรรมนูณปี2560,คำสั่ง คสช 28/2559 และ ขัดต่อ พรบ.งบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ.2560(1 ตุลาคม 2559- 30 กันยายน 2560) เพราะในการอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2560 หมวด ค่าหนังสือเรียน ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มิได้มีคำว่าหนังสือให้ยืมเรียน ซึ่งก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 157" มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.) ระบุ

      นโยบาย“หนังสือยืมเรียน”หาก“หมอธี” ประกาศจะเดินหน้าต่อไป คงต้องกลับไปแก้ไข กฏหมายหลายฉบับ ไล่เลียงมาตั้งแต่ คำสั่ง คสช 28/2559  เรียนฟรี 15 ปี และแก้ไขกฏหมายรัฐธรรมนูณปี 2560 มาตรา 54 ซึ่งความ"เป็นไปได้มีน้อยมาก" หาก“หมอธี” ลากยาวต่อไป “ภตช”เตรียมจะยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ตรวจสอบ

     อีกทางเลือก “หมอธี” ยอมถอย!! หรือสั่ง“ทบทวน”นโยบายหนังสือยืมเรียน"กลับมา"แจก"ฟรีตำราเรียนเหมือนเดิม  แม้จะ “เสียหน้า” แต่ยังไม่เกิดความเสียหายเบ็ดเสร็จ 100 เปอร์เซ็น โอกาสที่"หมอธี"จะถูกถอดออกจากตำแหน่ง"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" เหมือนคดี"นายถวิล  เปลี่ยนศรี"อดีต เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ที่ ปู-ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ถูกถอดจากตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2557    

       ปฏิเสธไม่ได้ว่า "หนังสือยืมเรียน"ประสพความสำเร็จในประเทศกำลังพัฒนา ที่มีนักเรียนจำนวนน้อย มีสภาพอากาศเย็น ไม่ร้อนชิ้น หากเทียบกับประเทศไทยที่มี 39,000 โรงเรียน  มีนักเรียนเกือบ 15 ล้านคน หากต้องคืนหนังสือเรียน รัฐบาลคงต้องเตรียมเงินงบประมาณรองรับ ในการจัดสร้างโกดังขนาดใหญ่ พร้อมติดเครื่องปรับอากาศเพื่อป้องกันหนังสือชำรุดเสียหายเพราะเกิดเชื้อรา นะขอบอก!!    

       

    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ