ข่าว

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรมชลฯ"เดินหน้าเต็มสูบเร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ-ประตูระบายน้ำตะวันออก เพิ่มน้ำต้นทุน บรรเทาอุทกภัย ภัยแล้งคลองท่าลาด-คลองหลวง กว่า 10,000 ไร่  รองรับ  "EEC"

 

31 สิงหาคม 2561 "กรมชลประทาน"เดินหน้าเต็มสูบเร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ-ประตูระบายน้ำพื้นที่ภาคตะวันออก เพิ่มน้ำต้นทุน บรรเทาอุทกภัย ภัยแล้งคลองท่าลาด-คลองหลวง กว่า 10,000 ไร่  รองรับ  “EEC”
 
 

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า “โครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งคลองท่าลาด-คลองหลวง” ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองสียัด  ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 
   

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"


นายเฉลิมเกียรติ  กล่าวว่า การจัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อเร่งหาแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำท่าลาดและลุ่มน้ำคลองหลวงที่ราบฝั่งซ้ายแม่น้ำบางปะกง ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบลุ่มน้ำข้างเคียงและลุ่มน้ำหลักให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความสมดุลระหว่างการใช้น้ำและการป้องกันอุทกภัย  ตลอดจนหาแนวทางและนำไปสู่การพัฒนาและการปรับปรุงระบบชลประทานรวมถึงระบบลำน้ำที่มีอยู่เดิมเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าลาดและลุ่มน้ำคลองหลวงรวมถึงพื้นที่ข้างเคียงที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและที่สำคัญคือ เตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับการเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(Eastern Economics Corridor : EEC) ในอนาคต 


               เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"   


รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โดยพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย  ลุ่มน้ำคลองท่าลาด มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 2,855 ตร.กม. มีต้นกำเนิดจากการรวมตัวกันของคลองระบมและคลองสียัด และไหลออกสู่แม่น้ำบางปะกงที่บริเวณตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 5 อำเภอ คือ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอราชสาส์น อำเภอแปลงยาว และอำเภอท่าตะเกียบ และลุ่มน้ำคลองหลวง มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 830 ตร.กม. ประกอบด้วย พื้นที่ 6 อำเภอ ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง และอำเภอเกาะจันทร์ 

 

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"


“ขณะนี้กรมชลประทานกำลังเร่งรัดโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งคลองท่าลาด-คลองหลวงให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยวันที่ 3 สค.61 จะจัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมของโครงการร่วมกับผู้แทนภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจะมีการสรุปการศึกษาของโครงการที่ผ่านมาและเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย  โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการสำคัญที่รองรับการขยายตัวของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC)ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น หากไม่เร่งดำเนินการจะจะทำให้พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคตได้” นายเฉลิมเกียรติ  กล่าว 

 

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"

 

นายเฉลิมเกียรติ ยังกล่าวถึงแผนดำเนินการภายใต้โครงการดังกกล่าวว่า กรมชลประทาน จำเป็นต้องหาน้ำในลุ่มน้ำ และลุ่มน้ำข้างเคียงมาเพิ่มเพื่อรองรับ ประกอบด้วย 3 โครงการสำคัญ คือ 1.โครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึงมายังอ่างเก็บน้ำคลองสียัด เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำคลองสียัด 2.โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองระบม โดยการก่อสร้างฝายชนิดพับได้บริเวณอาคารระบายน้ำล้น มีความสูง 1.50 เมตรและโครงการสูบน้ำจากท้ายน้ำเขื่อนคลองสียัดบริเวณหน้าฝายบ้านวังวุ้งกลับไปยังอ่างเก็บน้ำคลองสียัด เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน

 

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"

 

นอกจากนี้ สำนักชลประทานที่ 9 ยังมีแผนงานพัฒนาโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ อีกจำนวน 12 โครงการ ทั้งนี้ จากการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของโครงการพบว่า โครงการที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนามีรวม 2 โครงการ คือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยปอ ตั้งอยู่ที่บ้านเนินทุ่ง ต.เกาะจันทร์ อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี

 

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"

 

โดยมีปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่างฯ 13.0 ล้าน ลบ.ม./ปี เก็บกับน้ำได้ 3.35 ล้าน ลบ.ม. สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่รับประโยชน์ท้ายอ่างฯ ได้ประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีพื้นที่น้ำท่วมจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 1,870 ไร่และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองปืนแตกตั้งอยู่ที่บ้านเขามะกรูด ต.เกษตรสุวรรณ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี  โดยมีปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่างฯ 6.37 ล้าน ลบ.ม./ปี เก็บกักน้ำได้ 4.60 ล้านลบ.ม. สามารถส่งน้ำให้พื้นที่รับประโยชน์ท้ายอ่างฯ ได้ประมาณ 4,000 ไร่ โดยมีพื้นที่น้ำท่วมจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 1,990 ไร่  
  

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"

 

ทั้งนี้ กรมชลประทานยังมีเป้าหมายในการศึกษาแผนการบริหารจัดการน้ำในอนาคตเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยอีกด้วย อาทิ การติดตั้งระบบโทรมาตร การเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำคลองระบม และอ่างเก็บน้ำคลองหลวง การขุดลอกลำน้ำสายสำคัญ ปรับปรุงลำน้ำสายหลัก และปรับปรุงคลองชลประทานท่าลาด เป็นต้น   

  

เร่งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำรองรับ"EEC"

 

“ผลประโยชน์โครงการ ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ๆ คือ ด้านการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ ด้านการชลประทานประมาณ 10,000 ไร่ในฤดูฝนและด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การประปา อ่างเก็บน้ำคลองระบมปีละ 5 ล้าน ลบ.ม.และอ่างเก็บน้ำคลองหลวงปีละ 40 ล้าน ลบ.ม.  ด้านการบรรเทาอุทกภัย ลดความเสียหายจากอุทกภัยเฉลี่ยปีละ 692.44 ล้านบาทและมูลค่าการสูญเสียโอกาสเนื่องจาการสูญเสียพื้นที่การเกษตร พื้นที่อุทกภัยมีการสูญเสียโอกาสในการทำการเกษตร ซึ่งสามารถประเมินมูลค่าการสูญเสียโอกาสของพื้นที่ได้ 381.37 ล้านบาท”นายเฉลิมเกียรติ  กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ