ข่าว

"คลอดแล้ว"พิมพ์เขียวนมโรงเรียนใหม่โปร่งใส-เป็นธรรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"คลอดแล้ว"พิมพ์เขียวนมโรงเรียนใหม่"ฉบับกฤษฏา"โปร่งใสเป็นธรรม เน้นจัดโควต้านมรายย่อยก่อน ไม่เกิน 5 ตันต่อวัน เปิดรับรายใหม่ เขย่างบ1.4หมื่นล้าน

 

 

                    20 เมษายน 2562 นายสัตวแพย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เลขานุการคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่าจากที่นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรฯเร่งวางทั้งระบบใหม่อย่างโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

 

 

                    ทั้งนี้เพื่อปฏิรูปโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน งบปีละ1.4หมื่นล้านบาท เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ สามารถรองรับน้ำนมดิบตลอด 365 วัน ๆ ละกว่า 1.1 พันตัน ซึ่งเกณฑ์เดิมมีผู้ประกอบการ 67 ราย โดยจากนี้จะต้องไม่เกิดนมล้นระบบและเด็กนักเรียนตั้งแต่อนุบาล-ชั้นประถม 6 กว่า 7.3 ล้านคน ต้องบริโภคนมได้มาตรฐานไม่เกิดปัญหาเหมือนในอดีต ตามข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงระบบบริหารโครงการ ป้องกันผู้มีส่วนได้เสีย มานั่งในคณะกรรมการนม ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งฝ่ายบริหารและจำหน่ายนม

 

                    โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้เสนอความเห็นไปยังครม.ให้แก้ไขตั้งแต่ปี 60 อีกทั้งป้องกันโควต้ากระจุกตัวผูกขาด ซึ่งแต่ละศูนย์รวบรวมนมดิบ ผู้ประกอบการ สถาบันเกษตรกร ต่างมีเรื่องกันไปฟ้องร้อง กองปราบฯ ปปช.และศาลปกครอง เป็นจำนวนมากหลายคดีต่อเนื่อง ปัญหาซื้อขายโควต้า นมข้ามเขต นมล่องหน ไซฟ่อนนม นมตกคุณภาพ

 

                    "นายกฤษฏา มาเซ็ตซีโร่ทั้งระบบ ตั้งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ขึ้นมาใหม่เพื่อดูแลบริหารโครงการ แยกการจัดสรรสิทธิโควต้าจำหน่ายนมออกจากคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด)จากเดิม องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อสค.)เป็นเลขานุการมิลค์บอร์ด โดยให้กรมปศุสัตว์เป็นเลขานุการฯแทน เปลี่ยนมาใช้ข้อบังคับตามกฏหมายเกษตรพันธะสัญญา จะมีความผิดโทษแรงหากไม่รับซื้อน้ำนมดิบตามสัญญา จากเดิมการลงนามในเอ็มโอยูระหว่างผู้ประกอบการ สหกรณ์ ศูนย์รวมนม ไม่มีความผิดถ้าซื้อน้ำนม ลงตัวเลขเป็นเท็จ นอกจากนี้จะใช้บิ๊กดาต้า คุมศูนย์รวบรวมนมดิบ สหกรณ์ ผู้ประกอบการ เกษตรกร โรงเรียน องค์กรท้องถิ่น ต้องลงตัวเลขปริมาณนมที่รับจริงในทุกวัน โดยกรมปศุสัตว์ จะจัดทำเชื่อมระบบสารสนเทศแบบเรียวไทม์ จะได้เห็นตัวเลขแท้จริงของทุกฝ่ายถ้ามีการตีโป่งตัวเลขนมจะเห็นได้โดยเร็ว"นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าว

 

                    นายแพทย์สรวิศ กล่าวว่า ล่าสุดนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการฯ ได้ลงนามในประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2562 ซึ่งจะได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนทุกระดับกลุ่มพื้นที่ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดใน 5 กลุ่มจังหวัดที่การเลี้ยงโคนม จำนวนมากเป็นประธานเร่งเปิดรับสมัครผู้ประกาศการจำหน่ายนมโรงเรียนระหว่างวันที่ 23 – 25 เมษายนนี้ จากนั้นจะสรรสิทธิให้เสร็จภายในวันที่ 29 เมษายน แล้วจัดสรรพื้นที่จำหน่ายนมภายในวันที่ 2 พฤษภาคมที่จะถึง

 

                    สำหรับการพิจารณาจัดสิทธิให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลุ่มพื้นที่และคณะอนุกรรมการบริหารกลางใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้ การกำหนดปริมาณน้ำนมโคที่จะจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้คำนวณปริมาณจากจำนวนนักเรียนที่บริโภคนมโนโครงการให้เป็นไปตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริงในแต่ละกลุ่มพื้นที่ในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยคำนวณจากจำนวนวัน 130 วัน/ภาคเรียน คนละ 1 ถุงหรือกล่องต่อวัน (200 มล.) ทั้งนี้ให้ปรับเพิ่มเพื่อชดเชยการสูญเสียจากกระบวนการแปรรูปประมาณร้อยละ 2 ของปริมาณน้ำนมโครวมที่ใช้ในการผลิตให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมทุกราย

 

                    ส่วนการจัดสรรสิทธิ์โควตานม จะนำประวัติการฝ่าฝืนในภาคเรียนที่ 2/2561 มาประกอบการพิจารณจัดสรรโดยสิทธิที่ได้รับต้องไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสิทธิเดิมที่เคยได้รับในการจัดสรรในภาคเรียนที่ 2/2561 ให้ลำดับความสำคัญแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่มีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบซึ่งรับน้ำนมดิบจากสมาชิกของตนเอง หรือมีแผนการตลาดรองรับปริมาณน้ำนมดิบตลอด 365 วัน นำข้อมูลปริมาณน้ำนมโค กรณีรับน้ำนมโคจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบให้แนบสัญญาซื้อขายระหว่างเกษตรกรกับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมกับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและหรือหนังสือรับรองการใช้น้ำนมโค (แบบ นร.2) หรือ กรณีรับน้ำนมโคจากฟาร์มโคนมโดยตรงให้แนบสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมกับฟาร์มโคนม โดยฟาร์มโคนมต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ (GAP)จากกรมปศุสัตว์ ส่วนกรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เคยเข้าโครงการภาคเรียนที่ 2/2561 ยื่นสิทธิมากกว่า 5 ตันจะมีสูตรคำนวณรับรอง เช่นเดียวกับผู้ประกอบการใหม่ที่ไม่เคยเข้าโครงการนมโรงเรียนในเทอม 2/2561

 

                    นายสัตวแพทย์สรวิศกล่าวเพิ่มเติมว่า ในการจัดสรรพื้นที่จำหน่ายนั้น ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิน้อยกว่า 5 หมื่นกล่อง-ถุง/วัน ให้จำหน่ายในพื้นที่ที่ตั้งในจังหวัดนั้นๆ หรือใกล้เคียงก่อน หากมีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ในพื้นที่มากกว่า 1 รายให้จัดสรรสิทธิการจำหน่ายในพื้นที่นั้นโดยเฉลี่ยในจังหวัดนั้นกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เป็นสหกรณ์ขนาดเล็กหรือโครงการพระราชดำริฯหรือสถาบันการศึกษาหรือผู้ประกอการผลิตภัณฑ์นมเอกชนรายเล็กในพื้นที่ก่อนหากสิทธิในพื้นที่จังหวัดนั้นไม่เพียงพอให้พิจารณาสิทธิ์ในพื้นที่ใกล้เคียงให้เพิ่มเติม หากมีสิทธิในพื้นที่คงเหลือให้เฉลี่ยปริมาณที่เหลือในพื้นที่ให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมรายอื่นที่ได้รับสิทธิมากกว่า 5 หมื่นกล่อง-ถุง/วัน ในกรณีทีมีการจัดสรรสิทธิพื้นที่การจำหน่ายในระดับพื้นที่ 5 กลุ่มให้คณะอนุกรมการบริหารกลางเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

 

                    น้ำนมโค ทำนมโรงเรียนที่มีคุณภาพจะต้องมีเซลล์โซมาติก แต่ไม่เกิน 5 แสนเซลล์/ลบ.ซม.โดยตรวจสอบน้ำนมก่อนผลิตที่หน้าโรงงานผลิตซึ่งดำเนินการโดยกรมปศุสัตว์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อภาคเรียน ใช้น้ำนมโคที่มีปริมาณเนื้อนมรวม ไม่ต่ำกว่า 12.25 % โดยตรวจสอบน้ำนมก่อนผลิตที่หน้าโรงงานผลิต ส่วนค่าไขมัน (Fat) รวมกับเนื้อนมไม่รวมไขมัน ไม่น้อยกว่า 11.95% โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

 

                    นอกจากนี้ยังต้องประกันภัยนมโรงเรียน โดยให้ผู้ประกอบการนมโรงเรียนให้เลือกบริษัทประกันภัยนมโรงเรียน มาด้วย ทั้งนี้ครม.อนุมัติกรอบวงเงินดำเนินโครงการในปี 2562 เดือนเมษายน – กันยายน ประมาณ 103,762,500 บาท และในปี 2563 ประมาณ 391,573,800 บาท โดยทั้งคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการทุกชุดไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่างจากแนวทางเดิมซึ่งมีทั้งผู้แทนเกษตรกร ผู้แทนกลุ่มผู้ประกอบการมาร่วมพิจารณาทำให้การบริหารจัดการ ส่วน องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จะทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาในการจำหน่ายนมโรงเรียนระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง”นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าว

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ