ข่าว

"เลื่อนสั่งคดี"โกงเเชร์ 600 ล้านอดีตผบก.เลย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อัยการเลื่อนสั่งคดี"ผู้ต้องหาคดีโกงเเชร์ 600 ล้านอดีตผบก.เลย–อัยการ-ผู้พิพากษามีชื่อเอี่ยวด้วย รองโฆษกอัยการเผยยังรอผลสอบเพิ่มหลายประเด็น นัดอีกครั้งเช้า

 

8 สิงหาคม 2562  "นายประยุทธ เพชรคุณ" รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึง การนัดฟังคำสั่งคดีร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิด พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527  

 

 

ที่กล่าวหา "น.ส.ธิญาดา หรือนุช วิภาวรกานต์" ผู้ต้องหาที่ 1 กับผู้ต้องร่วมรวม 29 รายที่มีบุคคลในสายอาชีพกระบวนการยุติธรรมรวมอยู่ด้วย กรณีเรียกระดมทุนลักษณะแชร์ โดยอ้างว่าหากนำเงินมาลงทุน จะได้รับผลตอบแทน 4% จากเงินลงทุนต่อสัปดาห์ว่า ภายหลังอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร รับสำนวนมาจากพนักงานสอบสวนแล้ว ก็มีความเห็นให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมในหลายประเด็น ซึ่งยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น ในวันนี้อัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจฯ จึงเลื่อนนัดการสั่งคดีออกไปก่อน โดยกำหนดนัดฟังคำสั่งคดีอีกครั้งช่วงเช้า วันที่ 10 ก.ย.นี้

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.62 "พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม" รอง ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดี ได้นำสำนวนการสอบสวนพยานกลักฐาน จำนวน 212 แฟ้มความหนา 72,560 เเผ่น รวม 48 ลัง และตัวผู้ต้องหา พร้อมเห็นควรสั่งฟ้อง "น.ส.ธิญาดา หรือนุช" ผู้ต้องหาที่ 1 และพวกรวม 29 ราย ที่มีพล.ต.ต.สุทิพย์ ผลิตกุศลธัช อดีต ผบก.ภ.จว.เลย และข้าราชการอื่นในกระบวนการยุติธรรมสายอาชีพอัยการและผู้พิพากษาประมาณ 5 คน

 

ตกเป็นผู้ต้องหาร่วมด้วย มาส่งให้ "นายวิชาญ ธรรมสุจริตกุล" อธิบดีอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร เพื่อพิจาณาสั่งคดีในข้อกล่าวหาฐานร่วมกันกู้ยืมเงิน อันเป็น พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับคดีนี้ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหา 5 ราย (คดีนี้พนักงานสอบสวน มีความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้อง 5 ราย  

 

 

โดยเห็นสมควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด 30 รายแต่มีผู้ต้องหา 1 รายหลบหนีไปก่อน ชั้นอัยการผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์  เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเอง) โดยนัดสั่งคดีครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา 

 

ซึ่งเหตุกล่าวหาเรื่องนี้ สืบเนื่องช่วงปี 2556 กลุ่มผู้ต้องหาเรียกระดมทุนลักษณะแชร์อ้างว่าหากนำเงินมาลงทุน จะได้รับผลตอบแทน 4% จากเงินลงทุนต่อสัปดาห์ จนมีชาวบ้านหลงเชื่อ โดยวิธีการการระดมทุนนั้น ได้นำเงินของผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ มาหมุนเวียนเป็นรายได้ให้แก่ผู้ร่วมลงทุนรายแรกๆ แต่ภายหลังการเงินทุนดังกล่าวต้องยุติเนื่องจากไม่มีเงินทุนหมุนเวียนมาจ่ายให้ผู้ร่วมลงทุนอีก ซึ่งกลุ่มผู้ต้องหายังได้ไปชักชวน พล.ต.ต.สุทิพย์ ผลิตกุศลธัช รอง ผบช.สำนักงานกำลังพล (อดีตรอง ผบช.สกพ.)  และอดีต ผบก.ภ.จว.เลย ขณะนั้นเกิดเหตุ ให้ชักชวนกลุ่มตำรวจนำเงินมาลงทุนในกองทุนดังกล่าวด้วย

 

โดยใช้วิธีการกู้เงินจากโครงการรวมหนี้และโครงการบริหารหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจภูธร จ.เลย รวมกว่า 200 ล้านบาท เพื่อนำกู้ส่วนนั้น มาเป็นรายได้การทำแชร์ ขณะที่ภายหลังกลุ่มผู้เสียหายในส่วนของประชาชนที่ถูกลวงมาลงทุน และตำรวจที่ต้องกู้เงินจากสหกรณ์มานั้น ไม่ได้รับเงินคืน เกิดเป็นความเสียหายรวมกว่า 600 ล้านบาท กระทั่งมีนายตำรวจชั้นยศ ร.ต.ต.รายหนึ่ง ใน จ.เลยถึงกับฆ่าตัวตายเนื่องจากได้กู้ยืมไปลงทุนจำนวนมากกับโครงการดังกล่าว แต่ไม่ได้รับผลตอบแทนคืน จนมีหนี้สินจำนวนมาก 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ