ข่าว

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เร่งเก็บกู้ระเบิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผบ.ทสส.สั่งศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯสร้างความรับรู้ปชช.ในพื้นที่เสี่ยงภัย 360ตร.กม. ชายแดน 10จังหวัด เผยอุบลฯ-ศรีสะเกษ-ตราด 3 จว.ใหญ่ยังเหลือพื้นที่เสี่ยงอื้อ

 

          วันที่ 14 ต.ค.นี้ พล.ต.กฤษณ์ จันทรนิยม โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย เปิดเผยว่า พล.อ.พรพิพัฒน์  เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ได้สั่งการและมอบแนวทางปฏิบัติให้กับ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตามที่ประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา)ทำให้มีพันธกรณีหลักที่ต้องดำเนินการภายใต้กรอบอนุสัญญาอย่างต่อเนื่อง ในอดีตเมื่อปี 2543 ประเทศไทยมีพื้นที่อันตรายจำนวน 2,557 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ชายแดนและได้มีการปฏิบัติการเก็บกู้และทำลายมาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่อันตราย 360 ตารางกิโลเมตร ใน 10 จังหวัด

 

          ทั้งนี้ ผบ.ทสส.กำชับให้หน่วยจะต้องกำหนดแผนการปฏิบัติการให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 รวมทั้งจะต้องมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตระหนักถึงอันตรายจากทุ่นระเบิดโดยวิธีเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและสร้างเครือข่ายของผู้ตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายของทุ่นระเบิด ให้มีการสอดแทรกการให้ความรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของหน่วย ในการสร้างความร่วมมือเก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน

 

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เร่งเก็บกู้ระเบิด

 

          นอกจากนี้ ผบ.ทสส. ได้ขอให้หน่วยฯ ดำเนินการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ รัดกุม และเป็นไปตามพันธกรณีซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของไทย ว่าทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเป็นอาวุธที่มีอันตรายต่อมนุษยชาติ สมควรที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว ดังแนวคิดที่ว่า "หนึ่งทุ่นระเบิดที่เก็บกู้ได้ สามารถช่วยหนึ่งครอบครัวผู้บริสุทธิ์ให้มีความปลอดภัย" (ONE MINE CLEARED  ONE FAMILY SAVED)  

 

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เร่งเก็บกู้ระเบิด

 

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่อันตราย 360 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ตราด จันทบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก และชุมพร โดย 3 อันดับแรกที่ยังมีพื้นที่ไม่ได้เก็บกู้มากที่สุดคือ อุบลราชธานี 101,227,784 ตารางเมตร ศรีสะเกษ 73,383,526 ตารางเมตร และ ตราด 69,654,131 ตารางเมตร.

 

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เร่งเก็บกู้ระเบิด

 

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เร่งเก็บกู้ระเบิด

 

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เร่งเก็บกู้ระเบิด

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ