ข่าว

"ปศุสัตว์"ล้อมคอกอหิวาต์แอฟริกาหวั่นเข้าไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ปศุสัตว์"ล้อมคอกโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากจีน หวั่นเข้าไทย ทำลายระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดนกระบาดได้ง่ายฝักตัว 1 สัปดาห์สนามบินช่องทางเสี่ยง

 

        12 กันยายน 2561  นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เรียกประชุมทุกหน่วยงาน พร้อมด้วยตัวแทนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกร วางมาตรการป้องกันโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร  

          ไม่ให้แพร่ระบาดเข้าประเทศไทย ซึ่งขณะนี้กำลังระบาดรุนแรงในประเทศจีน มีการกระจายเชื้อไวรัส ในฟาร์มสุกร 15 จุด โดยโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน เหมือนโรคไข้หวัดนก แต่หากเกิดโรคขึ้นจะกระทบภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกัน


          นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าโรคนี้ยังไม่เคยพบในไทยแต่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเฝ้าระวัง ซึ่งกำลังระบาดรุนแรงในจีน โดยไทยมีช่องทางและพื้นที่เสี่ยงของเชื้อโรคเข้ามาได้เร็วที่สุดคือสนามบินนานาชาติทุกแห่งของประเทศ และพื้นที่ตลอดแนวชายแดน ภาคเหนือ ภาคอีสาน  ได้ออกประกาศมาตรการห้ามนำซากสัตว์ ชื้นส่วนสัตว์ ผลิตภัณท์สุกร ห้ามนำเข้าจากจีน ในเวลา 90 วัน ซึ่งคำสั่งนี้จะสิ้นสุดเดือนพ.ย. จึงจะเสนอร่างออกกฎกระทรวงให้รมว.เกษตรฯลงนาม ห้ามนำเข้าซากสัตว์สุกรและผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องทุกชนิด จากประเทศจีนเลย เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ทั้งหมด 


          นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าในวันนี้ทำหนังสือบริษัทท่าอากาศไทย การบินไทย กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะการปฎิบัติทางน้ำแม่น้ำโขง ร่วมบูรณาการป้องกันโรค ซึ่งได้ถอดบทเรียน เส้นทางโรคที่เคยเกิดโรคระบาดในจีน จะลงมาตามเส้นทาง เข้าไทยทางใดบ้าง พร้อมกับประสานกับเพื่อนบ้าน เช่นเวียดนาม เมียนมา ลาว กัมพูชา ร่วมกันทำงานเป็นบัฟเฟอร์โซน หยุดการระบาดไว้ที่จีน ไม่ให้โรคเข้ามาในอาเซียน

           จะปิดรูโหว่ทั้งหมด สิ่งสำคัญเศษอาหารจากเครื่องบินเข้าไทย ที่ต้นทางประเทศจีน ต้องหาเจ้าภาพจัดการ ไม่ให้ไปเลี้ยงสุกร  พร้อมกับประสานกระทรวงพาณิชย์ ไปตรวจสอบโกดังห้องเย็นต่าง ๆ มีผลิตภัณฑ์สุกร โรคนี้ถ้าเกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรง เชื้อไวรัสตัวนี้เกิดจากหมูป่าแอฟริกา แพร่กระจายไปได้ง่าย ๆ หลายช่องทาง และทนทานในสิ่งแวดล้อม เช่นติดไปกับสารคัดหลั่ง อาหาร เสื้อผ้า หากเข้ามาไทยเพียง1 สัปดาห์เท่านั้นเกิดระบาดได้รวดเร็ว  

 

         ดังนั้นเราควบคุมก่อน ไม่เข้าประเทศและวางมาตรการไว้ล่วงหน้าถ้าเกิดแล้วทำอย่างไร เพราะหากมีสุกรติดโรคต้องทำลายกลบฝั่งทั้งหมด เพราะระยะฝักตัวเร็วมากไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากเกิดโรคที่ใด ถ้าทั้งฝูงป่วยตาย 30% ให้สงสัยโรคนี้ไว้ก่อน โดยผู้เลี้ยงต้องเฝ้าระวังรีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ ถ้าสุกรมีอาการสงสัย ผิวหนังเป็นจ้ำแดงสีม่วง เพื่อเข้าตรวจสอบโรคได้ทันที จะใช้มาตรการเดียวกับควบคุมโรคไข้หวัดนก จีงวางมาตรการเยียวยาชดเชยเกษตรกรไว้ด้วย"อธิบดีปศุสัตว์ กล่าว

 

          นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าได้รับสนับสนุนชุดทดสอบโรคจากเอกชน นำไปให้ศูนยวิจัยพัฒนาการสัตว จ.ลำปาง จ.สุรินทร์ เมื่อสงสัยโรคนำไปตรวจก่อน ขณะนี้เริ่มทำแล้วตรวจซากสุกร มาได้ ได้ผลเป็นลบ ยังไม่เจอโรค ซึ่งการเฝ้าระวังโรค คือ รู้โรคเร็ว สงบเร็ว หาความเสี่ยง ปิดรูรั่วทั้งหมด ได้สั่งด่านปศุสัตว์ไปประจำทุกพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะสนามบิน มีสุนัขดมกลิ่น ตรวจละเอียดมากขึ้น  

 

          สำหรับกรณีวัวตาย 3-4 ตัวที่พื้นที่ภาคอีสาน ได้ส่งปศุสัตว์ตรวจแล้วรายงานเบื้องต้น พบว่าตายจากกินหญ้าที่มีสารเคมีฆ่าหญ้าตกค้าง โดยกำลังส่งไปตรวจว่าตายจากยาฆ่าหญ้าตระกูลไหน เป็นอากาโนฟอสเฟส หรืออากาโนคอนไรส์ ซี่งสารเหล่านี้จะผสมอยู่ใน พาราควอต ไกลโฟรเซต คอร์ไพริฟอส 3 สารพิษ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้นขอประชาชนห้ามนำไปชำแหละรับประทาน ให้ดูเคสวัวตายจากหมาย้ากัด จ.สุรินทร์ เจ้าของนำไปชำแหละแจกจ่ายชาวบ้าน ไปฉีดวัคซีนกว่า 300 คน 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ