คอลัมนิสต์

เข้าใจผิดแระ! ‘เปิ๊ดสะก๊าด’

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

‘เปิ๊ดสะก๊าด’ มาจากภาษาอังกฤษ โดยเพี้ยนมาจากคำว่า First Class ซึ่งหมายถึงระดับที่ดีที่สุดของสินค้าหรือบริการ แต่คนไทยนำมาใช้จึงเพี้ยนเป็น ‘เปิ๊ดสะก๊าด’

 

           นายกฯ “ลุงตู่” เป็นผู้นิยมใช้คำไทย คำบ้านบ้านในการสื่อสารกับนักข่าว รวมถึงประชาชนทั่วไป 

           ล่าสุด “ลุงตู่” พูดถึง ม.44 กับการบังคับใช้กฎหมายจราจร และมีเรื่องคาบเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ จึงวอนสาวไทยให้แต่งกายสุภาพๆ ว่า

           "อย่าแต่งกายเปิ๊ดสะก๊าด อย่าสาดน้ำเป็นถัง ๆ"

           เมื่อก่อนสงกรานต์ปีที่แล้ว “ลุงตู่” ก็ห่วงสาวไทย จึงออกโรงปราม

           "เบื้องต้นสั่งการไปแล้วว่า จะต้องไม่มีผู้หญิงหรือสาวประเภทสองที่แต่งกายไม่เรียบร้อย ไปเต้นเปิ๊ดสะก๊าดอยู่บนรถ จะต้องจับทันที รวมถึงเจ้าของรถด้วย”

           แสดงว่า นายกฯ ลุงตู่ คุ้นเคยกับคำว่า “เปิ๊ดสะก๊าด” มาก ถึงกับนำมาใช้เตือนสาวไทยสองปีซ้อน

           “เปิ๊ดสะก๊าด” เป็นศัพท์สแลง (slang) หรือถ้อยคำหรือสำนวนใช้กันเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว

           ถ้าเอาตามสำนวนไทยเป๊ะๆ หมายถึงความหรูหรา มักจะใช้เรียกในการแต่งตัว เช่น “พวกเธอแต่งตัวได้เปิ๊ดสะก๊าดมาก”

           ที่มาของสำนวนนี้คือ เปิ๊ดสะก๊าด เป็นคำที่รับมาจากภาษาอังกฤษ โดยเพี้ยนมาจากคำว่า First Class ซึ่งหมายถึงระดับที่ดีที่สุดของสินค้าหรือบริการ แต่คนไทยนำมาใช้จึงเพี้ยนเป็น “เปิ๊ดสะก๊าด”

           แต่สำนวน “เปิ๊ดสะก๊าด” มันเพี้ยนจากความหมายเดิม เมื่อตลกลูกทุ่ง หรือตลกในโรงลิเก มีความเข้าใจผิดคิดว่า “เปิ๊ดสะก๊าด” หมายถึง ผู้หญิงแต่งตัวโป๊

           ชาวบ้านร้านตลาด ก็เลยเข้าใจไปในทางเดียวกัน หากเห็นสาวๆ แต่งตัววับๆแวมๆ ก็จะพูดขึ้นทันทีว่า “แต่งตัวเปิ๊ดสะก๊าด”

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ