ข่าว

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชัตเติลบัส 11 เส้นทาง รถไฟ 3 เส้นทาง เรือข้ามฟากและเรือด่วนเจ้าพระยา พร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนตลอดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

       เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 18 เม.ย. ที่ห้องสื่อมวลชน ชั้น 1 ศาลาว่าการหลาโหม กระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยและการจราจรงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยภายหลังการประชุม พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผบช.น. และ นายวิทยา ยาม่วง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ร่วมแถลงข่าว

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก

พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ

     พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวว่า วันนี้ พล.อ.ประวิตร เป็นประธานการเปิดกองอำนวยการร่วมฯ อย่างเป็นทางการในวันแรก โดยจะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.-7 พ.ค. นี้ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาความปลอดภัย และการจราจร ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมดูแลในริ้วขบวนการเชิญคนโทน้ำอภิเษกจากกระทรวงมหาดไทยไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม โดยทุกอย่างเป็นไปด้วยดี และสมพระเกียรติที่สุด
    พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการของกองอำนวยการร่วมฯ ได้สรุปเป็น 7 แนวทางหลัก คือ 1.จะมีการประชุมทุกวัน ในเวลา 09.00 น. โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมผลัดเป็นประธาน จากนั้นก่อนเวลา 12.00 น. ต้องสรุปผลการประชุมให้พล.อ.ประวิตร รับทราบ 2.จากนี้ทุกหน่วยงานจะต้องติดตามการข่าวอย่างใกล้ชิดและทุกสถานการณ์ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันท่วงที 3.มีการแบ่งพื้นที่เป็น 6 โซน โดยมีผู้บังคับบัญชา 6 นายดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องพิสูจน์ทราบบุคคล ยานพาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ มีการสแกนอย่างละเอียดทั้งบนบก ทางน้ำ และอากาศ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นพิธี เพื่อให้รู้ข้อมูลในพื้นที่อย่างละเอียด 4.ต้องมีการซักซ้อมการทำงานในทุกระดับเพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และรู้หน้าที่ของตัวเองอย่างชัดเจน

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก

พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย

     5.การปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 6 โซน จุดคัดกรองทั้ง 21 จุดรอบบริเวณ จะมีการนำเครื่องมือการสื่อสาร ทั้งระบบฐานข้อมูล การสแกนใบหน้า จะมีการสแกนใบหน้า กล้องวงจรปิด จะมีการเชื่อมโยงมายังกองอำนวยการร่วมตลอด 24 ชั่วโมง 6.ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ ต้องลงลึกในระดับผู้ปฏิบัติงานอย่างละเอียด วางระบบอย่างชัดเจน และ 7.กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์สมพระเกียรติและเป็นไปตามพระราชประสงค์ นอกจากนี้จิตอาสาเฉพาะกิจ จะมีการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. นี้เป็นต้นไป
    ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวอีกว่า สำหรับงานพระราชพิธีฯ ข้าราชการทุกนาย ตลอดจนทุกส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมในพระราชพิธีฯในครั้งนี้ถือเป็นเกียรติอย่างสูงสุด และจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนมาร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีอันสำคัญยิ่ง โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนจะดูแลอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ เพราะเราถือว่าประชาชนทุกคนเป็นแขกของพระองค์ท่าน

    จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก

พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก

     ด้าน พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กล่าวว่า การฝึกซ้อมริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารคพื้นที่จริงเมื่อวันที่ 17 เมษายน ซึ่งมีการปิดการจราจร 40 เส้นทางนั้น ในการดำเนินการเราได้ทยอยเปิดการจราจรในเส้นทางที่ริ้วขบวนเคลื่อนผ่านไปแล้วเป็นระยะๆ เพื่อลดผลกระทบการจราจรให้น้อยที่สุด พบว่าภาพรวมการดำเนินการว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนแต่อย่างใด ก่อนนำไปปฏิบัติอีกครั้งในการฝึกซ้อมริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารคในวันที่ 21 เมษายน ที่จะเริ่มปิดการจราจร 40 เส้นทาง ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. ขณะที่ขบวนเชิญคนโทน้ำอภิเษกจากศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปยังวัดสุทัศนเทพวรารามเมื่อช่วงเช้าวันที่ 18 เมษายน ที่ปิดการจราจร 7 เส้นทาง พบการดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนในวันที่ 19 เมษายน ที่จะมีขบวนเชิญคนโทน้ำอภิเษกจากวัดสุทัศนเทพวราราม ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร จะปิดการจราจร 16 เส้นทาง ตั้งแต่เวลา 06.00-11.00 น. ซึ่งเมื่อขบวนเชิญคนโทน้ำอภิเษกถึงยังจุดหมาย จะเปิดการจราจรอย่างรวดเร็ว เพื่อลดผลกระทบการจราจร

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก

 นายวิทยา ยาม่วง

     นายวิทยา ยาม่วง ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยและการจราจรงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมอบหมายให้ กระทรวงคมนาคม รับผิดชอบงานอำนวยความสะดวกการเดินทางให้บริการประชาชนเข้าร่วมงานพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม โดยมีแผนการดำเนินงานดังนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ​(ขสมก.) ได้จัดเตรียมรถให้บริการรับ-ส่งประชาชนจำนวน 900 คัน โดยจัดเส้นทางเดินรถอำนวยความสะดวกทั้งหมด 16 เส้นทางแบ่งออกเป็นเส้นทางเดินรถชัตเติลบัสจำนวน 11 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทางเดินรถจากเมืองทองธานี, ศูนย์ราชการแจังวัฒนะ-สนามม้านางเลิ้ง 2.จากสโมสรตำรวจ-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(ถนนวิภาวดี)-สนามม้านางเลิ้ง 3.จากสโมสรกองทัพบก, กทม.2 (ถนนวิภาวดี)-สนามม้านางเลิ้ง 4.จากฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-สนามม้านางเลิ้ง 5.จากรฟม.พระราม9, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว, ศาลอาญารัชดา, สนง.อัยการสูงสุด-บ้านมนังคศิลา 6.จากอิเกีย, เมกาบางนา-บ้านมนังคศิลา 7.จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหราลาดกระบัง-บ้านมนังคศิลา 8.จากท่าเรือคลองเตย, โรงงานยาสูบ, แอร์พอร์ตลิงค์มักกะสัน-บ้านมนังคศิลา 9.จากเซ็นทรัลพระราม2, โรงเรียนบางมดวิทยา-วัดเทพศิรินทร์ 10.จากเซ็นทรัลศาลายา,​พุทธมณฑลสาย 4, อู่จอดรถบรมราชชนนี, วิทยาลัยทองสุข-เชิงสะพานพระราม 8 และ11.จากเซ็นทรัลเวสเกตบางใหญ่-เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก


     นอกจากนี้ยังได้จัดเส้นทางรถเฉพาะกิจรับส่งทุกป้ายจำนวน 5 เส้นทาง ประกอบด้วย อนุสาวรีย์ชัย-สนามม้านางเลิ้ง, สถานีขนส่งจตุจักร-สนามม้านางเลิ้ง,​ วงเวียนใหญ่-สะพานพระพุทธยอดฟ้า, สนามศุภชลาศัย-บ้านมนังคศิลา และสถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่)-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
     ขณะเดียวกันยังได้กำหนดจุดจอดรถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อต่อรถชัตเติลบัสถึงบริเวณพื้นที่ราชพิธีจำนวน 25 จุด ได้แก่ เมืองทองธานี,​ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ,​ สโมสรตำรวจ, ​มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สโมสรกองทัพบก,​ กทม.2, ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต, ที่จอดรถของรถไฟฟ้าใต้ดินรัชดาภิเษก, ลานจอดรถใต้ดินลาดพร้าว, ศาลอาญารัชดา, สำนักงานอัยการสูงสุด, อีเกียบางนา, เมกาบางนา, ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา,​ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ท่าเรือคลองเตย (ใกล้สน.ทางด่วน 1), โรงงานยาสูบ, แอร์พอร์ตลิงค์มักกะสัน, เซ็นทรัลพระราม 2, โรงเรียนบางมดวิทยา, ลานพุทธมณฑลสาย 4,​ เซ็นทรัลศาลายา, อู่จอดรถบรมราชชนนี, วิทยาลัยทองสุข และเซ็นทรัลเวสเตบางใหญ่ ซึ่งสามารถจอดรถได้รวม 40,000 คัน ซึ่งสามารถต่อรถชัตเติลบัสเพื่อเข้าสู่จุดรวมพลจำนวน 6 จุด ได้แก่ สนามม้านางเลิ้ง,​ บ้านมนังคศิลา,​ วัดเทพศิรินทราวาส, สะพานพระราม 8, สะพานพระพุทธยอดฟ้า และเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า เพื่อเดินเท้าต่อสู่พื้นที่งานพระราชพิธี

จัด"ชัตเติลบัส-รถไฟ-เรือ"รับ-ส่งประชาชนร่วมพิธีบรมราชาภิเษก


     ในแผนการเดินรถได้จัดเตรียมการเดินขบวนรถพิเศษช่วงงานพระราชพิธีโดยใช้รถดีเซลรางชั้น 3 เส้นทางละ 1 ชุดๆ ละ 4 คัน เดินใน 4 เส้นทางดังนี้ 1.เส้นสายทางสายเหนือ จากสถานีอยุธยา-กรุงเทพฯ-อยุธยา 2.เส้นทางสายใต้ จากสถานีนครปฐม-ธนบุรี-นครปฐม 3.เส้นทางสายตะวันออก จากสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพฯ-ชุมทางฉะเชิงเทรา และ4.เส้นทางสายแม่กลองจากสถานีมหาชัย-วงเวียนใหญ่-มหาชัย โดยประชาชนที่จะใช้บริการขบวนรถพิเศษสามารถจอดรถได้ตามสถานีรถไฟต่างๆ จากนั้นใช้บริการชัตเติลบัสเข้าสู่บริเวณพระราชพิธี
     ส่วนกรมเจ้าท่ารับผิดชอบการจัดเดินเรืออำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชน โดยจัดเตรียมเรือข้ามฟากและเรือด่วนเจ้าพระยาในหลายเส้นทาง อาทิ จากจังหวัดนนทบุรีไปยังท่าเรือปิ่นเกล้า, จากท่าเรือสาทรไปสะพานพระพุทธยอดฟ้า นอกจากนี้คมนาคมได้ร่วมปฎิบัติงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดจราจร เตรียมอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ รวมทั้งบริหารจัดการ กรณีรถเสีย อุบัติเหตุ ได้จัดเตรียมรถยกเพื่อช่วยแก้ปัญหาจราจรให้สอดคล้องกัน ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้มีการซักซ้อมแผนและมีความพร้อมในช่วงงานพระราชพิธี โดยใช้โมเดลการทำงานใหญ่ๆ ที่ผ่านมาเป็นต้นแบบและบทเรียน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ