ข่าว

กลุมรักข้ามเพศ เฮ! เตรียมส่ง พ.ร.บ.คู่ชีวิตให้สนช.พิจารณา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กลุมรักข้ามเพศ" เฮ ครม.ไฟเขียว เตรียมส่ง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สนช.พิจารณา เพื่อให้กลุ่มคู่รักหลากหลายทางเพศ จดทะเบียนคู่ชีวิต สามารถทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกัน

 

          25 ธ.ค.61-"กลุมรักข้ามเพศ" เฮ ครม.ไฟเขียว เตรียมส่ง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สนช.พิจารณา เพื่อให้กลุ่มคู่รักหลากหลายทางเพศ จดทะเบียนคู่ชีวิต สามารถทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกัน รวมถึงสามารถให้สิทธิยินยอมทางการแพทย์และการดำเนินคดีอาญาแทนคู่ชีวิตได้

          ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการประชุมครม.ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตตามที่กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เสนอ ภายหลังจากที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ที่ได้ทำการหารือและพิจารณาร่วมกับภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งทำการศึกษาค้นคว้าและเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศต่างๆที่ให้สิทธิการสร้างครอบครัวแก่กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ อาทิฝรั่งเศส,สหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร,ออสเตรเลียและญี่ปุ่น นำมาพิจารณาประกอบกับบริบทสภาพสังคมของประเทศไทย ในการพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

 

          นายณัฐพร กล่าวว่าโดยเงื่อนไขในการจดทะเบียนคู่ชีวิตประเทศส่วนมากกำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตสามารถทำได้ในกรณีที่บุคคลทั้งสองฝ่ายเป็นเพศเดียวกันสมรสกัน,ไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติสืบสายโลหิตระหว่างกัน ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ในลักษณะเดียวกันไว้ในร่างพระราชบัญญัติ

           นายณัฐพร กล่าวอีกว่า ส่วนกระบวนการบันทึกทางทะเบียน ทุกประเทศให้กระทำการบันทึกความเป็นคู่ชีวิต ทางทะเบียนโดยการบอกกล่าว จัดทำข้อตกลง และยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักทะเบียนซึ่งในส่วนของประเทศไทยร่างพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิต ทำที่สำนักทะเบียน ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด 

           สำหรับสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิต แต่ละประเทศได้มีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ บริบทของแต่ละประเทศ เช่น สิทธิและหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ,การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน ,ความรับผิดชอบในหนี้ร่วมกัน ,การรับมรดก, การรับบุตรบุญธรรม,การเปลี่ยนคำนำหน้านาม,การเปลี่ยนชื่อสกุล,การให้ความยินยอมรักษาพยาบาล,การดำเนินคดีอาญา,การลดหย่อนภาษี,สวัสดิการสังคม,การได้สัญชาติ,การอนุญาตเข้าเมืองฯลฯ

           นายณัฐพร กล่าวว่าสำหรับประเทศไทยนั้นร่างพระราชบัญญัติฯได้กำหนดให้ ชีวิตมีสิทธิและหน้าที่ช่วยเหลือ อุปการละ เลี้ยงดูกัน รวมทั้งให้มีสิทธิในฐานะคู่ชีวิต อาทิ สิทธิในการยินยอมรักษาพยาบาล,อำนาจจัดการศพ,การดำเนินคดีอาญาแทนคู่ชีวิต,การเรียกร้องสินไหมทดแทนจากการขาดไร้อุปการะ,การจัดการทรัพย์สิน,การรับมรดก แต่ไม่รวมถึงการรับบุตรบุญธรรม ,การเปลี่ยนคำนำหน้านาม,การเปลี่ยนชื่อสกุล รวมทั้งสวัสดิการของรัฐ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับกฎหมายหลายฉบับ รวมถึงงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเตรียมการตลอดจนปรับแก้กฎหมาย และระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นร่างพระราชบัญญัติ จึงไม่ได้รวมประเด็นดังกล่าวไว้

            ส่วนการยุติความสัมพันธ์ในฐานะคู่ชีวิต ทุกประเทศกำหนดในลักษณะเดียวกันคือการเป็นคู่ชีวิต สามารถสิ้นสุดลงได้ด้วยความตาย , การแต่งงานหรือจดทะเบียนคู่ชีวิตกับบุคคลอื่นและกระบวนการฟ้องร้องทางศาล ซึ่งกำลังพระราชบัญญัติได้กำหนดไว้ในทิศทางเดียวกัน

          นายณัฐพร กล่าวว่ากระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้นำผลการเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะเดียวกันมาพิจารณาเพื่อให้สอดคล้องกับสมการปัจจุบันและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เป็นการดำเนินการลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มต้นจากการรับรองสถานะและจดทะเบียนคู่ชีวิตเพื่อเป็นการรับรองสิทธิเบื้องต้นก่อนจะพัฒนาไปสู่การสมรสที่เท่าเทียมกันต่อไปซึ่งจะส่งให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ