ข่าว

"เอสเอ็มอี"อาเซียนดันรายย่อยสู่อีคอมเมิร์ซต่างประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สสว."เปิดเวทีเอสเอ็มอีอาเซียน แชร์ประสบการณ์ธุรกิจดิจิทัล ดันรายย่อยสู่อีคอมเมิร์ซต่างประเทศ   

 

 

27 พฤษภาคม 2562 นายสุวรรณชัย   โลหะวัฒนกุล ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวถึงการอบรมสัมมนาอาเซียนเชิงปฏิบัติการเรื่อง"ดิจิทัล ทางด่วนสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กสู่ตลาดโลก"ASEAN Workshop:Global Digitalization Model for micro Enterprise"  

 

 

โดยกล่าวว่า  เชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจในการนำเอสเอ็มอีไปสู่ตลาดระดับโลก รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการตลาดสำหรับเอสเอ็มอีสู่ดิจิทัล  ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจดิจิทัลมีความสำคัญกับเอสเอ็มอีและเป็นนรากฐาน อีกทั้งการใช้ดิจิทัลมีข้อได้เปรียบมากตลอดจนสามารถขจัดอุปสรรคทางการตลาดแต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการค้า และถือว่าเป็นความท้าทายที่ในระหว่างการประชุมปฏิบัติการจะมีการแลกเปลี่ยนมุมมองการค้าแบบเอสเอ็มให้ไปสู่โกบอลรวมทั้งคำแนะนำหรือข้อเสนอจะได้รับการพัฒนาและนำไปประกอบการจัดทำนโยบายและเสนอในการประชุมรมต.อาเซียน
เดือนกันยายน 2562

 

"แนวทางการดำเนินงานด้วยระบบดิจิตัลจะเป็นองค์ประกอบให้บริษัทขนาดเล็กและอาเซียนอุดช่องว่างได้ กรณีศึกษาในอาเซียนก็จะได้องค์ความรู้ ภาพรวมวันนี้จะได้ไกด์ไลน์เพื่อเป็นช่องทางการทำงานอย่างต่อเนื่องต่อไปสำหรับผู้เข้าสู่การค้าที่ต้องการเปิดตลาดต่างประเทศตั้งแต่เริ่มต้น ตลอดจนช่วยให้เข้าใจวิธีการกลไกสู่การค้าระหว่างประเทศโดยใช้เครื่องมือดิจิตัล  และสร้างรายได้ สสว.ถือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง ให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าตลาดอีคอมเมิร์ซ"

 

"เอสเอ็มอี"อาเซียนดันรายย่อยสู่อีคอมเมิร์ซต่างประเทศ

 

นอกจากการสัมมนาในวันนี้แล้วสสว.ยังกำหนดกิจกรรม"BOOST Camp"ระหว่างวันที่ 8 - 12 กรกฎาคม 2562 เพื่อฝึกอบรมผู้ประกอบการจำนวน 20 รายให้พร้อมสู่ตลาดต่างประเทศ ภายใต้หลักสูตรสำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการสู่ความเป็น Born Global เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและพร้อมออกสู่ตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มประกอบธุรกิจ

 

นายมานพ  แก้วโกย  ผู้ก่อตั้ง&ceo บริษัท Nature Foods  กล่าวว่า ดีใจที่ได้มาแบ่งปันประสบการณ์แบบธุรกิจเอสเอ็มอีแต่ก็ถือว่าตนเป็นไมโครขนาดจิ๋ว ทั้งนี้ตนเป็นเกษตรกรจากสุรินทร์ แรงบันดาลใจทำธุรกิจคือความยากจน และอยากช่วยคนในหมู่บ้าน ที่เป็นเกษตรกรและมีหนี้สินจุดสามเท่าหรือสามเปอร์เซ็นจากรายได้ ซึ่งต้องหาวิธีการต่อสู้กับความยากจน เพื่อช่วยเกษตรกร ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ จนปัจจุบันความสำเร็จการทำเกษตรกรรมคือ  พันธุ์ข้าว การจัดการ สิ่งแวดล้อม ต้องเรียนรู้การตลาด เพราะเราไม่สามารถบริหารจัดการ ผลผลิตในช่วงสั้น ๆ หรือช่วงการเก็บเกี่ยวที่ขณะนั้นมีราคาที่ตกต่ำแต่หากเราสามารถทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานก็จะรักษาราคาที่เป็นธรรม

 

"เอสเอ็มอี"อาเซียนดันรายย่อยสู่อีคอมเมิร์ซต่างประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม ตนมีเกษตรกรหกพันในเครือข่ายและส่งออกข้าวไป 5 ประเทศโดยการตลาดได้เข้าไปศึกษาและหาข้อมูลคีย์เวิร์ค ในกูเกิลเช่น ตลอดจนติดต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอรายละเอียด ข้อมูลสถานทูตไทยทั่วโลก ในการมาศึกษาการส่งออกข้าวไปทั่วโลก ซึ่งกระทรวงได้ให้รายชื่อผู้นำเข้าข้าวกว่าพันชื่อแต่เราจะคัดเลือกลูกค้าที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึง โดยทุกกระบวนการทำงานตนทำร่วมกับชุมชน ตลอดจนการสร้างเว็ปไซด์พื้นฐาน ที่เล่าเรื่องราวของเราและขายในสิ่งที่เรามี โชว์ให้ลูกค้าเห็นว่าเราคือใคร  ทำธุรกิจอะไร  นอกจากนี้ได้ทำแอพลิเคชั่นในการขายข้าวในไทย  รวมทั้งจะขยายแผนธุรกิจในเครือข่ายเพื่อตอบสนองความต้องการข้าวออร์นิคทั่วโลก   

 

สำหรับบริการของเรามีแพคเกจแบนด์สินค้าและจำหน่ายโดยใช้ระบบตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้เราได้แปรรูปข้าวให้มีมูลค่าและผลิตภัณฑ์มากขึ้นเช่น แป้งข้าวเจ้าสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้ผู้บริโภค  มีโรงงานแปรรุูปข้าวโพดหวานที่สามารถเก็บไว้ได้นานหนึ่งปีโดยไม่ต้องแช่แข็ง  ช่วยให้ครอบครัวเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น โครงการต่อไปจะใช้เทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยความสำเร็จของการปลูกข้าวและส่งออกคือเมลัดพันธุ์ที่ต้องปรับปรุงพันธุ์มากขึ้นและต้องใช้นักวิทยาศาสตร์แต่ขณะนี้เราใช้เอไอเพื่อให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ก็จะช่วยเกษตรกรได้ทั้งนี้หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเชื่อว่าธุรกิจจะเติบโตด้วยความรวดเร็ว

 

"เอสเอ็มอี"อาเซียนดันรายย่อยสู่อีคอมเมิร์ซต่างประเทศ

ด้าน"นางนาตาลี แคท แอน จันทาโด "ตัวแทนจากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ธุรกิจต่าง ๆ ที่ตนทำได้ศึกษาข้อกฏหมาย นอกเหนือจากนั้นก็ต้องระวังเรื่องลิขสิทธิ์ของสินค้าของเราด้วย รวมทั้งการส่งผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศนั้นเราจะต้องทำให้เป็นสินค้าภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนและมีพาร์ทเนอร์ประเทศนั้น ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการลูกค้าและต้องวางจุดประสงค์หรือต้องมีเหตุผลให้ลูกค้าอยากลองสินค้าเราว่าหรืออยากมาใช้สินค้าของเรา ซึ่งรวมไปถึงเราต้องมีการวิจัยตลอดจนกลยุทธ์ทางการตลาดเช่นลดรา รวมทั้งต้องเข้าใจคู่แข่งขันและทำตัวเราให้เด่นอย่างไร    

 

นอกจากนี้เรามองยุทธศาสตร์และความพยายามทางการตลาด  ให้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมสินค้า เพื่อทำการตลาดในท้องถิ่น นั่นคือการสื่อข้อความที่ดึงดูดลูกค้าที่ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยของตลาดนั้น ๆ และที่สำคัญการใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งได้ผลอย่างมาก ทำให้กลายเป็นระบบตลาดแบบดิจทัล และเกิดการโฆษณาทางออนไลน์ แต่เราต้องกำหนดวัถุประสงค์ งบประมาณ และพุ่งเป้าไปที่ลูกค้า  ทั้งการสังเกตรวบรวมข้อมูลลูกค้า  สิ่งสำคัญที่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จคือการทำการตลาด การส่งเงินทางอิเลคทรอนิสค์การติดต่ออย่างต่อเนื่องกับลูกค้า ซึ่งเราต้องการให้ทีมมีฐานข้อมูลลูกค้า ใช้เวลาในการทำแผนรายละเอียด ไม่กระโดดไปสู่ตลาดโดยไม่รู้ตลาดอย่างดี ที่สำคัญคือเราต้องมีพาร์ทเนอร์ในประเทศนั้น ๆ ที่เราทำการค้าด้วย และหากไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ก็อย่าปฏิเสธพาร์ทเนอร์ 

 

"เอสเอ็มอี"อาเซียนดันรายย่อยสู่อีคอมเมิร์ซต่างประเทศ

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ