ข่าว

"ปชป."จวกรัฐบาลไม่จริงใจถนนยางพารา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ว่าที่ผู้สมัครปชป."จวกรัฐไม่จริงใจทำถนนยางพารา-เกิดยาก เหตุ"กฤษฏา"ตกปลาในบ่อเพื่อน ถามเมื่อไหร่จะใช้งบสะสมท้องถิ่น จี้ใช้ม.44 เดินหน้า

 

                  1 มกราคม 2562  นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรสวนยางพารา 16 จังหวัดภาคใต้ และว่าที่ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยว่าที่ผ่านมาเกษตรกรสวนยางเรียกร้องให้รัฐบาลนำยางพาราไปทำถนนยาง

 

 

                  ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาราคายางเพิ่มการใช้ยางในประเทศ ซึ่งมาเกิดขึ้นได้จริงในสมัยนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ แต่การขับเคลื่อนดูแล้วยังยากมากเพราะนายกฤษฎา ไปตกปลาในบ่อเพื่อน ถามว่าเมื่อไหร่จึงจะใช้งบสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ได้ ตนเรียกร้องว่าหากต้องการให้โครงการเกิดได้จริง สามารถทำถนนยางทุกหมู่บ้านกว่า 7.5 หมื่นกิโลเมตร ทั่วประเทศ ใช้งบ  92,000 ล้านบาท ถ้าแน่จริงรัฐบาล ควรสนับสนุนงบมาให้ทุกท้องถิ่นเลย หรือถ้ามีความจริงใจต้องใช้มาตรา 44 สั่งทุกพื้นที่เดินหน้าทันที


                 นายสุนทร กล่าวว่าตนได้เข้าร่วมทำนโยบายกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อคืนความเป็นธรรมและฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรสวนยาง โดยมีนโยบายแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ เช่น การประกันรายได้ที่ยางกิโลกรัมละ 60 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ ทั้งสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ 1.4 ล้านครัวเรือนและไม่มีเอกสารสิทธิ์ 0.3 ล้านครัวเรือน รวม 1.7 ล้านครัวเรือน ที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) หากพรรคปชป.เป็นรัฐบาลจะแก้ไขประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรสวนยางปี 58 อย่างเท่าเทียมและเข้าถึงสิทธิได้รับการชดเชยความช่วยเหลืออื่น ๆ จากรัฐ 


                 พร้อมกับผลักดันราคายางให้สูงขึ้นด้วยการเพิ่มใช้ยางในประเทศอย่างน้อย 20 %ต่อปี หรือ 1 ล้านตัน ทั้งการทำถนนพาราซอยซีเมนท์ ถนนพาราแอลฟัลติกคอนกรีต การปูอ่างเก็บน้ำและการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่าและการส่งออก การแก้ไขผังเมือง สนับสนุนอุตสาหกรรมยาง แปรรูปยาง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยางของโลก

 

                 ให้มีจัดตั้งบริษัทร่วมทุนและสถาบันเกษตรกรมาร่วมทุน ตามมาตรา10(4) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรสวนยาง รวมทั้งจัดตั้งสวัสดิการเกษตรสวนยาง ลักษณะสังคมสวัสดิการ แบบสมัครใจจ่ายสมทบ เช่นออมทรัยพ์วันละบาท แก้ปัญหาเกษตรสวนยาง ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 3 แสนครัวเรือน ในพื้นที่สวนยาง 5 ล้านไร่ ด้วยโฉนดสีฟ้า คือการยกระดับโฉนดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ทับซ้อนเขตป่าได้รับสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ