ข่าว

 โรงเรียนอาชีวศึกษาประชารัฐ   โอกาสการศึกษาจว.ชายแดนใต้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากนโยบายของรัฐบาลโครงการ "อาชีวศึกษาประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้" เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองที่มีฐานะยากจน

                 
          โดยคุณสมบัติผู้สมัครจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และ4 อำเภอของจังหวัดสงขลา

          ครอบครัวผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี, ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้, เป็นนักเรียน นักศึกษาที่ไม่มีผู้อุปการะ เข้ารับการศึกษาต่อในระดับ ปวช.และปวส.
 

          ปีการศึกษา 2561 เป็นปีแรกของโครงการมีโรงเรียนอาชีวที่เข้าร่วมคือ  วิทยาลัยเทคนิคจะนะ จ.สงขลา , วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี จ.ปัตตานี , วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา จ.ยะลาและวิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
                  
          พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล  กล่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำโครงการที่มีลักษณะโรงเรียนประจำพักนอนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
                  
          ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ดำเนินการจัดทำโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการอาชีวศึกษาประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนทุกระดับให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
                  
          นายมหิศร ปัตนราษฎร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก กล่าวว่า มีเด็กนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 78 คน   ซึ่งโครงการ “อาชีวศึกษาประชารัฐจัดหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นโครงการที่ดีเพื่อแก้ปัญหาเด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน

 

 โรงเรียนอาชีวศึกษาประชารัฐ   โอกาสการศึกษาจว.ชายแดนใต้

 

          จากการที่ได้ลงไปเยี่ยมบ้านหลังจากรับสมัครเสร็จด้วยวิธีการสุ่มประมาณ 20 ครอบครัว ก็พบว่าเด็กเล่านี้ลำบากจริงๆ บางบ้านก็ยังสร้างไม่เสร็จ มีลูกหลายคน
 

          ผู้ปกครองบางคนมีลูก 7-8 คน ก็ไม่มีเงินที่ส่งลูกเรียนหนัง   ซึ่งเด็กกลุ่มนี้หากไม่ได้เข้าร่วมโครงกานี้รก็จะต้องอยู่บ้านช่วยพ่อแม่ทำงานหาเงิน แล้วก็ไม่มีอนาคต                  
          “แต่เมื่อมีโครงการนี้เข้ามาก็ม่าเป็นกับภาระของปกครอง เนื่องจากโครงการรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่อาหารการกิน อุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนทั้งหมด”
                   
          นายมหิศร  กล่าวและว่า ในช่วงแรกของการเข้ามาเรียนของนักเรียนทางโรงเรียนเฝ้าดูพฤติกรรมว่าเด็กจะสามารถปรับตัวกับการเรียนอาชีวะได้หรือ   ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกเด็กมีอาการอยากกลับบ้าน
                   
          จึงจัดครูพี่เลี้ยงเข้าไปดูแล พูดคุย สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นอยู่ และการเรียนอาชีวะ จนเด็กเข้าใจทิศทางของตัวเอง หลังจากนั้นสามารถปรับตัวได้ ตอนนี้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 แล้ว ทุกอย่างนิ่ง
                  
          “โครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ดีสำหรับทางวิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก เนื่องจากมีจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้น เด็กทุกคนก็เรียบร้อย ตั้งใจเรียน กระตือรือร้น”
                    
          นอกเหนือจากการเรียนแล้ว ทางโรงเรียนได้สอดแทรกกิจกรรมหลังเลิกเรียนเช่น กิจกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธ กิจกรรมโครงการหารายได้ระหว่างเรียน  ในเรื่องของกีฬาและภาษาหลักเศรษฐกิจพอเพียง
                    
          นายทิว กาสิวุฒิ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี กล่าวว่า  โรงเรียนมีเด็กนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 136 คน ทั้งปวช.และปวส.
                    
          โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบเป็นสวัสดิการให้กับเด็กจังหวัดชายแดนภาคใต้ทางด้านการศึกษา

 

 โรงเรียนอาชีวศึกษาประชารัฐ   โอกาสการศึกษาจว.ชายแดนใต้


                     
          โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน เพราะเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทางรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตั้งแต่อาหารการกิน 3 มื้อ ค่าเล่าเรียน ชุดนักเรียน  ประกันอุบัติเหตุ  ฟรีหมด  มีที่พัก
                   
          “เด็กๆกลุ่มนี้มีโอกาสสูงที่จะไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือต่อ หากไม่มีโครงการนี้เกิดขึ้น  เพราะคุณสมบัติของเด็กเหล่านี้ค่อนข้างจะลำบาก”
                    
          นายทิว กล่าวและว่า จากการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่รู้สึกยินดีที่ส่งลูกเข้าเรียน เพราะเป็นโอกาสเดียวที่ลูกจะได้เรียนวิชาชีพ โดยเฉพาะที่วิทยาลัยเทคกาญจนาภิเษกปัตตานี
                  
          เพราะเป็นการเรียนวิชาชีพที่ควบคู่กับการปฏิบัติศาสนกิจ ซึ่งประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เขาติดอยู่กับข้อนี้ที่ไม่ให้ลูกไปเรียนสายอาชีพ เพราะกลัวลูกจะห่างไกลศาสนา
                  
          แต่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกของเราได้มีจัดบุคลากรทางด้านศาสนาเข้ามาดูแลมีการปฎิบัติศาสนากิจครบเหมือนกับอยู่กับผู้ปกครอง  ทำให้ผู้ปกครองมาเห็นสภาพความเป็นอยู่แล้วสบายใจ
                
          “แม้จะเรียนสายอาชีพ แต่ลูกก็ยังไม่ทิ้งศาสนา ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ปกครองส่วนใหญ่ ซึ่งเด็กมีความตั้งใจและคาดหวังอนาคตที่ดีกว่ามากขึ้น”
                 
          นายอิสมัน  อิสสะมะแอ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา กล่าวว่า นักเรียนในโครงการมีทั้งสิ้น 138 คน   ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีที่ช่วยสามารถเหลือประชาชนและนักเรียนนักศึกษาที่มีฐานะยากจน
                
          “ที่สำคัญเด็กเหล่านี้เป็นเด็กที่ด้อยโอกาส ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ   ถ้ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้มีโครงการนี้เกิดขึ้น เด็กเหล่านี้ก็มีโอกาสเรียนแค่ในหมู่บ้านเท่านั้น ไม่มีโอกาสเข้ามหาลัย”
                 
          เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน แต่โครงการนี้ทางรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ผู้ปกครองไม่จ่ายอะไรเลย ซึ่งถือเป็นความโชคดีของเด็กเหล่านี้ที่รัฐบาลให้โอกาสได้ศึกษาเทียบเท่ากับเด็กคนอื่นๆ
                 

 

 โรงเรียนอาชีวศึกษาประชารัฐ   โอกาสการศึกษาจว.ชายแดนใต้

 
          และนี่คือเสียงสะท้อนจากผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ  ที่แสดงถึงความสำเร็จของโครงการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ