ข่าว

ผู้ประกอบการน้ำยางพารา ยื่นฟ้อง "ผู้ตรวจ ก.เกษตร"-10 ขรก.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ผู้ประกอบการ" บอก น่าสงสัยออกใบรับรองมาตรฐาน เอื้อประโยชน์ล็อคสเปก ศาลนัดฟังคำสั่งรับ-ไม่รับคดีไว้ไต่สวน 20 ส.ค.นี้

 

             1 ส.ค.62-ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี เมื่อเวลา 13.00 น. "น.ส.สุพัตรา นามลักษณ์" และ "น.ส.ช่อฉัตร โตชูวงศ์" กรรมการบริษัท เอสพี ก่อสร้างรุ่งเรือง จำกัด ผู้ประกอบการน้ำยางพาราภาคตะวันออก ได้มายื่นฟ้อง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองมาตรฐานวัสดุน้ำอย่างผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่มสำหรับการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ กับพวกรวม 10 คนข้าราชการการยางแห่งประเทศไทย , กรมทางหลวง , กรมทางหลวงชนบท , กรมชลประทาน , กระทรวงกลาโหม เป็นจำเลย ในความผิดปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ กรณีร่วมกันพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐานน้ำยางพาราผสมเพิ่มสำหรับทำถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพดำน้ำยาง ให้แก่ 3 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทมีสถานที่ประกอบการอยู่ที่เดียวกันและถือหุ้นไขว้กัน

           ซึ่ง ศาลรับเอกสารคำฟ้องไว้ตรวจดู่ายละเอียดเพื่อมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องในวันที่ 20 ส.ค.นี้ต่อไปว่าจะรับคำฟ้องนี้ไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องโจทก์หรือไม่ จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง

           โดยการเดินทางยื่นฟ้อง 2 กรรมการผู้ปนะกอบการน้ำยาง ได้สรุปพฤติการณ์ความเป็นมาว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการรับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราเพื่อทำถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงด้วยน้ำยางธรรมชาติ ในการพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐานน้ำยางให้แก่ผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำยางฯ แต่กลับพบว่าคณะอนุกรรมการที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตและเก็บตัวอย่างน้ำยาง ไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ เรื่องหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตและรับรองมาตรฐานวัสดุและคู่มือการปฎิบัติการควบคุมคุณภาพและรับรองมาตรฐานวัสดุ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้เก็บตัวอย่างน้ำอย่างไปทดสอบทางวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ซึ่งตามหลักเกณฑ์เฉพาะและคู่มือการปฎิบัติงานได้กำหนดไว้ว่าให้ส่งที่ห้องปฏิบัติการ สำนักวิเคราะห์และทดสอบกรมทางหลวงเท่านั้น 

ผู้ประกอบการน้ำยางพารา ยื่นฟ้อง "ผู้ตรวจ ก.เกษตร"-10 ขรก.

           ซึ่งการทดสอบของ มทส.ได้กระทำโดยผิดหลักวิชาการ และยังมีพิรุธเกี่ยวกับระยะเวลาและวิธีในการทำก้อนดินตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบ ของ มทส.ที่น่าจะไม่ถูกต้องตามคู่มือ และลัดขั้นตอน ทำให้ผลการทดสอบที่ออกมาคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ไม่ผ่านการทดสอบ แต่ 3 บริษัทที่มีชื่อกับผ่านการทดสอบทางวิศวกรรม ซึ่งทั้ง 3 บริษัทที่ผ่านการทดสอบ มีสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีกรรมการหรือผู้ถือหุ้นไขว้กันอยู่ 

           ขณะที่ การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการรับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยาง ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 3 พ.ค.62 ที่คณะกรรมการฯ จำเลยในคดีนี้ได้ร่วมกันพิจารณารายงานผลการทดสอบทางวิศวกรรมของ มทส.ทั้งิ2 ครั้ง และมีมติรับรองมาตรฐานของ 3 บริษัท กับยังมีมติให้โจทก์และผู้ยื่นคำขออื่น ไม่ผ่านการทดสอบ ซึ่งภายหลังที่ทั้ง 3 บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน "การยางแห่งประเทศไทย" ได้ออกหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานราชการ เช่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น , กรมชลประทาน ในลักษณะที่เร่งด่วน ซึ่งไม่น่าจะชอบด้วยระเบียบงานสารบัญ แล้วหน่วยงานที่รับหนังสือก็ได้ทำหนังสือเวียนต่อ ไปยังหน่วยงานย่อย จนทำให้มีการออกขอบเขตของการจ้างงาน (TOR) หรือคุณสมบัติ หรือเงื่อนไขที่ผู้เสนอราคาโครงการก่อสร้างดินซิเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยน้ำยางธรรมชาติ ต้องแนบเอกสารรับรองคุณสมบัติยางพาราผสมเพิ่มฯ จากคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานวัสดุ ที่จะมีเพียง3 บริษัทที่มีชื่อเท่านั้น โดยปัจจุบันมีการขึ้นราคาวัสดุน้ำยางให้มีราคาสูงอันเป็นภาระแก่ผู้ประกอบการ

           นอกจากนี้ "การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)" ยังได้ทำหนังสือปี 2561 แจ้งไปยัง ผู้บัญชาการทหารบก (กรมการทหารช่าง) ในเรื่องขอความอนุเคราะห์ให้หน่วยงานและผู้รับจ้างของหน่วยงาน ได้ตรวจสอบว่าสถาบันเกษตรกรมีศักยภาพในการผลิตยางได้ตามจำนวนที่ต้องการใช้งานหรือไม่ เพราะโครงการเสริมการใช้อย่างภาครัฐโดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง จะตรวจสอบย้อนหลังว่ามีศักยภาพการผลิตจริงหรือไม่ และได้ใช้ยางพาราตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งจะรายงานให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบต่อไป โดย กยท. มีพฤติกรรมคล้ายล็อกสเปก นอกจากนี้หน่วยงานทหารบางหน่วย ยังได้มีการจัดซื้อน้ำยางจากบริษัทเหล่านี้โดยทำการแบ่งซื้อแบ่งจ้างเร่งรัดดำเนินการโดยมิชอบด้วย พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 การกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่เป็น 1 ในผู้ประกอบการค้าน้ำยาง และยังทำให้เกิดการผูกขาด ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา สร้างความเสียหายแก่ระบบจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งเกษตรชาวสวนยางไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการงบประมาณของรัฐ

           โดยก่อนหน้านี้โจทก์ ได้ยื่นเรื่อง ต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ ป.ป.ช.เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเอาผิดผู้เกี่ยวข้องว่าเข้าข่ายฮั้วประมูลหรือไม่ กับเคยร้องเรียนให้ผู้ว่าฯ อยุธยา เพื่อขอตรวจสอบข้อเท็จจริง กยท.ประกาศรายชื่อบริษัทผ่านการรับรอง ซึ่งผู้ว่าฯ อยุธยา ทำหนังสือตอบกลับว่าได้ประสานร้องเรียนเรื่องนี้ ไปยัง "สำนักนายกรัฐมนตรี" เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามอำนาจหน้าที่แล้ว 

           ภายหลังการยื่นฟ้อง "น.ส.ช่อฉัตร" กล่าวว่า ตั้งแต่เรื่องการตรวจคุณสมบัติซึ่งจะต้องมีการตรวจ ที่กรมทางหลวง แต่คณะกรรมการดังกล่าว กลับให้นำไปตรวจมาตรฐานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนด

           อีกทั้งบริษัทที่ผ่านการตรวจมาตรฐาน ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรอง เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมโยงกัน หรือเรียกว่าบริษัทเดียวกัน โดยการไม่ผ่านมาตรฐานให้บริษัทตน หรือบริษัทอื่นๆ แต่กลับผ่านให้เฉพาะ 3 บริษัทดังกล่าว จะถือว่าบริษัทตนเเละบริษัทอื่นไม่ได้มาตรฐานหรืออย่างไร ทั้งที่บริษัทตนก็ได้ ISO 

           อยากฝากถาม คณะกรรมการดังกล่าว ว่าเคยไปดูหรือไม่ว่า 3 บริษัทที่ผ่านมาตรฐาน เคยได้ทำงานวิจัยจริงๆหรือมีถนนต้นเเบบ หรือทำถนนยางพารามาก่อนหรือไม่ 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ