ข่าว

คุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมการข้าวคุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค จับมือจิสด้าเดินหน้าออกแบบปลูกข้าวรายแปลง บิ๊กดาต้าข้อมูลเกษตรกร

 

11 กรกฎาคม 2562 นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวถึงแนวทางการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์รวมทั้งการให้อนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ว่า กรมการข้าวให้ความสำคัญในการตรวจสอบมาตรฐานข้าวและรับรองพันธุ์  

 

รวมทั้งการมีบทบาทในการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีต่อเกษตรกรของประเทศ เพื่อให้ได้คุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งผู้ปลูกหรือเกษตรกรต้องปฏิบัติตามมาตรฐานจีเอพีโดยเฉพาะการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยการผลิตต่าง  ๆ  ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำที่ต้องมีความปลอดภัยจากเคมีทั้งสิ้น แต่ในส่วนประกอบอื่น ๆ ก็มีความสำคัญเช่นกันเช่นโรงสีก็ต้องมีมาตรฐานจีเอ็มพี เพื่อยกระดับให้ได้รับมาตรฐานตัวคิวที่มีคุณภาพและร่วมกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเช่นการตลาด ที่กระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาดูแล 

 

คุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว

 

"กระบวนการการผลิตข้าวจีเอพีและข้าวพันธุ์แท้กว่าจะได้รับมาตรฐานตัวคิวเราจะต้องดูจากต้นทาง ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจัยการผลิต ต่าง ๆ จนกระทั่งการรับรองว่าไม่มีสิ่งปลอมปนใด ๆ สำหรับประเทศไทยมีความต้องการบริโภคข้าวจำนวนมากโดยเฉพาะข้าวคุณภาพที่จะต้องมีความปลอดสารคมี  ทำให้ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของข้าวให้มีความปลอดภัยตั้งแต่เป็นแหล่งปลูกไปจนถึงโรงสี บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์ ที่สำคัญถือเป็นการเผยแพร่แหล่งความรู้โดยกรมการข้าวจะต้องดูแลทั้งดูระบบ และเป็นจุดเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ปลูกข้าวอินทรีย์และชาวนาไปสู่ผู้บริโภค"

 

คุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว  

ขณะนี้กรมการข้าวได้ร่วมกับจิสด้าในการออกแบบการปลูกข้าวรายแปลงเพื่อให้มีข้อมูลรายละเอียดของเกษตรกรแต่ละรายว่าดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อประโยนช์ต่อเกษตรกร และกรมเอง ก็จะได้มีฐานข้อมูลเกษตรกร ที่เป็นบิ๊กดาต้า มีความจำเป็นต่อการสร้างมาตรฐานการผลิตข้าวให้เป็นที่ยอมรับ  โดยจะดำเนินการในแปลงใหญ่ 2,700 แปลง รวมถึงแปลงเล็ก ๆ ต่อไป ทั้งนี้แต่ละปีจะมีการปลูกข้าว 59 ล้านไร่สำหรับนาปี ผลผลิต 34 ล้านตันข้าวเปลือก 25 ล้านตันข้าวสาร และมีการส่งออกต่างประเทศ 10 ล้านตัน   

 

คุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว

 

ข้าวพันธุ์แท้มีประโยชน์สำคัญกับเกษตรที่ต่างชาติจะให้การยอมรับ มีความเชื่อมั่น ตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจ ด้วยเครื่องหมายรับรองต่าง ๆ  ทั้งนี้เรามีข้าวหลากหลายชนิดประเภทให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทาน เพราะแต่ละคนอาจมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน เช่นข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม แต่ผลผลิตไม่เทียบเท่ากับข้าวหอม นอกจากนี้ยังมีข้าวขาว ข้าวพื้นนุ่ม ที่อาจผลิตน้อยแต่ต่างประเทศมีความต้องการ  เช่นพันธุ์กข. 77 แต่ไม่ต้านทานต่อแมลง จึงก็ได้ปรับปรุงพันธุ์เป็นกข.79 

 

พร้อมปรับเปลี่ยนปลูกข้าวอินทรีย์

 

คุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว

 

นางบุปผา โคตรทิพย์ และ นางสาวนงชนก โสลำภา  เกษตรกรบ้านหนองช้าง ม.5 ต.หนองแวง อ.เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ต่างบอกว่า ทราบมาว่ากรมการข้าวมีโครงการให้ปลูกข้าวอินทรีย์ จึงได้ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวแบบเดิมเนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์ มากกว่า ทั้งราคาดีและความปลอดภัย ช่วยลดต้นทุนการผลิตซึ่งปัจจัยการผลิตบางอย่างเราสามารถทำได้เองเช่นปุ๋ยคอก และก่อนหน้านี้มีชาวนาในพื้นที่อื่นปลูกข้าวอินทรีย์ได้ผลมาแล้ว โดยได้ผลผลิตมากขึ้น  ต้นทุนการผลิตลดลง ข้าวมีคุณภาพดี  หอมนุ่ม ได้ราคาดีถึงกก.ละ 70 บาท 

 

คุมเข้มตรวจสอบคุณภาพข้าว

 

สำหรับตนปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ จากที่ก่อนหน้านี้ปลูกแบบเคมีจะมีค่าใช้จ่ายต่อไร่คือค่าปุ๋ยประมาณ 50 กิโลกรัมเป็นเงิน 550 บาท ใช้เมล็ดพันธุ์ 20 - 25 กิโลกรัม รวมทั้งจะใส่ปุ๋ยอีกครั้งในช่วงที่ข้าวออกรวงที่จะมีค่าใช้จ่าย 700 บาท เนื่องจากการทำนาที่นี่จะเป็นนาน้ำฝน ทำให้ต้องมีเครื่องสูบน้ำและมีค่าใช้จ่าย 500 บาท และขั้นตอนสุดท้ายคือรถเกี่ยวข้าวที่มีค่าใช้อยู่ที่ 600 บาท 

 

"ปีนี้ฝนแล้งหนักกว่าทุกปีที่่ผ่านมาแต่เมื่อได้ตัดสินใจปลูกข้าวอินทรีย์ก็ต้องรอน้ำฝนแม้ว่าจะเสี่ยงแต่ก็ขอทำ เพราะทุกกระบวนการต้องปลอดสารเคมี  รวมทั้งไม่สามารถสูบน้ำจากแหล่งตามปกติได้ แปลงที่ปลูกเองก็ต้องห่างจากชุมชนหรือหมู่บ้าน"

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ