ข่าว

เตือน ! นทท.ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ประเทศระบาดอหิวาต์แอฟริกา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อธิบดีปศุสัตว์"เต้นโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ลามหนักหลายทวีปเตือนนักท่องเที่ยวชาวไทยไปประเทศกลุ่มเสี่ยง ห้ามนำผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ติดตัวเข้ามาอย่างเด็ดขาด

 

          18 กันยายน 2561 "อธิบดีปศุสัตว์"เต้นโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ลามหนักหลายทวีปเตือนนักท่องเที่ยวชาวไทยไปประเทศกลุ่มเสี่ยง ห้ามนำผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ติดตัวเข้ามาอย่างเด็ดขาด"


 

 

 

          นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการสัมมนา “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fewer-ASF) มหันตภัยวงการสุกรไทย ทำอย่างไรจะรอดพ้น” โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากจีน และสภาพยุโรปมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและมาตรการควบคุมโรค จากข้อมูลทางระบาดวิทยา การระบาดในจีนมีสาเหตุหลักจากนักท่องเที่ยวไปประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วนำอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อกลับมา แล้วนำอาหารเหลือทิ้งไปเลี้ยงสุกร องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) รายงานว่า พบการระบาดของโรคพบ 22 จุดแล้ว ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมระบาดอยู่ในมณฑลเหลียวหนิง ขณะนี้แพร่ไปยังมองโกเลียแล้ว ล่าสุดพบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมูป่าที่เบลเยี่ยมบริเวณติดต่อกับชายแดนประเทศฝรั่งเศส มีประเทศบางส่วนในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกาด้วย​


          อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าได้ทำหนังสือแจ้งสำนักที่ปรึกษาทางการเกษตรประจำต่างประเทศให้แจ้งเตือนนักท่องเที่ยวว่าประเทศไทยมีมาตรการห้ามการนำเข้า สุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากสุกร เข้ามาในราชอาณาจักร ห้ามนำอาหาร ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ติดตัวมาอย่างเด็ดขาด ในขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวไทยที่ไปท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเสี่ยงเช่น อนุภูมิภาคซาฮาราของทวีปแอฟริกา ประเทศซาดิเนียของทวีปยุโรป ประเทศจอร์เจีย ประเทศอาเซอร์ไบจัน ประเทศอาร์เมเนีย สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีนและล่าสุดที่ เบลเยี่ยม ห้ามนำเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรติดตัวกลับมา 


          ทั้งนี้จะเพิ่มความเข้มงวดการเฝ้าระวังโรคขึ้นทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทำหนังสือไปยังกระทรวงกลาโหมเพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบการลักลอบการเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิต ชิ้นส่วนซาก และผลิตภัณฑ์จากสุกรทั้งตามด่านชายแดนและช่องพรมแดน ท่าเรือระหว่างประเทศ รวมทั้งท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่ง ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อพบ จะตรวจยึด เก็บตัวอย่างส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ และทำลายทิ้ง

 

 

          ที่เป็นห่วงที่สุดคือ การแพร่แระจายของเชื้อโรคทางเครื่องบินเนื่องจากมีเที่ยวบินระหว่างไทย-จีนแต่ละวันหลายเที่ยวบิน รวมถึงเที่ยวบินไทยกับบางประเทศในยุโรป โดยหาแนวทางแก้ปัญหาเศษอาหารบนเครื่องบินจากประเทศต้นทางกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้ขอให้บริษัทการท่าอาศยานแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม กำหนดแนวทางเก็บเศษอาหารและทำลายทิ้ง จะต้องผ่านความร้อนเกิน 90 องศาเซลเซียสนานกว่า 60 นาที


          ในส่วนการควบคุมโรคได้จัดตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังโรค ASF จากหน่วยงานเกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัยต่างๆ จะตรวจได้ถึง 200 ตัวอย่างในเดือนตุลาคมนี้ หากพบสุกรที่สงสัยว่า ป่วยด้วยโรค ASF จะเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจห้องปฏิบัติการ สามารถทราบผลภายใน 2 วัน

 

          อธิบดี​กรม​ปศุสัตว์​กล่าวว่าจะรวบรวม​เสนอคณะกรรมการ​นโยบาย​พัฒนา​สุกรและผลิตภัณฑ์​ (Pig Board)​ ให้พิจารณา​มาตรการ​ชดเชย​ความเสียหาย​ หาก​โรค​ ASF แพร่ระบาดเข้า​มายังประเทศไทย​ เบื้องต้น​จะเสนอ​จ่ายค่าชดเชยแก่เกษตรกร​รายย่อย​ ส่วนผู้ประกอบการ​รายใหญ่​ต้องดูแลตัวเองเพราะหากต้องจ่ายค่าชดเชย​แก่อุตสาหกรรม​การเลี้ยงสุกรทั้งหมด​ รัฐมีงบประมาณ​ไม่เพียงพอ

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ