คอลัมนิสต์

"อภิสิทธิ์" คุยเฟื่องเรื่อง 'ธรรมกาย'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สภากาแฟยามเช้า กับ “อภิสิทธิ์” ชวนคุยเฟื่องเรื่องธรรมกาย - โรงไฟฟ้า - ปรองดอง  : จักรวาล ส่าเหล่ทู รายงาน

 

            22 ก.พ.60 -- สภากาแฟยามเช้า ถือเป็นวงสนทนาถกเถียงข่าวประจำวัน ที่หลายคนชอบนิยมให้อาหารสมองก่อนที่จะทำงานในเช้าวันใหม่ โดยในเช้าที่ผ่านมา สุทธิชัย หยุ่น พิธีกรรายการข่าวชื่อดัง ได้ชวนคนดังการเมือง อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มาร่วมสภากาแฟ วิเคราะห์ข่าวยามเช้าบนเสริฟ์ร้อนๆให้แฟนข่าวติดตามในเฟซบุ๊ค “Suthichai Yoon” ซึ่งไม่ได้คุยแต่เรื่องการเมืองการปรองดอง หากแต่ชวนคุยกระทู้ร้อนอย่างเรื่องเหตุการณ์ที่วัดธรรมกาย และเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วย

 

ประเด็นร้อนเรื่องวัดธรรมกาย                               

           “ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะจบอย่างไร ซึ่งผมก็ไม่ได้มีความคาดหวังเท่าไหร่ พอเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในวันที่ 28 ก.พ. ก็ต้องยุติการเข้าค้นหา” อดีตนายกฯ เริ่มเปิดประเด็น หลังถูกถามความคาดหวังต่อเหตุการณ์ดังกล่าว 

                                             

เป็นเรื่องแปลกไหมที่มีม.44แล้วทำได้แค่นี้?                 

            จะว่าแปลกก็ได้ เพราะสภาพความเป็นจริงเมื่อดูจากเครือข่ายวัดธรรมกาย จะพบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่วัดจะเติบโตได้ขนาดนี้ เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องของข้อกฎหมาย แต่เป็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ ซึ่งสังคมไทยเรียกร้องคมจริงจังในการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะเดียวกันก็ไม่ชอบเห็นการปะทะ ในขณะที่สังคมก็หวังผลลัพธ์ ซึ่งเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็ตอบโจทย์ที่สังคมต้องการหมด คือเอาจริงจังกับเรื่องนี้ ใช้ ม.44 และส่งตำรวจนับพัน อีกทั้งไม่ค่อยมีการปะทะกัน ส่วนผลลัพธ์นั้น อย่างน้อยก็ทำให้ความเคลือนไหวของพระธัมมชโยหยุดชะงักไป เสรีภาพที่กลุ่มวัดธรรมกายใช้ในทางที่สังคมมองว่าไม่สมควร ก็ถูกจำกัดด้วย 

                        

          แต่จะบอกว่าได้ตัวพระธัมมชโยหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าสังคมไทยบังคับใช้กฎหมายกับคนที่มีอำนาจ มีบารมี อย่างจริงจังไม่ได้ใชหรือไม่? ผมก็เลยมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ก็ประคองสถาณการณ์ไปได้ สิ่งที่จะเกิดขึ่นต่อไปก็คือ ความผิดที่เกี่ยวข้องกับวัดธรรมกายจะมีการดำเนินคดีอย่างไร สักพักความสนใจของสังคมจะมุ่งไปยัง การปกครองของคณะสงฆ์มากกว่า เพราะว่าเรื่องของบ้านเมือง เขาก็เห็นแล้วว่ารัฐเอาจริงแค่ไหน แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดหรอกว่าบุกเข้าวัดแล้วจะเจอตัวเลย

 

"อภิสิทธิ์" คุยเฟื่องเรื่อง 'ธรรมกาย'

 

การที่จับคนๆเดียวไม่ได้ไม่ ถือว่าเป็นเรื่องแปลกหรือเปล่า?                          

           ที่ผ่านมา คนๆเดียวที่สร้างปัญหาให้กับประเทศอย่างมาก เราก็เห็นมาหลายครั้งแล้ว คือบทเรียนสำคัญต้องยอมรับว่า พอมีการสะสมมา การดำเนินการก็ยาก สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ก็มีวามพยายามดำเนินคดีกับวัดธรรมกาย แต่พอมาในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ก็มีการถอนฟ้องออก เลยทำให้เครือข่าววัดธรรมกายมีความเติโต ยากที่จะจัดการ แต่ว่าตอนนี้ก็ต้องถือว่าเป็นการสกัดกั้นเครือข่ายอยู่ 

                   

เข้าสู่เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หลายๆคนนึกว่าจะต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นอย่างนั้นจริงหรือ?

           ผมกำลังสับสนอยู่ว่าท่าทีของรัฐบาลคืออะไร ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด คือรัฐบาลกำลังบอกว่ากระบวนการที่เดินหน้าโครงการนี้ จะรอให้การทำ EIA HIA ให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งก็ทำให้สงสัยว่า ตอนที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติให้เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน หมายความว่ามีทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)หรือยัง ซึ่งจริงๆแล้วก็คือยังไม่เสร็จ ที่บอกว่าเริ่มทำกันใหม่ก็ถูกต้องแล้ว แต่ส่วนนี้เองก็มีการมองคนละแบบ คนที่ไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็มองว่าถ้าผลของรายออกมาว่าไม่ควรใช้โรงไฟฟ้าประเภทนี้ก็ต้องจบ แต่ฝ่ายที่สนับสนุน ยังมีความเชื่อว่า รายงานดังกล่าวทำไปเพื่อกระบวนการสมบูรณ์เฉยๆ ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้

           สิ่งที่ผมพยายามเสนอมาตลอด เราต้องการปก้ปัญหาอะไรบ้าง 1.เราต้องการความมั่นคงด้านพลังงาน เราต้องการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย และนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านน้อยลง ถ้าเป้าหมายเรามีเท่านี้ ก็มีทางเลือกเยอะแยะ แม้ว่านายกฯจะระบุว่านี่ไม่ใช่โครงการใหม่ ก็ถูกต้อง แต่ว่านี่ผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว ซึ่งสภาพทางเศรษฐศาสตร์ของพลังงานได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งผมก็ได้พูดถึงเรื่องของก๊าซธรรมชาติเหลว มั่งคงไม่แพ้โรงไฟฟ้าถ่านหิน และเป็นเทคโนโลยีกำลังเติบโต อีกทั้งเป็นพลังงานที่สะอาดกว่าถ่านหิน ทั้งนี้ที่เราต้องเร่งหาข้อสรุปของโรงไฟฟ้าที่จังหวัดกระบี่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ละเอียดอ่อนสูง 

                           

             ผมเคยดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างพลังงานจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเหลวแล้ว ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ราคาก็ไม่ต่างกันด้วย แถมการก่อสร้างก็ใช้เงินน้อยกว่าและเร็วกว่า ซึ่งเราสามารถทดลองที่พื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลาก่อนได้ เพื่อให้พื้นที่จ.กระบี่ มีเวลาคิดได้ว่า จะใช้พลังงานแบบไหนเพื่อให้เหมาะสมและเป็นมิตรกับพื้นที่ ตอนที่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็เคยมีการเสนอว่า พื้นที่อันดามัน จะกลายเป็นพื้นที่มรดกโลก ผมขอถามว่าจะดีหรือ ที่พื้นที่ดังกล่าวมีเรือขนส่งถ่านหินแล่นในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเราก็ได้ทำหนังสือไปยังนายกฯแล้ว แต่คำตอบที่ได้ก็คือแผนสร้างโรงไฟฟ้าเป็นแผนเดิม อีกประการยังมีคนสบัสนเรื่องก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ถ่านหินก็ยังเป็นพลังงานนำเข้า และพลังงานถ่านหินก็ไม่ใช่พลังงานสะอาด ผมก็ไม่ทราบว่าทำไมต้องยึดมั่นในแผนนี้ด้วย

 

             ที่ผ่านมาผมได้เสนอเรื่องพลังงานมาตลอด แต่ทำไมเวลารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่จาก กฝผ. ไปชี้แจงก็มักจะบอกชาวบ้านว่า ให้เลือกระหว่างถ่านหิน กับไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งการเปรียบเทียบ 2 ประเด็นนี้ผมว่าไร้สาระ ให้เอาความจริงทั้งหลายมาพิจารณาร่วมกันไม่ดีกว่าหรือ แต่ก็ไม่เห็นด้วยที่มีกลุ่มสดโต่งบอกว่าจะไม่ให้มีโรงไฟฟ้าเลย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ 

                             

ในเรื่องของปรองดองหลังจากที่คุยกับคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง(ป.ย.ป.) รู้สึกมีความหวังไหม?

              กระบวนการที่รัฐกำลังทำอยู่ผมก็สนับสุน ที่ผ่านมาผมพยายามเรียกร้องคือ 1.ให้มีเจ้าภาพเดียวในการเดินเรื่องนี้ไปเลย ตอนนี้ก็คือ ป.ย.ป. 2.เขาต้องการจุดเริ่มต้นกระบวนการด้วยการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าตอบโต้กัน ในระหว่างนี้ก็หลีกเลี่ยงการตอบโต้กัน ถ้าผมไปให้สัมภาษณ์วิจารณ์ข้เสนอของพรรคอื่นๆก็จะกลายเป็นปัญหา ทั้งนี้จะตั้งความหวังสูงเกินจริงก็ไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ง่าย โดยกระบวนการรับฟังก็น่าจะสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือน มี.ค. ในขั้นตอนที่กำลังทำได้ดีตอนนี้ ยังถือว่าง่าย ในส่วนขั้นตอนรวบรวมข้อมูลก็ต้องว่ากันอีกที 

                         

ตัวเนื้อหาที่ไปคุยลงรายละเอียดแค่ไหน?

              วันนั้นเราไปคุยกัน 3 ชม. ครึ่ง ซึ่งเขาก็รับฟังอย่างเดียว นั่งจด โดยไม่ออกความเห็น ซึ่งผมก็พูดว่า หลายเรื่องที่ผมเสนออาจจะไม่ถูกใจ แต่เขาอดทนรับฟังก็ดี บรรยากาศในวันนั้นดี และผมก็มั่นใจว่าสิ่งที่ผมเสนอไปก็คงไม่ถูกใจเขาอย่างแน่นอน สิ่งที่เขาทำก็ต้องถือว่าเปิดกว้าง ในของการรวบรวมความคิดเห็นนั้น ส่วนนี้เขามีคณะอนุกรรมการดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง เขาไม่ได้ต่างคนต่างทำงาน ในขณะที่ผมพูดก็มีตัวแทนอีก 3 คณะอนุกรรมการมาฟังด้วย สามารถตีความเองได้ด้วย 

                                           

คิดว่าการปรองดองบรรลุเป้ากี่เปอร์เซ็นต์?

            ต้องถามก่อนว่าอะไรคือความสำเร็จของเรื่องนี้ ซึ่งไม่มีใครรู้หรอกจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะลงข้อเสนอ ลงนามร่วมกัน แต่พอหลังเลือกตั้งกลับมาตีกันเหมือนเดิม ก็ไม่มีอะไร หรือบว่าตอนนี้อาจจะไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม แต่หลังเลือกตั้งกลับสงบก็ได้ กล่าวคือ ปยป. ไม่สามารถบังคับพฤติกรรมของคนในอนาคตได้ ดังนั้นจึเป็นเรื่องการวางรากฐาน ทำความเข้าใจการอยู่ร่วมกันหลังเลหือกตั้งมากกว่า ถ้าเกิดว่าสังคมเห็นว่านี่คือมาตรฐานการอยู่ร่วมกัน แล้วไปกดดันผู้เล่นในระบบการเมือง นี่ก็คือความสำเร็จ ซึ่งก็ไม่มีใครรับรองเรื่องนี้ในอนาคตได้ แต่ถ้ากติกามีเป็นรูปอธรรม ถ้าไม่เคาระกติกาจะต้องเจออะไร ก็ถือว่าเป็นหลักประกันที่ดีที่สุด ตนเป็นแค่กลุ่มคนเล็กๆ แต่จริงๆแล้วการปรองดองก็ต้องขึ้นอยู่กับคนหมู่มาก ซึ่งก็คือประชาชน 

                  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ