ข่าว

"ยธ."ถกกม.ล้มละลาย-"sme"ยอมรับคุ้มครองธุรกิจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยธ.เป็นเจ้าภาพระดมสมองแก้กฎหมายล้มละลาย ระบุกม.ล้มละลายไทยได้รับการยอมรับจากการดูแลธุรกิจ sme แต่ยังต้องปรับปรุงเพิ่ม


             17  กันยายน 2561 ยธ.เป็นเจ้าภาพระดมสมองแก้กฎหมายล้มละลาย ระบุกม.ล้มละลายไทยได้รับการยอมรับจากการดูแลธุรกิจ sme แต่ยังต้องปรับปรุงเพิ่ม อธ.บังคับคดีเผยไทยแก้กม.ล้มละลายต่อเนื่อง 3 ฉบับ เน้นคุ้มครองเจ้าหนี้-ติดตามทรัพย์ 


             โรงแรมอนันตรา สยาม   กระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพจัดประชุมการปฏิรูปกฎหมายล้มละลายในเอเชียครั้งที่ 11 เพื่อแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างศักยภาพของตุลาการเกี่ยวกับพัฒนาการล่าสุดของวงการกฎหมายล้มละลายของประเทศต่างๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายข้ามชาติ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนากฎหมายล้มละลายที่มีผลโดยตรงต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีตัวแทนจากสำนักงานศาลยุติธรรม กลุ่มธนาคารโลกและองค์กรระหว่างประเทศ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ จาก 21 ประเทศ เข้าร่วมประชุม

 

             นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมนักคิดและผู้ปฏิบัติงานในคดีล้มละลายจากประเทศเอเชียและทั่วโลกที่จะมาร่วมกันพัฒนาและคิดค้นกฎหมายล้มละลายให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับนานาประเทศ พร้อมทั้งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมให้มากขึ้น และจะได้ศึกษาแนวทางกฎหมายล้มละลายของประเทศอื่นๆ หรือองค์กรระหว่างประเทศว่าควรเป็นลักษณะใด

 

"ยธ."ถกกม.ล้มละลาย-"sme"ยอมรับคุ้มครองธุรกิจ

 

             สำหรับกฎหมายล้มละลายของประเทศไทยได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่ถ้าพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจะทำให้ได้รับโอกาสธุรกิจอีกหลายด้าน โดยกฎหมายล้มละลายของไทยที่ได้รับการยอมรับคือกฎหมายล้มละลายเกี่ยวกับการดูแลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ซึ่งได้มีการแก้กฎหมายฉบับนี้ไปแล้วบางส่วน แต่ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีก โดยอาจให้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อน ระหว่างนั้นจะให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้เจรจากันไปภายใต้การควบคุมดูแลของศาล ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับข้อกฎหมายล้มละลายในหลายประเทศ หากสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็จะทำให้ภาพรวมการแก้ปัญหาดีขึ้น และต่างประเทศจะเห็นว่าประเทศไทยเดินหน้าตลอดเวลา และยังทำให้ประเทศต่างๆเห็นว่าเรามีภาพรวมที่ดีแล้วการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เคยมีก็หมดสิ้นไประดับหนึ่งซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

 

             ด้านหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าในส่วนของประเทศไทยได้หยิบยกแนวคิดเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของศาสตร์พระราชาและเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานและถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหาล้มละลาย เนื่องจากเป็นแนวทางที่มุ่งดำเนินชีวิตที่สมดุลได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน    

 

"ยธ."ถกกม.ล้มละลาย-"sme"ยอมรับคุ้มครองธุรกิจ

 

             รัฐบาลไทยได้ยึดแนวทางนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและแก้ปัญหาตรงจุด เนื่องจากต้นตอของปัญหาล้มละลายเกิดจากความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยไม่รู้จักอดออมและไม่ดูแลศักยภาพของครอบครัว ดังนั้น รัฐบาลซึ่งเป็นผู้นำประเทศจะเป็นตัวอย่างที่ดีและมีการบรรจุการพัฒนาที่ยังยืนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13 ที่จะเริ่มใช้ในปี 2564 ด้วย

 

             ขณะที่น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาไทยได้แก้ไขกฎหมายล้มละลายต่อเนื่องมาแล้วจำนวน 3 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการนำหลักสากลมาใช้ในการแก้ปัญหาการล้มละลาย สำหรับกฎหมายที่แก้ไขได้เพิ่มสาระสำคัญที่เป็นข้อกำหนดเงื่อนไขในการคุ้มครองเจ้าหนี้มากขึ้น เช่น เจ้าหนี้ที่มีทรัพย์ของลูกหนี้ในความครอบครองต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ เพื่อให้การรวบรวมทรัพย์สินคืนให้เจ้าหนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการแก้กฎหมายล้มละลายครั้งนี้ยังเปิดให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยื่นฟื้นฟูกิจการได้เป็นครั้งแรกด้วย ที่สำคัญมีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ส่งเอกสารคำสั่งต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก

 

"ยธ."ถกกม.ล้มละลาย-"sme"ยอมรับคุ้มครองธุรกิจ

 

             ทั้งนี้ ล่าสุดได้มีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายที่กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการอีก 2 ฉบับ คือ กฎหมายล้มละลายข้ามชาติระหว่างประเทศที่ได้มีการเสนอไปแล้วเมื่อปี 2559 ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และกฎหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ