คอลัมนิสต์

“สถาบันสิทธิมนุษยชนฯ มหิดล” พวกเขาเป็นใคร “ในความขัดแย้ง”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ท่ามกลางความขัดแย้งเรื่องธรรมกาย สถาบันสิทธิมนุษยชนฯและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาัดค้าน ม.44 จึงเกิดคำถามว่าพวกเขาเป็นใคร ไยเสนอเช่นนี

จากการที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง “การใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2560 เป็นอำนาจเผด็จการและขัดกับหลักนิติธรรม” ทำให้มีเสียงสะท้อนและการตั้งคำถามว่า หน่วยงานแห่งนี้เป็นของใคร รวมถึงมีภาพที่ทาบทับกับนายโคทม อารียา อดีต กกต. อดีตผอ. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี และนักเคลื่อนไหวหรือไม่

 

โดยจากเว็บไซต์ของสถาบันฯ ระบุว่า เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2541) และศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2547) สสมส. โดยศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ปฏิบัติงานในฐานะสถาบันทางวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ศูนย์ฯได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งจัดโครงการอบรมให้แก่นักศึกษา คนทำงานด้านสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมาชิกองค์กรภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

 

ส่วนศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ในฐานะศูนย์วิจัยที่มุ่งเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกอย่างสันติให้กับความขัดแย้งต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส) ศูนย์ฯได้ดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการและโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมหลายโครงการ โครงการเหล่านี้มุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดความพยายามในการร่วมมือกันของฝ่ายต่างๆเพื่อรับมือกับความขัดแย้ง ด้วยการเปิดพื้นที่การสานเสวนาในทุกระดับ หาหนทางลดความรุนแรง และค้นหาความจำเป็นพื้นฐานของชุมชนและสังคม และโครงการเหล่านี้มุ่งนำเสนอนโยบายสาธารณะใหม่ๆ เพื่อแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งและสร้างสังคมที่ ยุติธรรมและสันติ

โดยสถาบันฯทำหน้าที่ทั้ง ทำงานวิจัย รวมถึงเปิดสอนนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก โดยผอ.สถาบันคนแรกคือ ผศ.ปาริชาติ สุวรรณบุปฝา และ ผอ.คนปัจจุบันคือ ดร.เอกพันธ์ ปิณฑวณิช ส่วน นายโคทมนั้น ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของสถาบัน

 “สถาบันสิทธิมนุษยชนฯ มหิดล”  พวกเขาเป็นใคร “ในความขัดแย้ง”

 

ที่ผ่านมา ทางสถาบันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งบางครั้งก็คาบเกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองเช่น การเรียกร้องเรื่องการอุ้มหาย การเรียกร้องเรื่องการปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การรณรงค์เรื่องการใช้กฎหมายให้เป็นธรรม การเรียกร้องด้านสิทธิมนุษยชนเช่น กรณีไผ่ ดาวดิน และการป้องกันความรุนแรง

ส่วนคณาจารย์ที่ อยู่ในสถาบันฯปัจจุบันมี 15 คน โดยตามระบบนั้นหากจะมีการออกแถลงการณ์ใดๆต้องให้อาจารย์ทุกคน รับรองเสียก่อนจึงจะออกเป็นแถลงการณ์ได้

 

อย่างไรก็ตามสำหรับการออกมาดค้าน ม.44 ในครั้งนี้ แหล่งข่าวระบุว่า ช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา วงวิชาการคุยกันว่ารัฐบาลใช้ ม. 44 ถี่ขึ้น จึงต้องทำอะไรสักอย่าง แต่กลับไม่มีใครกล้าพูดอะไร สถาบันจึงออกแถลงการณ์ อย่างก็ตามด้วยระบบที่ต้องขอความเห็นจากอาจารย์ในสถาบันทุกคน เรื่องดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งคิดกัน ณ คืนวันที่มีผู้ผูกคอตาย แต่ทำมาก่อนแล้วเพียงแต่ต้องใช้เวลา แต่ก็ยอมรับว่าประเด็นเรื่องการใช้ ม.44 กับ “ธรรมกาย” ก็เหมอืนเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ต้องออกแถลงการณ์

 

ซึ่งเมื่ออกแถลงการณ์บุคลารของมหาวิทยาลัยมหิดลส่วนหนึ่งก็ไม่พอใจ

 

ทั้งนี้ นายโคทม  ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว “คมชัดลึก” ว่า    ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (ศพส.) มีจุดตั้งต้นในงานสัมมนาวิชาการ ที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานการประชุม ซึ่งในงานวันนั้น มีตัวแทนของ “มหาวิทยาลัยมหิดล” เข้าร่วม ในวันงาน “หมอประเวศ” พูดถึงเกี่ยวกับความรุนแรงและความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งช่วงนั้นมีความรุนแรง มีการลอบทำร้ายข้าราชการและพลเรือน ทั้งชาวพุทธ และมุสลิม หมอประเวศกล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ฐานะสถาบันการศึกษาควรเข้าไปช่วย และใช้องค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในสังคม

 

จากนั้น “นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ช่วงนั้นได้เดินมาและขอให้ ตนช่วยเขียนโครงการชิ้นหนึ่ง ซึ่งผมได้ร่วมกับนักวิชาการเขียนโครงการเพื่อตั้ง ศพส. ขึ้นมา ซึ่งหลังจากที่ผ่านการวิจารณ์ แล้ว อธิการบดีได้ลงนามตั้ง ศูนย์ ศพส. โดยมี ผมเป็นผู้อำนวยการ จากนั้นผมได้ชักชวนนักวิชาการด้านต่างๆ เข้ามาร่วมทำงาน หากเริ่มนับเวลาตั้ง ศพส. จริง จาก2547มาถึงตอนนี้ก็เกือบ13ปี แล้ว

 

หลังการก่อตั้งเมือเดือนพฤศจิกายน2547ได้ทำโครงการการศึกษาและพัฒนา โดยมุ่งหวังคลี่คลายปัญหาและความยัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากวันนั้น ถึงวันนี้เราได้ทำต่อเนื่องมาตลอด แม้จะเปลี่ยนชื่อ ศพส. ไปเป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา หรือ สสมส. แล้ว โดยให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนให้สังคมมีสันติวิธี ทั้งการเป็นสักขีพยานในเหตุการณ์ความรุนแรงและคอยช่วยสังเกตการณ์ พูดคุยกับทุกฝ่าย โดยในพื้นที่ ทาง สสมส. ได้ตั้งศูนย์เล็กในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน ผลงานที่ทำอยู่ อาทิ การจัดกิจกรรมสานเสวนา ทุกๆ2เดือน เพื่อให้นักการเมืองในพื้นที่, อดีตนักโทษความมั่นคง, ทหาร, ชาวพุทธ, ชาวมุสลิม หรือ คู่ขัดแย้งในเหตุการณ์ต่างๆ มาพูดคุยกันเพื่อลดข้อขัดแย้ง” โคทม เล่ารายละเอียด

 

ขณะที่ประเด็นทางการเมือง ที่ “ศพส.” กระโดดเข้าไปคลุก และถูกผู้มีอำนาจรัฐตั้งแง่ว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามนั้น “อดีต ผู้อำนวย ศพส.” เล่าว่า จริงๆ แล้ว ความปรองดองทางการเมืองที่ ศพส. นำเสนอไป เกิดมาจากเพราะการชุมนุมทางการเมือง ช่วง2548ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทย ทางศพส. พยายามเป็นกลไกประสานให้ทั้ง2ฝ่ายได้พูดคุยกัน จนมาถึงการรัฐประหาร เมื่อปี2549ช่วงนั้น ศพส. ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะมีกระบวนการที่ขับเคลื่อนไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

จากนั้นในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ทางศพส. ได้เข้าไปมีบทบาท ด้วยการประสานให้ทุกฝ่าย ได้พูดคุยกัน เช่น ช่วง2553การชุมนุมของกลุ่มนปช. ศพส.ประสานให้คุยกันเงียบๆ แต่เขาอยากออกโทรทัศน์ ทำให้การพูดคุยไม่เป็นผลสำเร็จ ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย ขณะที่การชุมนุมครั้งต่อๆ มา ของกลุ่มกปปส. และเครือข่าย ศพส. มีนักสังเกตการณ์ สักขีพยานสันติวิธี เข้าไปทำงาน แต่ทำแบบเงียบๆ ในระดับพื้นที่ เพื่อลดจุดที่จะเป็นความเสี่ยง

 

ขณะที่บทบาทล่าสุด คือ การคัดค้านการใช้อำนาจมาตรา44ของ คสช. เพราะมองแล้วว่า คสช. ใช้อำนาจแบบพร่ำเพรื่อ ซึ่งไม่ใช่เพราะมูลเหตุที่เขาใช้มาตรานี้กับวัดธรรมกาย ดังนั้นผมขอชี้แจงว่าบทบาทของสถาบันฯ ไม่ใช่สนับสนุนกลุ่มธรรมกาย แต่เหตุผลที่ออกมาช่วงนั้น เพราะเขาใช้อำนาจเกินขอบเขต โดยเฉพาะกรณีสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงาน

“หากสังคมจะมองว่าสถาบันฯ อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล คสช. อาจจะใช่ แต่นั่นเป็นเพราะการใช้อำนาจของรัฐบาลมากกว่าอย่างอื่น สิ่งที่คสช. ทำคือการใช้อำนาจเกินขอบเขต ทั้งที่บางประเด็นหรือปัญหาควรยึดหลักสิทธิมนุษยชนตามปกติ ใช้กระบวนการประชาสังคม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแก้ปัญหา ไม่ใช่ใช้แต่ มาตรา44ดังนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องท้วงติง” โคทม อธิบาย

ขณะที่บทบาทของสถาบันฯ ต่อประเด็นทางการเมือง ที่ถือเป็นบทบาทเด่นในระยะหลังๆ ซึ่งมากกว่าเรื่องภาคใต้ “อ.โคทม” อธิบายความสัมพันธ์ไว้ว่า “ปัญหาขัดแย้งและความรุนแรง ต้องใช้สันติวิธี หากใช้ความรุนแรงไปแก้ไขความรุนแรงจะไม่มีทางเป็นไปได้ อย่างประเด็นภาคใต้ที่มีปัญหา ก็เพราะเรื่องการเมือง เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำ การไม่กระจายอำนาจ การละเมิดสิทธิ ประเด็นทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เพราะที่ผู้มีอำนาจ ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองมีการแย่งชิง ดังนั้นจากภาพจึงเห็นว่าการเมืองเข้ามามีบทบาทสำคัญในปัญหา หากเราจะทำเรื่องสันติวิธี โดยไม่ยกประเด็นการเมือง ก็นึกไม่ออกว่า ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งได้อย่างไร เพราะการเมืองเป็นเรื่องของสวนรวม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว”

-------

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ