ข่าว

ผันน้ำ 13 ทุ่ง 1.5 ล้านไร่พักน้ำหลากรับมังคุด !

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อธิบดีกรมชลฯ"ร่อนหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าฯ 13 จว.ดีเดย์ผันน้ำเข้า1 3 ทุ่ง 1.5 ล้านไร่ 19-20 ก.ย.เป็นแก้มลิงชั่วคราวพักน้ำหลาก 2 พันล้านลบ.ม.รับมือ มังคุด

 

         18 กันยายน 2561 นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 13 จังหวัด เช่นพระนครศรีอยุธยา พิษ​ณุโลก​ สุโขทัย​ 

         

         นครสวรรค์​ ชัย​นาท​ สิงห์​บุรี​ อ่างทอง​ ลพบุรี​ สระบุรี​  สุพรรณบุรี​ นครปฐม​ นนทบุรี​ ปทุมธานี​ พระนครศรีอยุธยา​ รวมทั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สนทช.)ให้ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปี2561 ที่ได้เลื่อนเวลาเพาะปลูกข้าวนาปี 13 ทุ่งให้เร็วขึ้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน สำหรับสภาพการเพาะปลูกพื้นที่ 1.496 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.442 ล้านไร่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือนนี้ โดยแยกเป็น ทุ่งบางระกำ เพาะปลูก 3.82 แสนไร่ เก็บเกี่ยวแล้วทั้งหมด

 

         สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ปลูกข้าว 1.114 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.016 ล้านไร่ คงเหลือ 5.3 หมื่นไร่ เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่นาข้าวที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเป็นพื้นที่รองรับน้ำไว้ชั่วคราว จากการตัดยอดน้ำหลาก และเป็นพื้นที่ปล่อยปลาให้เกษตรกร ทำการประมงเป็นรายได้เสริมอีกทาง


         นายทองเปลว กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ พายุดีเปรสชั่น มังคุด อยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ มีความเร็วลมสูงสุด 45 กม.ต่อชม.กำลังเคลื่อนไปทางเหนือด้วยความเร็ว 30 กม.ต่อชม.คาดว่าจะอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่มณฑลยูนนาน โดยช่วงวันที่18-20 ก.ย.ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยได้รับผลกระทบมีฝนมากขึ้นรวมทั้งเพิ่มกำลังแรงให้กับบริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนหนัก

 

         โดยในปี 2516 ได้กำหนดการรับน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ ดังนี้ พื้นที่ลุ่มต่ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ทุ่งบางระกำ กำหนดรับนำ้เข้าทุ่งตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. และพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระตอนล่าง ได้แก่ ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบาล-บ้านแพน ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด กำหนดรับน้ำเข้าทุ่งตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. และทุ่งโพธิ์พระยา กำหนดรับน้ำเข้าทุ่ง ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. สำหรับโครงการฯพระยาบรรลือและ โครงการฯรังสิตใต้ จะเป็นการระบายน้ำผ่านทุ่ง ทั่งนี้กรมชประทาน จะระบายน้ำออก จากพื้นที่ลุ่มต่ำทั้ง13 ทุ่ง เพื่อให้เกษตรกรทำการเกษตร ในรอบต่อไปให้ทันตามกำหนดเวลา 


         พร้อมกับให้โครงการชลประทานจังหวัดและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ประสานขอความอนุเคาระห์จังหวัด ฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างทั่วถึง ทั้งนี้พื้นที่13 ทุ่งที่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ทันน้ำหลาก เป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วย


         สำหรับทุ่งบางระกำ 3.82 แสนไร่ สามารถหน่วงน้ำได้ 550 ล้านลบ.ม.ปัจจุบันได้ผันน้ำเข้าทุ่งบางส่วน 3-4 หมื่นไร่ ความลึกเฉลี่ย 30- 50 เซนติเมตร

         ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 12 ทุ่ง พื้นที่ 1.15 ล้านไร่ สามารถหน่วงน้ำได้ 1.5 พันล้านลบ.ม.

          เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง 20 ก.ย.ส่วนทุ่งโพธิ์พระยา เริ่มรับน้ำ 30 ก.ย.

 

         1.ทุ่งเชียงราก พื้นที่รับน้ำ 38,300 ไร่ กระจายน้ำเข้าทุ่ง80 ล้านลบ.ม.แผนการรับน้ำ วันที่ 20 ก.ย.

         2.ทุ่งท่าวุ้ง พื้นที่รับน้ำ 45,700 ไร่ รับน้ำ 84 ล้านลบ.ม. 

         3.ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก 72,680 ไร่ รับน้ำ 116 ล้านลบ.ม.

         4.ทุ่งบางกุ่ม 83,000ไร่ รับน้ำ 130 ล้านลบ.ม.

         5.ทุ่งบางกุ้ง 17,000 ไร่ รับน้ำ27 ล้านลบ.ม.

         6.ทุ่งบางบาล-บ้านแพน 33,450 ไร่ รับน้ำ107 ล้านลบ.ม.

         7.ทุ่งป่าโมก 20,854 ไร่ รับน้ำ 50 ล้านลบ.ม.

         8.ทุ่งผักไห่ 124,879 ไร่ รับน้ำ 200 ล้านลบ.ม.

         9.ทุ่งเจ้าเจ็ด 350,000 ไร่ รับน้ำ 500 ล้านลบ.ม.

         10.โครงการโพธิ์พระยา 167,351 ไร่ รับน้ำ160 ล้านลบ.ม. รับน้ำ30 ก.ย.

         11.โครงการฯพระยาบรรลือ 95,494 ไร่ รับน้ำผ่านทุ่ง 100 ลบ.ม.ต่อวินาที

         12.โครงการฯรังสิตใต้ 101,190 ไร่ รับน้ำผ่านทุ่ง 80 ลบ.ม.ต่อวินาที 

         รวม 13 ทุ่ง 1,531,898 ไร่ กระจายน้ำเข้าทั้งหมดกว่า 2 พันล้านลบ.ม.

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ