ข่าว

16 จังหวัดรับเต็มๆลูกใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สทนช.เฝ้าระวัง  16 จว.แนวพายุลูกใหม่ คาดน้ำล้นตลิ่ง3-6ก.ย.นี้ทุกลำน้ำภาคเหนือ อีสาน เตือนจังหวัดริมแม่น้ำโขง รับผลกระทบระดับน้ำแม่โขงสูงขึ้นต่อเนื่องร่วมผสมโรง

 


           2 ก.ย.62-นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจว่า จากการติดตามสถานการณ์พายุระดับ 2 ดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 3 พายุโซนร้อน ส่งผลให้ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และพื้นที่ประสบอุทกภัยจากพายุโพดุล คาดว่าจะมีน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 3- 6 ก.ย.นี้ ใน 16 จังหวัดบริเวณภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

 

16 จังหวัดรับเต็มๆลูกใหม่

          ได้แก่ แม่น้ำยม จ.แพร่  ลำน้ำปาด  จ.อุตรดิตถ์  แม่น้ำน่าน จ.พิษณุโลก  ลำน้ำเข็ก จ.พิษณุโลก  แม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์  ลำน้ำห้วยหลวง จ.อุดรธานี แม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร  ลำน้ำยัง จ.กาฬสินธุ์ จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร  ลำเซบาย จ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี แม่น้ำโขง ตั้งแต่ จ.นครพนม มุกดาหาร โขงเจียม แนวโน้มเพิ่มขึ้น  ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง
 

 

 

16 จังหวัดรับเต็มๆลูกใหม่

                ล่าสุดมีปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนจากอิทธิพลพายุโพดุล รวม 38 แห่ง ได้น้ำ 2,500 ล้าน ลบ.ม. เช่น ภาคเหนือ 849 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 57 ล้าน ลบ.ม. ภาคอีสาน 706 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 52 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 695 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 140 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเขื่อนแม่มอก มีน้ำเพิ่มขึ้นจนพ้นวิกฤติ พร้อมกับเฝ้าระวังเขื่อนน้ำมาก คือเขื่อนศรีนครินทร์ และหนองหาร จ.อุดรธานี ทั้งนี้คาดว่าระยะ 1-3 วันนี้ ได้น้ำไหลเข้าแหล่งน้ำอีก2พันล้าน ลบ.ม.

 

                      16 จังหวัดรับเต็มๆลูกใหม่

 

               ขณะที่เขื่อนขนาดกลางมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 744 ล้าน ลบ.ม. ทำให้เขื่อน 141 แห่ง พ้นวิกฤติ และมีน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 30-60% จำนวน 29 แห่ง แต่มีแหล่งน้ำ อีก 13 แห่งที่ยังมีน้ำไหลเข้าน้อยและอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ คลองสียัด เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนกระเสียว บึงบอระเพ็ด และเขื่อนทับเสลา ส่วนปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนขนาดใหญ่ลุ่มเจ้าพระยา มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้น  ได้ให้เขื่อนทางภาคเหนือปรับลดการระบายน้ำลง เพื่อควบคุมการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 500 ล้าน ลบ.ม./วินาที ลดผลกระทบกับพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.อ่างทอง อยุธยาได้ โดยกรมชลประทาน ได้ปรับระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ที่ 397 ลบ.ม./วินาที 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ