ข่าว

สทน.หนุนศึกษาผลกระทบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผอ.สทน.หนุนศึกษาผลกระทบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ วางแผนเตรียมพร้อมยกระดับระบบเฝ้าระวังของไทย

 

          วันที่ 10 พ.ค. 2562 - ดร.พรเทพ นิศามณีพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เปิดเผยว่า ปัจจุบันการขยายตัวการใช้พลังงานนิวเคลียร์มีมากขึ้น จากฐานข้อมูลในปี 2560 จะเห็นว่าทั่วโลกใน 31 ประเทศ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสิ้น 451 แห่ง เฉพาะในแถบเชียแปซิฟิคมีมากถึง 136 แห่ง อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 40 แห่ง โดยกว่าร้อยละ 90 ตั้งอยู่ในประเทศ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย เกาหลีใต้

 

สทน.หนุนศึกษาผลกระทบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ดร.พรเทพ นิศามณีพงศ์

 

          แต่จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับกับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ทำให้มีความสนใจและตื่นตัวปรับปรุงความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปทั่วโลก สทน. จึงได้เสนอแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนด้านความร่วมมือเพื่อการวิจัยด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (ASEAN Nuclear Power Safety Network : ANSPR) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศประชาคมอาเซียนในการวิจัยและพัฒนาด้านการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งผลกระทบที่เกิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภูมิภาคอาเซียนเองและผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บริเวณใกล้เคียง เพื่อให้สามารถวางแผนเตรียมการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นร่วมกันได้ จะส่งผลให้เกิดระบบการวิจัยเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ทำให้ประเทศไทยมีระบบการเฝ้าระวังที่ดีขึ้น

 

สทน.หนุนศึกษาผลกระทบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

         

 

          ดร.กัมปนาท ซิลวา นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชำนาญการ สทน. กล่าวว่า โครงการแรกเป็นการศึกษาร่วมกับประเทศเวียดนามและสิงคโปร์ เป็นสร้างแบบจำลองผลกระทบกรณีเกิดอุบติเหตุจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟังเชงกัง ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่กำลังผลิตประมาณ 6,000 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่เขตปกครองตนเองกวางสี ประเทศจีน ซึ่งห่างจากชายแดนไทยด้านจังหวัดบึงกาฬและนครพนมเกือบ 600 กิโลเมตร สถานการณ์เบื้องต้นที่จำลองไว้คล้ายกับที่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่ฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นละลองรังสีจะกระจายไปกับลมและตกลงมากับฝน เราจะพิจารณาดูว่า เมื่อละอองกระจายเข้ามาระบบการเฝ้าระวังของไทยสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ และจะต้องมีมาตรการอะไรออกมารองรับ  

 

สทน.หนุนศึกษาผลกระทบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 

          การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สทน.ได้ทำงานร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ผลปรากฏว่าหากเกิดอุบติเหตุขึ้นมาในสภาวะอากาศอยู่ในระดับทั่วไป ไม่มีความรุนแรงมากนัก ระดับรังสีที่จะกระจายมาถึงชายแดนไทยอยู่ในระดับต่ำไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เพราะฉะนั้นจึงยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการใดๆ ออกมารองรับ แต่ในปีถัดไป เครือข่ายฯ ไปจะมีการศึกษาโดยจำลองสถานการณ์ให้มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการเกิดอุบติเหตุ มีการรั่วไหลของรังสีประมาณ 1-10 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพการเกิดพายุพัดรุนแรง เมื่อประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะขยับขยายไปศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศอื่นๆในอาเซียน ต่อไป.
 

 

สทน.หนุนศึกษาผลกระทบอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ