ข่าว

'สมาคมรัฐธรรมนูญฯ' หนุน 3 กสม.ทำหน้าที่ต่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 สมาคมรัฐธรรมนูญฯ หนุน 3 กสม.ปฏิบัติหน้าที่ต่อตามกฎหมาย ซัดข้อเรียกร้อง "ครป." ไม่ยึดหลักกฎหมาย

        ตามที่นางเตือนใจ ดีเทศน์ และนางอังคณา นีละไพจิตร ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และต่อมาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และองค์กรเครือข่ายได้ออกมาเรียกร้องให้นายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม. ,นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ และนางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กสม. ลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างว่า กสม.ที่เหลือไม่สามารถทำงานได้นั้น

 

 

                       'สมาคมรัฐธรรมนูญฯ' หนุน 3 กสม.ทำหน้าที่ต่อ

         

          เมื่อวันที่ 6 ส.ค. นายชาตวิทย์ มงคลแสน นายกสมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย (สร.พป.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (5 ส.ค.) ตนได้ทำจดหมายเปิดผนึกกราบเรียนประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานวุฒิสภา สองท่านแรกเป็นกรรมการสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสรรหารอบที่ 3 ส่วนวุฒิสภาเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น กสม.ชุดใหม่ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ประธานทั้งสามองค์กรได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญปี 2560 และ พ.ร.ป.กสม. ปี 2560 เป็นสำคัญ

'สมาคมรัฐธรรมนูญฯ' หนุน 3 กสม.ทำหน้าที่ต่อ

'สมาคมรัฐธรรมนูญฯ' หนุน 3 กสม.ทำหน้าที่ต่อ

      นายก สร.พป. กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นว่า 1.ประธาน กสม. และ กสม.ที่เหลือได้พ้นจากตำแหน่งไปตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. 2560 ตาม พ.ร.ป.กสม. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง แต่ความในตอนท้ายบัญญัติให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า กสม.ชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ปัจจุบันจึงไม่มีตำแหน่งให้ลาออกแล้ว ส่วนการลาออกจากหน้าที่ที่กฎหมายมอบหมายให้ปฏิบัตินั้น เป็นสิทธิส่วนบุคคล กรณีข้อเรียกร้องให้ กสม.ทั้งสามลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลแล้ว ยังทำให้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องขาด กสม. ที่จะทำหน้าที่ประชุมลงมติรับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ตรวจสอบ หรือออกรายงานการตรวจสอบและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติในภาพรวม

     “ข้อเรียกร้องให้ กสม.ทั้งสามลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งที่ยังสามารถปฏิบัติได้ จึงเป็นการเรียกร้องให้ กสม.ที่เหลือละทิ้งหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติ ในระหว่างที่กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลมาดำรงตำแหน่ง กสม.ชุดใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ และไม่อาจคาดคะเนได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน” นายชาตวิทย์ ระบุ

       นายชาตวิทย์ กล่าวต่อว่า 2.การแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับ กสม. มาทำหน้าที่เป็น กสม.ชั่วคราวในกรณีนี้ เป็นหน้าที่และอำนาจของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด ตาม พ.ร.ป.กสม. มาตรา 60 วรรคสาม ประกอบมาตรา 22 ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ตามกฎหมายที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่คล้ายคลึงกันในอดีต จึงชอบด้วยเหตุผลและเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน และเป็นหน้าที่ของประธาน กสม. ในการแจ้งให้ประธานศาลทั้งสองได้พิจารณา หาใช่การยืดอายุการทำงานของ กสม. 3 คนที่เหลือตามที่ ครป. กล่าวอ้าง

         นายชาตวิทย์ กล่าวด้วยว่า 3.วุฒิสภาเป็นองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายในการให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อเป็น กสม. และย่อมมีอำนาจตรวจสอบก่อนใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบ เมื่อลงมติเห็นชอบแล้วประธานวุฒิสภาจะเป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งประธาน กสม. และ กสม. และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ส่วนการให้ความเห็นชอบว่าที่ กสม. 2 คนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ผ่านมานั้น เป็นการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็น กสม.ด้านที่ 4 คือ มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานภาครัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งผ่านการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาฯ ไม่ใช่เป็นการแต่งตั้งข้าราชการเกษียณที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านสิทธิตามที่ ครป. กล่าวหา อีกทั้งข้อเสนออื่น ๆ ของ ครป. ก็ไม่มีกฎหมายรองรับและปราศจากเหตุผล

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ