ข่าว

"สทนช."รุกเดินหน้าสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สทนช."รุกเดินหน้าสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำประเทศ ตอกย้ำภารกิจภายใต้แผนยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี พร้อมจัดตั้ง"ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ"เกาะติดสถานการณ์


           7 กันยายน 2561 "สทนช.”รุกเดินหน้าสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำประเทศ ตอกย้ำภารกิจภายใต้แผนยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี พร้อมจัดตั้ง“ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ”เกาะติดสถานการณ์

 

          นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์  เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วยนายสำเริง  แสงภู่วงค์  รองเลขาธิการ และคณะผู้บริหาร ได้เดินทางพบปะสื่อมวลชน  เพื่อสร้างการรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่“สทนช.” ในการบริหารจัดการน้ำของประเทศตามยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี เพื่อให้สื่อมวลชนได้รับทราบและเป็นกลไกสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้สาธารณชนรับทราบทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์  
 

 

            นายสมเกียรติ  กล่าวว่า  รัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ เนื่องจากยังมีปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง รวมถึงคุณภาพน้ำ และที่ผ่านมาจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาน้ำกว่า 38 หน่วยงาน 7 กระทรวง  แต่ยังไม่มีเจ้าภาพหลักในการบูรณาการด้านการจัดการน้ำของประเทศให้เป็นเอกภาพจึงได้จัดตั้งหน่วยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์หลักเชื่อมโยงและบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศใหม่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ 38 หน่วยงาน ให้มีระบบและมีเอกภาพยิ่งขึ้น โดยทำหน้าที่พิจารณาแผนงาน โครงการ งบประมาณด้านน้ำเพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อน และแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความต้องการของประชาชน
 

 

            ทั้งนี้ หลังจากได้รับภารกิจสทนช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯขึ้นมา 4 คณะขึ้นมาในทันที  เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนภารกิจหลักของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่บรรลุผลและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 2) คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง วิเคราะห์โครงการ และติดตามประเมินผลการบริหารจัดการ   3) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ 4)คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ

 

"สทนช."รุกเดินหน้าสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำ

 

            โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้1) จัดทำ ขับเคลื่อน (แผนยุทธศาสตร์/ แผนแม่บท/ แผนปฏิบัติการ/ พรบ.ทรัพยากรน้ำ)2) กลั่นกรอง ติดตามประเมินผล  แผนงาน และงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับด้านน้ำ3) คาดการณ์สถานการณ์น้ำ/Single Command Center/ จัดสรรน้ำ4) ทำแผน กำกับดูแล ประสาน สั่งการ ขับเคลื่อน ติดตามประเมินผล โครงการสำคัญ และโครงการขนาดใหญ่
 
         

             ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้สอดคล้องกับแผน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ   โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายการแก้ปัญหาและการพัฒนาอย่างเป็นระบบ (Area based) จำนวน 66 พื้นที่ รวม 29.7 ล้านไร่  แบ่งเป็น พื้นที่ประสบปัญหาด้านน้ำ (53 พื้นที่ 17.2 ล้านไร่)  และ พื้นที่ที่ต้องสนับสนุนการพัฒนา 13 พื้นที่ 12.5 ล้านไร่ มีโครงการสำคัญเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว และพร้อมดำเนินงานในปี 2562 – 2565 รวม 31 โครงการ จะสามารถเพิ่มน้ำต้นทุนได้ 4,325 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 4.87 ล้านไร่

 

             ส่วนปี 2562 มีความพร้อม 12 โครงการ เพิ่มน้ำต้นทุนได้ 378 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 959,051 ไร่ ดังนี้ 1) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 โครงการ : บรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ (ระยะที่1) จ.ชัยภูมิ / อ่างเก็บน้ำลำน้ำชี    จ.ชัยภูมิ /  ประตูระบายน้ำบ้านก่อพร้อมระบบส่งน้ำ จ.สกลนคร / อ่างเก็บน้ำลำสะพุง จ.ชัยภูมิ /แผนพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย / ประตูระบายน้ำศรีสองรัก  จ.เลย / ประตูระบายน้ำ ลำน้ำพุง-น้ำก่ำพร้อมคลองผันน้ำ        จ.สกลนคร      

 
          2) ภาคกลาง 4 โครงการ : อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองแสนแสบ กทม. / อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองทวีวัฒนา กทม. /อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองเปรมประชากร กทม. /คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
3) ภาคใต้ ได้แก่โครงการบรรเทาอุทกภัยนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

 

"สทนช."รุกเดินหน้าสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำ

 

          “ สทนช.จะมุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการสำคัญโดยจะสืบสานปณิธานตามแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบรรลุผล และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน” นายสมเกียรติ  กล่าว  

 

          นายสมเกียรติ   ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในห้วงฤดูฝน ปี 2561 ด้วยว่า  คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ฉัตรชัย  สาริกัลยะ) เป็นประธาน ทำหน้าที่บริหารจัดการ อำนวยการ ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ และสั่งการเพื่อป้องกัน เตือนภัย และบรรเทาจากน้ำ และได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ เมื่อวันที่ 2 ส.ค.61

 

          โดยมีหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องจาก 9 หน่วยงาน ร่วมบูรณาการทำหน้าที่อำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตาม การวิเคราะห์แนวโน้ม การควบคุม กำกับ ดูแล และเพื่อบูรณาการจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งติดตามผลกระทบจากน้ำท่วมในฤดูฝนและพื้นที่แห้งแล้งในฤดูฝนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพฯ

 

"สทนช."รุกเดินหน้าสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำ

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ