คอลัมนิสต์

ธุรกิจคาเฟ่“สัตว์เลี้ยง-สัตว์แปลก” ภัยพาหะนำโรคมาสู่คน?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การนำสัตว์เหล่านี้มาใช้ในธุรกิจจำเป็นต้องขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ มีหน่วยงานดูแลควบคุมสม่ำเสมอเพียงใด เหล่านี้คือความกังวลที่ควรมีมาตรการจัดระเบียบ

ธุรกิจคาเฟ่“สัตว์เลี้ยง-สัตว์แปลก”

ภัยใกล้ตัวพาหะนำโรคมาสู่คน?

     “คาเฟ่น้องหมาน้องแมวน่ารักๆ เหมาะกับการแวะมาเที่ยวเล่นทักทายน้องแมวน่ารักๆ ที่รอต้อนรับลูกค้า การมาที่ร้านนี้นอกจากจะมีน้องแมวน่ารักๆ ให้คุณได้ถ่ายรูปเพลินๆ แล้ว ยังมีขนม เครื่องดื่ม และอาหารไว้คอยบริการด้วย”

     คำกล่าวเชิญชวนลูกค้าของคาเฟ่สัตว์เลี้ยงร้านหนึ่งย่านพหลโยธิน ที่ปัจจุบันคาเฟ่ลักษณะดังกล่าวผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ในขณะบางร้านถึงขั้นเปิดโอกาสให้ลูกค้านำสัตว์เลี้ยงเข้ามาอยู่ใกล้ๆ ในระหว่างรับประทานอาหารในร้านด้วย แม้สัตว์เลี้ยง สัตว์แปลกจะเป็นกลยุทธ์เรียกลูกค้าของบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหาร แต่สิ่งหนึ่งไม่ควรมองข้ามคือเรื่องสุขลักษณะอนามัย เพราะสัตว์บางชนิดเป็นพาหะนำโรคร้ายสู่ผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัว   

     เห็นได้จากบทความ “4 ขา cafe" กับกฎหมายสาธารณสุขของ “ปาริชาติ สุริยะฉาย” แห่งศูนยบริหารกฎหมายสาธารณสุข ระบุชัดว่า ภายใตความนารักนาเอ็นดูของสัตวเลี้ยงเหลานั้น “คุณรูหรือไมวานองหมาและนองแมวสามารถเปนพาหะนําโรคมาสูคนได?”  

     ปจจุบัน “คาเฟสัตว์เลี้ยง สัตว์แปลก” กำลังไดรับความนิยมแพรหลายในตางประเทศและเริ่มเขามาในประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีมีเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมืองหลวงและตามหัวเมืองใหญ่ โดยมีความแตกตางจากรานอาหารทั่วไป กล่าวคือนอกจากจะจําหนายอาหารและเครื่องดื่มแลว เจาของรานยังสรางบรรยากาศภายในรานโดยการนํานองหมาและนองแมวมาปลอยใหนั่งๆ นอนๆ บริเวณราน หรือนำสัตว์แปลกๆ มาขังไว้ในกรงบริเวณร้านเพื่อเอาใจลูกคาผูมาใชบริการไดเลนไดถายรูปพรอมกับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มไปดวย  

      จากขอมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบวา โรคติดตอจากสัตวเลี้ยงสูคน (zoonoses) มีจํานวนมากถึง 271 โรค โดยโรคที่เกิดจากนองหมา 47 โรค และโรคที่เกิดจากนองแมว 34 โรค ซึ่งถือเปนภัยใกลตัวที่ควรระวัง ทั้งนี้การแพรกระจายของเชื้อโรคบางชนิดนั้น อาจแพรกระจายจากสัตวเลี้ยงมาสูคน ไมวาจะเปนทางผิวหนัง บาดแผล การรับประทานอาหาร รวมทั้งการหายใจเอาเชื้อโรคเขาไป แมวาสัตวเลี้ยงจะไดรับการดูแลรักษาความสะอาดอาบน้ำตัดขนและปองกันโรคเปนอยางดี แตการรับประทานอาหารรวมโตะกับสัตวเลี้ยง หรือการสัมผัสโดยไมไดลางมือหลังจากเลนกับสัตวเลี้ยง อาจเกิดการแพรกระจายของเชื้อโรคทําใหเกิดความเสี่ยงตอสุขภาพได 

     ไม่เพียงคาเฟ่สัตว์เลี้ยงอย่างน้องหมาน้องแมวที่เปิดบริการให้เห็นกันเกร่อ แต่ยังมีคาเฟ่บางร้านยังถึงขั้นนำสัตว์สงวน สัตว์ป่าหายากมาเป็นตัวชูโรงเพื่อดึงลูกค้าที่ชื่อชอบสัตว์แปลกมาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น สุนัขจิ้งจอก เมียร์แคท แรคคูน นกฮูก บางแห่งมีกรงเลี้ยงงู แมงมุม เรียกว่าสารพัดสัตว์พิสดารและสัตว์แปลกนำมาเลี้ยงไว้เพื่อดึงดูดลูกค้า บางร้านถึงขั้นสามารถนำสัตว์เหล่านี้มาทำเป็นเมนูเด็ดเปิบพิสดารกันเลยทีเดียว   

    แต่ประการที่เป็นคำถามสำคัญและควรต้องมีคำตอบที่ชัดเจน รวมไปถึงวิธีควบคุมปฏิบัติต่อธุรกิจคาเฟ่สัตว์เลี้ยง-สัตว์แปลก คือ สัตว์ป่าประเภทสัตว์สงวนที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศหรือสัตว์ป่าสงวนของไทยต้องดำเนินการให้ถูกกฎหมายและสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูและความเป็นอยู่จัดการได้ถูกต้องแค่ไหน

     ขณะเดียวกันการนำสัตว์เหล่านี้มาใช้ในธุรกิจจำเป็นต้องขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อีกทั้งการตรวจสอบดูแลในเรื่องสุขลักษณะ ความสะอาด ไม่แพร่ระบาดเชื้อโรค มีหน่วยงานดูแลควบคุมสม่ำเสมอเพียงใด เหล่านี้คือความกังวลที่เกิดขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการจัดระเบียบและควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา 

     “ในทางกฎหมายถ้าไม่ใช่สัตว์คุ้มครองก็สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้วยเช่นกัน อย่างเช่น ควรแยกอยู่กันคนละโซนระหว่างร้านอาหารกับกรงสัตว์ ไม่ใช่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือนำสัตว์มาอยู่ด้วยระหว่างรับประทานอาหาร อาจมีปัญหาในเรื่องสุขภาพอนามัยได้ เพราะเชื้อโรคบางชนิด เช่น พยาธิหรือเชื้อโรคที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าปะปนมากับอาหารที่เรารับประทานได้ อย่างสวนสัตว์ ก็มีร้านอาหารนะ แต่เขาจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน มีระยะห่างพอสมควรระหว่างสถานที่เลี้ยงสัตว์กับร้านอาหาร”

     นสพ.พงษ์เทพ เอกอุดมชัย ผู้อำนวยการส่วนบำบัดรักษาโรคสัตว์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ที่ยอมรับว่า การนำสัตว์มาเลี้ยงไว้ในร้านอาหารหรือคาเฟ่สัตว์เลี้ยง กรมปศุสัตว์ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงจุดนี้ มีเพียงพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์กำกับ หากมีการร้องเรียนเข้ามาก็จะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแล แต่หากเจ้าของดูแลไม่ดี ปล่อยปละละเลยให้อดอยากก็อาจเข้าข่ายทารุณกรรมสัตว์ได้

     อย่างไรก็ตามเรื่องสุขอนามัยก็สำคัญ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งเจ้าของกิจการและลูกค้า เพื่อป้องกันในเรื่องโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะโรคติดเชื้อหลักๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งทางร้านจำเป็นต้องนำสัตว์ไปฉีดวัคซีนประจำปีเพื่อป้องกันโรค ในขณะที่ผู้เข้าไปใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยงก็ควรระมัดระวังไม่ให้สัตว์กัดหรือเลีย 

    ส่วนการเปิดร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง สัตว์แปลกที่ถูกกฎหมายนั้น นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า คาเฟ่สัตว์เลี้ยงจัดเป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น (กรุงเทพมหานคร, เทศบาล, สุขาภิบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา) ดังนั้นผู้ประกอบกิจการจะต้องยึดถือข้อกฎหมายทั้ง 15 ข้ออย่างเคร่งครัดโดยต้องขออนุญาตจดทะเบียนการค้ากับทางสำนักงานเขต   ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพมหานครแจ้งว่า สามารถมาจดทะเบียนการค้าได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตหน่วยงานอื่น 

     การประกอบกิจการดังกลาวเมื่อพิจารณาแลว หากพบวาเขาขาย “สถานที่จําหนายอาหาร” ตามกฎหมายสาธารณสุข ราชการสวนทองถิ่น โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 40 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกขอกําหนดของทองถิ่นกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับสุขลักษณะของสถานที่ปรุงประกอบอาหาร บริเวณสถานที่จําหนายอาหาร หลักเกณฑเกี่ยวกับการปองกันโรคติดตอที่อาจเกิดขึ้น เพื่อควบคุมดูแลสถานที่จําหนายอาหาร 

     โดยผูประกอบกิจการจะตองปฏิบัติตามขอกําหนดของทองถิ่นและตองไดรับอนุญาตจากเจาพนักงานทองถิ่น กอนการประกอบกิจการ หากฝาฝนตองระวางโทษจําคุกไมเกิน 6 เดือน หรือปรับไมเกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ส่วนผูบริโภคหรือประชาชนที่อาศัยอยูขางเคียงผูไดรับผลกระทบจากการประกอบกิจการของสถานที่จําหนายอาหารลักษณะดังกลาว สามารถแจงตอเจาพนักงานทองถิ่นหรือเจาพนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ตั้งของสถานประกอบกิจการนั้น เพื่อดําเนินการควบคุมดูแลใหปฏิบัติถูกตองตามกฎหมายสาธารณสุขตอไป 

 

“รับไม่ได้” นั่งกินดูสัตว์ในกรง

      สุนทร ฉายวัฒนะ นักวิชาการด้านสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มองว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยในการนำสัตว์ป่าคุ้มครองมาเลี้ยง ไม่ว่าจะตามคาเฟ่สัตว์ ร้านอาหารหรือเลี้ยงทั่วไป เพราะผิดกฎหมาย แต่หากเป็นสัตว์ทั่วไปไม่อยู่ในประเภทคุ้มครองก็สามารถทำได้ แต่ต้องดูความเหมาะสมด้วย เนื่องจากสัตว์ป่าหรือสัตว์แปลกจากต่างถิ่นสมควรอยู่ในป่าหรือสถานที่ที่สมควรอยู่อาศัยไม่ใช่ในกรงสี่เหลี่ยม แม้ว่าจะมีการดูแลสุขภาพสัตว์เหล่านี้เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่เหมาะสมหากนำมาเลี้ยงหรือโชว์เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้านเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ

     ส่วนมุมมองของผู้บริโภค ดร.อธิธันว์ มรรคาอภิสุทธิ์ ประกอบธุรกิจส่วนตัว มองว่า แม้ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน แต่ไม่เห็นด้วยกับคาเฟ่สัตว์เลี้ยง สัตว์แปลก หลังจากที่เคยเข้าไปใช้บริการครั้งหนึ่งที่ร้านอาหารแถวย่านศรีนครินทร์ และรับไม่ได้กับการนำสัตว์มาไว้ในกรงขังสี่เหลี่ยม ถึงแม้จะดูดีและเป็นสิ่งที่ทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าได้ แต่ก็ไม่ควรมาไว้รวมกันไว้ในสถานที่เดียวกัน

     “เท่าที่สังเกตดูส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าฝรั่งนะที่เข้ามาใช้บริการ พวกเขาอาจตื่นเต้นที่ได้เห็นสัตว์แปลกๆ ในระหว่างกินอาหารก็ได้ ส่วนคนไทยที่ไปใช้บริการเท่าที่เห็นส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยรุ่นหรือคนที่ชื่นชอบสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข แมวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วนตัวมองว่าน่าจะหากิจกรรมอื่นมาแทน ไม่ควรเอาสัตว์มาเป็นตัวดึงลูกค้า เพราะอาจติดเชื้อโรคได้โดยไม่รู้ตัว” ผู้บริโภคคนเดิมกล่าวย้ำ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ