ข่าว

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มรภ.ศรีสะเกษ-สสส.พัฒนาระบบ-กลไก "ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่ โดยใช้ฐานทุนครอบครัว-ชุมชนปกป้องเด็ก เยาวชน

 

          วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ โดยศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชน จังหวัดศรีสะเกษ จัดเวทีรายงานผลการดำเนินงานระยะที่ 1 และการกำหนดแนวทางการทำงานเชิงบูรณาการระบบและกลไกปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกดูแลเด็กเปราะบางพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จากการสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการดูแลเด็กตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอและจังหวัด ณ โรงแรมศรีพฤธาลัย ราชภัฎสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ 

 

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

 

          รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า นโยบายระดับชาติ ท้องถิ่น และนโยบายการศึกษา ให้ความสำคัญกับบทบาทเด็กและเยาวชนเป็นพิเศษ เพราะคือบุคลากรที่เป็นกำลังหลักของประเทศไทย ดังนั้น การสร้างระบบและกลไกปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนยกระดับให้เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ช่วยให้เด็กเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อประโยน์ต่อเด็ก ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ มรภ.ศรีสะเกษทำเพียงลำพังไม่ได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมทำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนศรีสะเกษ

 

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

 

          “ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่ถูกนำไปเปรียบเทียบกับจังหวัดต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเขตพื้นที่นวัตกรรม ขณะเดียวกันก็เป็นจังหวัดรอยต่อ กัมพูชา ลาว การเดินทางของยาเสพติดอาจจะเป็นเส้นทางที่เป็นเป้าหมาย เกิดความสุ่มเสี่ยงการหลงผิดของเยาวชนได้ ดังนั้น สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีทั้งแรงบวก แรงลบ จะทำอย่างไรที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีระบบกลไกในการนำพาเด็กเยาวชนอยู่ในกรอบที่ดีงาม สร้างสรรค์ชีวิตตนเอง ครอบครัว สังคม บนพื้นฐานความรัก สามัคคี เห็นประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง ดังนั้น มหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มเสี่ยงกลุ่มหนึ่งของนักศึกษาซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในช่วงรอยต่อของเยาวชนที่จะก้าวไปเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีการกำกับติดตามพูดคุยกับทางจังหวัดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อร่วมกันสร้างเยาวชนที่มีภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กมีแรงผลักดันเพื่อสร้างตนเอง สร้างสังคมไปในทางที่ดี” รศ.ดร.ประกาศิต กล่าว

 

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

 

          ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการฯ ได้ดำเนินโครงการการพัฒนาระบบและกลไกดูแลเด็กเปราะบางพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยนิยามความปราะบางไว้ว่าเป็นความเปราะบางของสภาวะทางอารมณ์ ความรู้สึก เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของเด็กให้มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ โดยการขับเคลื่อนระบบกลไกในพื้นที่ โดยเฉพาะกลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยระบบและกลไกคือฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย ขั้นตอนการรับทราบข้อมูล การวิเคราะห์ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมทำงานเชิงบูรณาการหน่วยงานที่จะปกป้องคุ้มครองเด็ก ในพื้นที่ 5 อำเภอ  22 อบต. ได้แก่ อำเภอพยุห์ ขุนหาญ กันทรารมย์ กันทรลักษ์ และภูสิงห์ ซึ่งพบว่ามีเด็กเปราะบาง จำนวน 453 คน โดยมีเป้าหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ในมิติการคุ้มครองรูปแบบใหม่ ที่มองเด็กทุกคนเป็นเป้าหมาย เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยา ส่งพลังให้ปกป้องตนเอง และสร้างการป้องกัน 

 

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

 

          “การดำเนินงานโครงการในระยะที่ 1 ถือว่าเป็นไปตามพันธกิจในเรื่องของการสร้างฐานข้อมูลและเครือข่าย โดยใช้ระบบการจัดทำฐานข้อมูล Social Mapping ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาก่อนนำเผยแพร่ ดังนั้น การดำเนินงานในระยะที่ 2 จะนำข้อเสนอแนะจากภาคีเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.นำฐานข้อมูลเป็นกลไกในการเชื่อมประสานงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อเสริมพลังคนทำงานด้านเด็กและเยาวชน 2.เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดประเด็นการทำงาน 3.ใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนานโยบาย 4.ใช้ในการเรียนการสอน เชื่อมต่อข้อเท็จจริงในพื้นที่ 5.จัดทำแผนจากข้อมูลเพื่อเชื่มโยงระบบป้องกันในระดับชุมชน และ 6.เพื่อจัดระดับชั้นความสัมพันธ์การเข้าถึงข้อมูล” ดร.ประจวบ กล่าว

 

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

 

          นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวว่า  การสำรวจเด็กเยาวชนในภาวะเปราะบางสำคัญมาก หากจังหวัดศรีสะเกษทำสำเร็จจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับจังหวัดอื่นๆ ด้วย ขณะนี้ เราเป็นสังคมผู้สูงวัย เพราะเด็กเกิดใหม่ลดลงไปเรื่อยๆ นี่คือแนวทางของประเทศไทยที่มีนัยยะว่าเด็กทุกคนมีความสำคัญ มีความหมายมีคุณค่ามากต่อสังคมในขณะนี้ เยาวชนทุกคนในวันนี้ ที่จะไปเป็นผู้ใหญ่ พ่อแม่ ลูกหลานในวันหน้าจึงเป็นคนสำคัญมาก

 

"ดูแลเด็กเปราะบาง" สร้างมิติคุ้มครองรูปแบบใหม่

 

          “งานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไม่ง่ายแต่สำคัญ ซึ่งศรีสะเกษมีทุนที่ดีมาก จากข้อมูลของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบจุดแข็งของจังหวัดศรีสะเกษเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่มีจุดแข็งด้านครอบครัวและชุมชน โดยควรใช้ฐานทุนของครอบครัวและชุมชนช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนให้ได้เติบโตอย่างมีศักยภาพไม่อยู่ในความเปราะบางอีกต่อไป” นางสาวณัฐยา กล่าว.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ