คอลัมนิสต์

กรณียุติเวที แอมเนสตี้ : การคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(รายงานพิเศษ) การยุติการจัดเวทีสัมมนา ของแอมเนสตี้ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การทรมานในไทย โดยใชเหตุผลว่าผู้รายงานไม่มีใบอนุญาตทำงาน โดย จักรวาล ส่าเหล่ทู

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากจะมีเตำรวจสันติบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาร่วมในงานเสวนาต่างๆ ที่หัวข้อมีเอี่ยวเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองไทยช่วงนี้ 

    แต่กับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าสร้างความแปลกใจไม่น้อย ซึ่งวานนี้ (28 ก.ย) เมื่อ “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล” ได้เตรียมเผยแพร่รายงาน "บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้ : การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายภายในประเทศไทย" (Make Him Speak by Tomorrow: Torture and Other Ill-Treatment in Thailand)  แต่ก็กลับมาการระงับงานดังกล่าว โดยทางเจ้าหน้าที่จากสันติบาล และกรมแรงงานได้ระบุว่าวิทยากรของแอมเนสตี้ ไม่มีใบอนุญาตทำงานในไทย 

    พวกเขาบอกว่า "ไม่ได้ห้ามจัดงาน" แต่ถ้าวิทยากรขึ้นพูดบนเวทีอาจเสี่ยงถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแรงงานของไทยได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวพาทำให้ผู้เข้าร่วมงาน กับสื่อมวลชน พากันเกาหัวสงสัยว่าอย่างนี้ก็มีด้วย

    โดยทางเจ้าหน้าที่จากกรมแรงงานระบุว่า การจะเข้ามาร่วมประชุมหรือทำงานอะไร ถ้าเป็นเรื่องงานชั่วคราวไม่เกิน 15 วัน จะต้องขอใบอนุญาตตาม มาตรา 9 ในพ.ร.บ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 แต่ทางเจ้าหน้าที่ย้ำว่าไม่ได้ห้ามจัดงานเผยแพร่งานวิชาการ หากแต่แค่เตือนว่า อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ ก็เหมือนกับการเตือนคนขับรถจักรยานยนต์ ถ้าไม่ใส่หมวกก็ผิดกฎหมาย แต่จะไม่ใส่ก็ได้ หากโดนจับก็ต้องว่าตามผิด

  กรณียุติเวที แอมเนสตี้ : การคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ?


การทำงานของ NGO ไทยที่แสนลำบาก

    ด้าน “ยูวาล กินบาร์” ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เล่าให้ฟังภายหลังการเผยแพร่รายงานถูกยุติลงว่า ตนได้รับแจ้งว่า ไม่มีสิทธิที่จะพูดเนื่องจากไม่มีใบอนุญาติทำงานในไทย ถ้าเกิดพูดในงานนี้อาจจะถูกจับได้ แต่สิ่งสำคัญที่เขาอยากพูดนั้นคือตัวรายงาน ไม่ใช่สถานการณ์ในวันนี้
 
    “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ ก็เป็นเหมือนแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ใจความสำคัญคือตนได้ค้นคว้า หาข้อมูลที่ได้ออกมา ซึ่งมีรายละเอียดแสดงให้เห็นว่ามีการทรมานเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และก็ได้มีข้อเสนอว่ารัฐบาลไทยควรจะต้องทำอย่างไร ผมหวังว่าการห้ามดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากการที่รัฐบาลไม่อยากฟังการวิจารณ์ ซึ่งในช่วงสองถึงสามวันที่ผ่านมาก็ได้คุยกับทางการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงหลายครั้ง โดยเราระบุว่ารายงานนี้ไม่ได้เพียงแต่มุ่งหวังจะบอกว่าใครคือคนผิด แต่เพื่อที่จะมีข้อเสนอแนะว่า ควรทำอย่างไรไม่ให้มีการทรมานเกิดขึ้น” 

    นอกจากนี้ "ยูวาล" ยังได้กล่าวอีกว่า ตนมีความห่วงต่อ NGO ไทยในการทำงาน เพราะอย่างที่ทราบกันมี NGO ไทย 3 คน (สมชาย หอมลออ, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และอัญชนา หีมมิหน๊ะ) ที่กำลังถูกฟ้องหมิ่นประมาททางอาญา ในการที่ไปเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการทรมานผู้ต้องหา 3 จัหวัดชายแดนใต้ ซึ่งรายงานชิ้นนี้ไม่ได้จำกัดของภาคใต้ แต่มีเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายทั่วๆไปของตำรวจด้วย ซึ่งประสบการณ์เปล่านี้ สมควรได้เป็นที่รับรู้ของสังม เพราะว่าการที่จะปิดปากผู้ถูกกระทำ ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา

กรณียุติเวที แอมเนสตี้ : การคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ?

การตีความกฎหมาย เพื่อคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ

    “จากเหตุการณ์ดังกล่าวต้องถามกลับว่า ตอนที่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานไปพูดที่เวทีต่างประเทศ ท่านต้องขอใบอนุญาตไหม หรือท่านนายกฯไปพูดที่ยูเอ็น ท่านมีใบอนุญาตทำงานหรือไม่ โดยหลักการการทำงานแล้วก็ต้องมีนายจ้างมีขั้นตอน แต่นี่เขามาเพื่อที่จะพูดแสดงในงานศึกษาด้านวิชาการ ซึ่งทางรัฐก็ควรจะรับฟังข้อเท็จจริงในเชิงวิชาการ ซึ่งการทำงานควรที่จะเปิดใจกว้าง อีกทั้งตัววิทยากรก็ไม่ได้มีรายได้ด้วย โดยทางรัฐเองก็ควรจะเปิดให้หน่วยงานระหว่างประเทศอย่างแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้แสดงผลงานของเขาอย่างมีอิสระ ไม่เช่นนั้นจะหลายเป็นการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ” สุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ชี้ให้เห็นว่านี่คือหนึ่งในกระบวนการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ

    นอกจากนี้ สุรพงษ์ เล่าต่อไปว่า ซึ่งการที่เจ้าหน้าที่ระบุว่า การที่วิทยากรพูดในงาน ถือเป็นการทำงานในประเทศนั้น เป็นการตีความกฎหมายเพื่อคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ ขอยกตัวอย่างกรณีของ อานดี้ ฮอลล์ นักปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ ที่เผยแพร่งานศึกษาของโรงงานแห่งหนึ่งที่ดูแลลูกจ้างไม่ดี ซึ่งสุดท้ายก็ถูกทางโรงงานฟ้องศาล จนศาลชั้นต้นตัดสินว่าเขามีความผิดฐานหมิ่นประมาท เรื่องนี้ก็คือการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ โดยแอมเนสตี้ ก็ถือว่าเป็นนักสิทธิมนุษยชน ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งรัฐเองก็ควรที่จะรับฟัง และนำไปสู่การแก้ไข ไม่ใช่เข้าไปคุกคามหรือไปกล่าวหา หรือไปฟ้องศาล กับ NGO ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการคุกคามผู้ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน 
 
    “ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองเรากำลังที่จะเดินหน้าต่อไป ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามผ่อนคลายหลายๆเรื่องลง โดยเรื่องงานวิชาการทางรัฐบาลก็ควรออกนโยบายชัดเจนเพื่อเปิดกว้างมากกว่านี้ หากมีการควบคุมคนน้อยลง ก็จะนำไปสู่โร้ดแมพที่รัฐบาลวางไว้ให้เดินหน้าไปได้ ขอยืนยันว่าการพูดในงานเสวนาไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายแรงงานอยู่แล้ว การพยายามปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไป ไม่ได้อยู่แล้วในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย”
 
    นี่ถือเป็นอีกเหตุการณ์ที่ตีความได้ว่าเป็นการพยายามตีความกฎหมาย เพื่อจำกัดเสรีภาพการพูดในหัวข้อที่อาจส่งผลด้านลบต่อรัฐบาล ซึ่งยังมีอีกหลายๆงานเสวนาหรืองานเผยแพร่วิชาการถูกห้ามจัด เพราะถูกระบุว่าสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคง หากประเทศจะเดินหน้าสู่กรปฏิรูป พัฒนาในระยะยาวแล้ว การรับฟังความเห็นต่าง ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ หากฟังแต่คำชม การพัฒนาก็คงไม่ยั่งยืน
---------

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ